ข่าวการเมือง

ห้ามวิจารณ์ศาลรัฐธรรมนูญ ประกาศราชกิจจานุเบกษา

ประกาศราชกิจจานุเบกษา ข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2562 ข้อ 10 “ห้ามวิจารณ์ศาลโดยไม่สุจริต”

ห้ามวิจารณ์ศาลรัฐธรรมนูญ – เมื่อวันที่ 18 กันยายน เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2562 โดยเว็บไซต์ให้ความรู้ทางกฎหมาย iLaw ตั้งข้อสังเกตถึง ข้อที่ 10 ที่นำบัญญัติเรื่องการ “ห้ามวิจารณ์ศาลโดยไม่สุจริต” มาบรรจุไว้ มีความว่า

“ห้ามมิให้ผู้ใดบิดเบือนข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายตามคำสั่งหรือคำวินิจฉัยของศาลหรือวิจารณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของศาลโดยไม่สุจริตหรือใช้ถ้อยคำหรือมีความหมายหยาบคาย เสียดสี ปลุกปั่น ยุยง หรืออาฆาตมาดร้าย”

Advertisements

ข้อกำหนดฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ 17 ตุลาคม 2562 หรือ 30 วัน หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา

อย่างไรก็ดี ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ ระบุว่า การวิจารณ์คําสั่งหรือคําวินิจฉัยคดีที่กระทําโดยสุจริตและมิได้ใช้ถ้อยคําหรือมีความหมายหยาบคายเสียดสี หรืออาฆาตมาดร้าย ไม่มีความผิดฐานละเมิดอํานาจศาล

นอกจากนี้ความน่าสนใจเพิ่มเติมคือการกำหนดระเบียบบุคคลที่จะเข้าฟังการไต่สวนของศาลด้วย เช่นในข้อ 8

(1) ต้องแต่งกายให้สุภาพและปฏิบัติตนอย่างสุภาพชน

(2) ห้ามใช้เครื่องขยายเสียงหรือส่งเสียงรบกวนหรือกระทำการอื่นใดที่เป็นการรบกวนการพิจารณาคดีของศาลหรือการทำงานของเจ้าหน้าที่ศาล และห้ามกีดขวางทางเข้าออกศาล

Advertisements

(3) ห้ามประพฤติตนในทางก่อให้เกิดความไม่เรียบร้อย หรือก่อความรำคาญ หรือกระทำการในลักษณะยุยงส่งเสริมการกระทำข้างต้น ในการพิจารณาคดีหรือการทำงานของเจ้าหน้าที่ศาล

(5) ห้ามถ่ายภาพ ภาพยนตร์ บันทึกภาพหรือเสียง หรือกระท าการอย่างอื่นในทำนองเดียวกัน ในบริเวณที่ทำการศาล โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล

(7) ห้ามแถลง ชี้แจง แจกจ่ายเผยแพร่ ให้สัมภาษณ์หรือพูดออกอากาศในบริเวณศาล ที่อาจมีผลกระทบกระเทือนต่อการพิจารณาคดี โดยไม่ได้รับอนุญาต

อ่าน: ข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2562 ฉบับเต็ม

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Aindravudh

นักเล่าเรื่อง จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ ผู้สนใจประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง ผนวกกับการเริ่มต้นเส้นทางด้วยการเขียนงานวรรณกรรม ก่อนผันตัวมาเจาะประเด็นข่าวทางสังคม ออนไลน์ ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button