สุขภาพและการแพทย์

‘บทสวดรัตนสูตร’ เซฟเลย สวดพร้อมกัน 25 มี.ค. ต้านโควิด-19

‘บทสวดรัตนสูตร’ เซฟเลย สวดพร้อมกัน 25 มี.ค. ต้านโควิด-19

บทสวดรัตนสูตร – จากกรณีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยซึ่งยอดถึงวันที่ 18 มีนาคม 2563 อยู่ที่ 212 ราย รัฐบาลได้ออกมาตรการออกมาหลายด้านเพื่อควบคุมจำกัดการแพร่ระบาดของเชื้โควิด-19 เช่น ปิดสถานศึกษา ปิดสถานบันเทิง งดกิจกรรมที่มีการรวมตัว 15 คนขึ้นไป และอีกหนึ่งไอเดียจากนาย เทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เตรียมนิมนต์พระสงฆ์เพื่อสวดบทสวดรัตนสูตร ปัดเป่าโควิด-19

โดยการสวดบทรัตนสูตรนี้ นายเทวัญ กล่าวว่า ขอให้ประชาชนร่วมสวดมนต์ หรือชมการถ่ายทอดสดอยู่ที่บ้าน จะเริ่มถ่ายทอดสดวันที่ 25 มีนาคม

Advertisements

ทั้งนี้บทสวดรัตนสูตรมีความเชื่อว่า เพื่อขจัดปัดเป่าภัยความอดอยาก ภัยจากโรคระบาด และภัยจากอมนุษย์เบียดเบียน ชาวพุทธจึงถือเป็นธรรมเนียมสวดพระสูตรนี้เพื่อขจัดโรคภัย เช่น โรคห่า นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อว่า การสาธยายรัตนสูตร หรือรัตนปริตรจะทำให้ได้รับความสวัสดี และพ้นจากอุปสรรคอันตรายทั้งหลาย

บทสวดรัตนสูตร

ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
สัพเพ วะ ภูตา สุมะนา ภะวันตุ
อะโถปิ สักกัจจะ สุณันตุ ภาสิตัง
ตัสมา หิ ภูตา นิสาเมถะ สัพเพ
เมตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ
ทิวา จะ รัตโต จะ หะรันติ เย พะลิง
ตัสมา หิ เน รักขะถะ อัปปะมัตตา ฯ
ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา
สัคเคสุ วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง
นะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะ
อิทัมปิ พุเธ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง
ยะทัชฌะคา สักยะมุนี สะมาหิโต
นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ
อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ยัมพุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยี สุจิง
สะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ
สะมาธินา เตนะ สะโม นะ วิชชะติ
อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
เย ปุคคะลา อัฏฐะ สะตัง ปะสัฏฐา
จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ
เต ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา
เอเตสุ ทินนานิ มะหัปผะลานิ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ ฯ
เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ
นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ
เต ปัตติปัตตา อะมะตัง วิคัยหะ
ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ยะถินทะขีโล ปะฐะวิง สิโต สิยา
จะตุพภิ วาเตภิ อะสัมปะกัมปิโย
ตะถูปะมัง สัปปุริสัง วะทามิ
โย อะริยะสัจจานิ อะเวจจะ ปัสสะติ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
เย อะริยะสัจจานิ วิภาวะยันติ
คัมภีระปัญเญนะ สุเทสิตานิ
กิญจาปิ เต โหนติ ภุสัปปะมัตตา
นะ เต ภะวัง อัฏฐะมะมาทิยันติ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
สะหาวัสสะ ทัสสะนะสัมปะทายะ
ตยัสสุ ธัมมา ชะหิตา ภะวันติ
สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉิตัญจะ
สีลัพพะตัง วาปิ ยะทัตถิ กิญจิ
จะตูหะปาเยหิ จะ วิปปะมุตโต
ฉะ จาภิฐานานิ อะภัพโพ กาตุง
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
กิญจาปิ โส กัมมัง กะโรติ ปาปะกัง
กาเยนะ วาจายุทะ เจตะสา วา
อะภัพโพ โส ตัสสะ ปะฏิจฉะทายะ
อะภัพพะตา ทิฏฐะปะทัสสะ วุตตา
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
วะนัปปะคุมเพ ยะถา ผุสสิตัคเค
คิมหานะมาเส ปะฐะมัสมิง คิมเห
ตะถูปะมัง ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ
นิพพานะคามิง ปะระมัง หิตายะ
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
วะโร วะรัญญู วะระโท วะราหะโร
อะนุตตะโร ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ขีณัง ปุราณัง นะวัง นัตถิ สัมภะวัง
วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัสมิง
เต ขีณะพีชา อะวิรุฬหิฉันทา
นิพพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโป
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
พุทธัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
ธัมมัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
สังฆัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

