สาวเล่า ปวดฟันคุด ซื้อยาไอบูโพรเฟนกินเอง สุดท้ายเข้า ICU 7 คืน
สาวเล่าอุธาหรณ์ ปวดฟันคุด ซื้อยาไอบูโพรเฟนกินเอง สุดท้ายเข้า ICU 7 คืน
ยาไอบูโพรเฟน – ยามีสรรพคุณช่วยรักษาอาการเจ็บปวดของร่างกาย ยาแต่ละตัวออกฤทธิ์ต่างกัน หากใช้ไม่ถูกบริบทของโรคหรือทานโดยไม่ทราบว่าแพ้ยาตัวนี้ อาจเกิดผลเสียมากกว่าผลดีได้ ดังเหตุการณ์ที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง Aum Aim นามว่า เล่าประสบการณ์ให้เพื่อนในเฟซบุ๊กฟังว่า
“ประสบการณ์ครั้งใหญ่ที่ทำให้ฉันได้จดจำ 19/05/2020 มีอาการปวดฟันคุดมากเลยไปซื้อยาไอบูโพรเฟนมากินเองไม่ได้ปรึกษาหมอ วันแรกซื้อมากินไป 2 เม็ด พอเช้ากินอีก 1 เม็ด เที่ยง 1 เม็ด
หลังจากนั้นก็มีอาการปวดตา เจ็บปาก แสบคอ กินอะไรลงไปก็ไม่ได้แสบร้อนไปหมด
เวลาประมาน 10 โมงเช้าของวันที่ 19/05/2020 เริ่มไม่ไหวแล้ว ให้แฟนพามาหาหมอ ผื่นขึ้นเต็มคอ มาหาหมอโรงพยาบาลมาบตาพุด หมอก็ส่งตัวมารักษาตามสิทธิ์ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เข้าห้องฉุกเฉินเดินเรื่องนอนไอซียู 7 คืน รวมแล้วรักษาตัว 14 วัน สรุปแล้วแพ้ยาตัวนี้
วันนี้ 01/06/2020 วันดีได้ออกโรงพยาบาลแล้วจ้า?
#ผิวหนังที่ไหม้ลอกหมดแล้วค่ะรอแค่ฟื้นฟูร่างกายตัวเอง”
ทั้งนี้ ยาไอบูโพรเฟน เป็นยาในกลุ่มต้านอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Nonsteroidal Anti-Inflammatory Drugs: NSAIDs) นิยมใช้เพื่อรักษาอาการปวด ลดไข้ และแก้อักเสบจากสาเหตุต่าง ๆ
สรรพคุณของยาไอบูโพรเฟน
- ใช้เป็นยาแก้อาการข้ออักเสบ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis), โรคข้อเสื่อมชนิดรุนแรง (Osteoarthritis), โรคข้อสันหลังอักเสบเรื้อรัง (Ankylosing spondylitis), การอักเสบของถุงเล็ก ๆ ที่บรรจุน้ำไขข้อ (Bursitis), โรคเกาต์ระยะเฉียบพลัน (Gout)
- ใช้เป็นยาลดการอักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น เช่น เส้นเอ็นอักเสบ (Tendinitis), ข้อเคล็ดข้อแพลง (Sprain) เป็นต้น
- ใช้บรรเทาอาการปวดประจำเดือน (Dysmenorrhea) ปวดศีรษะไมเกรน (Migraine)
- ใช้เป็นยาแก้ปวดที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง (Pain) เช่น ปวดศีรษะ ปวดฟัน ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ปวดข้อ เป็นต้น
- ใช้เป็นยาลดไข้ (Fever)
- อาจใช้เป็นยาระงับอาการ “ดักตัสอาร์เทอริโอซัส ยังคงอยู่” (Patent ductus arteriosus – PDA) ในทารกคลอดก่อนกำหนด (32 สัปดาห์ หรือน้อยกว่า) หรือทารกที่มีน้ำหนักตัวระหว่าง 500-1,500 กรัม
ยาไอบูโพรเฟนจัดเป็นยาอันตรายที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์ หรือเภสัชกรเท่านั้น
ยาไอบูโพรเฟนเป็นยาที่มีผลข้างเคียงค่อนข้างมาก จึงควรหยุดใช้และปรึกษาแพทย์หากพบอาการผิดปกติ โดยอาการข้างเคียงที่มักพบจากการใช้ยาดังกล่าวได้แก่
อาการปวดท้อง แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย มีกรดในกระเพาะอาหาร เรอ มีลมภายในท้องหรือลำไส้ ผายลมบ่อย
ท้องอืด ท้องเสีย ท้องผูก
มีปัญหาเรื่องปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะน้อยลง แสบร้อนกลางอก คันตามผิวหนัง ปวดหรือรู้สึกไม่สบายบริเวณหน้าอก ท้องส่วนบน หรือลำคอ ผิวซีดลง
คลื่นไส้ หายใจเร็ว หายใจเสียงดัง หายใจถี่ หายใจลำบาก
มีผื่นเป็นปื้น ๆ บริเวณผิวหนัง
มีอาการบวมบริเวณใบหน้า นิ้วมือ มือ เท้า เข่า และขาส่วนล่าง
เลือดออกผิดปกติ เหนื่อยง่าย อาเจียน น้ำหนักขึ้นผิดปกติ
อ้างอิงจาก