อ่านคำแปลรัตนสูตรภาษาไทยคลิก

เนื้อหาของบทสวดรัตนสูตร

เนื้อหาของรัตนสูตรโดยหลัก เป็นการกล่าวถึง คุณแห่งพระรัตนตรัยคือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ โดยเฉพาะในส่วนของการประกาศคุณของพระสงฆ์นั้นมีจำนวนคาถามากกว่าเนื้อหาเรื่องอื่นๆ โดยคร่าวๆ แล้ว สามารถแบ่งเนื้อหาของรัตนสูตรออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรก เป็นการประกาศให้ เหล่าภูตคุ้มครองรักษาพวกมนุษย์ ที่นำเครื่องพลีกรรมมาบวงสรวงทั้งในเวลากลางวัน และกลางคืน ซึ่งพลีกรรมนี้หมายถึงการทำบุญตามหลักพุทธศาสนานั่นเอง

Advertisements

ส่วนที่ 2 เป็นการบรรยายคุณพระรัตนตรัย ว่าเป็นรัตนะอันประเสริฐสุด โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องการคุณของพระสงฆ์ หรือพระอริยะเจ้านั้น มีการบรรยายคุณของท่านอย่างละเอียดว่า เป็นผู้ประกอบด้วยศีลเป็นอันดี มีใจมั่นคง ไม่มีกามกิเลส เป็นผู้ไม่มีความห่วงใย ไม่มีความหวั่นไหวด้วยโลกธรรม และมีพระนิพพานอันเป็นอมตะเป็นที่สุด ด้วยคุณของพระสงฆ์ดังที่พระคาถาพรรณนามานี้ ถือเป็นสัจจะอันยิ่งใหญ่ ยังซึ่งความสวัสดีมีชัยแก่ผู้ประกาศ หรือสาธยายคุณของท่าน

ทั้งนี้ รัตนสูตรยังให้น้ำหนักกับการพรรณนาคุณลักษณะของพระโสดาบันเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นการระบุว่า พระโสดาบันจะไม่ถือเอาภพที่แปด คือ เกิดอย่างมากอีกเพียงเจ็ดครั้ง และยังสามารถละสังโยชน์ 3 ประการคือ สักกายทิฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส ทำให้พระอริยะเจ้าชั้นนี้ คือพระโสดาบัน พ้นแล้วจากการตกลงสู่อบายภูมิ และจะไม่อาจทำอภิฐาน 6 คือ อนันตริยกรรม 5 ประการ รวมถึงการเปลี่ยนใจไปนับถือศาสนาอื่น อันมิใช่สัมมาทิษฐิอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม พระโสดาบันยังอาจทำกรรมชั่วด้วยกาย วาจา หรือใจ อยู่บ้าง แต่ก็ไม่อาจปิดบังกรรมชั่วที่กระทำไว้นั้น เพราะการที่บุคคลผู้เห็นทางพระนิพพานแล้ว จะปิดบังกรรมชั่วของตนไว้นั้นพระตถาคต กล่าวว่า ไม่อาจปิดบังได้

ส่วนที่ 3 เป็นการประกาศให้ภูตทั้งหลายจงนมัสการพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ และอำนวยพรให้สรรพสัตว์เหล่านี้มีความสวัสดี

 

Aindravudh

นักเล่าเรื่อง จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ ผู้สนใจประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง ผนวกกับการเริ่มต้นเส้นทางด้วยการเขียนงานวรรณกรรม ก่อนผันตัวมาเจาะประเด็นข่าวทางสังคม ออนไลน์ ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button