ข่าวการเมือง

ประชุมสภา: ปิยบุตร สังเกต ประยุทธ์ ถวายสัตย์ 5 ครั้งไม่เคยผิด ครั้งที่ 6 กล่าวไม่ครบ

ปิยบุตร จี้ ประยุทธ์ผ่านการถวายสัตย์ 5 ครั้งไม่เคยผิด ครั้งที่ 6 กล่าวไม่ครบ ร้องลาออกเพื่อธำรงประชาธิปไตย

ประชุมสภา – วันที่ 18 กันยายน การประชุมสภาผู้แทนราษฎร์ เพื่อเปิดญัตติตามมาตรา 152 “ขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริงและเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี” โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เดินทางมาสภาเพื่อชี้แจงกรณีข้อซักถามถวายสัตย์ปฎิญาณไม่ครบและไม่อธิบายถึงแหล่งที่มาของเงินในการดำเนินนโยบาย

นายปิยบุตร แสงกนกกุล ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ในฐานะฝ่ายค้าน อภิปรายเป็นคนที่ 3 กล่าวว่าตนรู้เรื่องที่พลเอกประยุทธ์ ถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบเพราะตนติดตามข่าวในพระราชสำนักเสมอ ไม่ได้มีเจตนาล้มรัฐบาล ในการประชุมรัฐสภาก่อน ๆ หน้า พยายามตั้งกระทู้ถามสด ยืนยันว่าฝ่ายค้านทำเพื่อประโยชน์ของประเทศ

Advertisements

ในการอภิปรายครั้งนี้ นายปิยุบตรได้ขออภิปราย 4 ประเด็น ชี้ให้เห็นว่าการถวายสัตย์ปฏิญาณมีความสำคัญ 3 ประการ คือ

1.เป็นเงื่อนไขบังคับก่อนการเข้ารับหน้าที่ ครม.จะรับหน้าที่ได้ก็ต่อเมื่อถวายสัตย์ปฏิญาณเสียก่อน เมื่อไม่ได้ปฏิญาณ เท่ากับว่าไม่สามารถเข้ารับหน้าที่ ซึ่งการกล่าวถวายสัตย์ปฏิญาณจะช่วยแบ่งชัดว่ารัฐบาลชุดเก่าสิ้นสุดเมื่อไหร่ และชุดใหม่เริ่มเมื่อไหร่

2.การถวายสัตย์ปฏิญาณ ยืนยันความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ ถ้อยคำที่หายไปเป็นหัวใจของคำปฏิญาณ

3. การถวายสัตย์ปฏิญาณ คือการให้คำสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์และต่อประชาชน ซึ่งมาตรา 3 แห่งรัฐธรรมนูญระบุว่า

อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ

Advertisements

รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรม เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม

นอกจากนี้ ปิยบุตร ได้กล่าวถึงที่มาที่ไปของการถวายสัตย์ปฏิญาณ สามารถย้อนไปถึงปี พ.ศ. 2492 หลวงประกอบนิติศาสตร์ได้ให้ความเห็นถึงความสำคัญไว้ว่า

1.หากไม่ระบุถ้อยความปฏิญาณให้ชัด ถ้อยคำก็จะผิดเพี้ยนไปตามอารมณ์และของคณะรัฐมนตรี

2.หลายประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ก็มีการถวายสัตย์ปฏิญาณ

3.เพื่อให้คนพูดรู้ตัวล่วงหน้าและสามารถพิจารณาว่าตนสามารถทำตามคำสัญญาได้ไหม

ความสำคัญของการกล่าวถ้อยคำปฏิยษรให้ครบถ้วนนั้น ปิยบุตรได้อ้างอิงถึงข้อเขียนของนายวิษณุ เครืองามในหนังสือหลังม่านการเมือง หน้าที่ 28 ที่ตอนหนึ่งระบุว่า แม้แต่ คำว่า และ หรือ ก็ไม่ให้ผิด

ปิยบุตรยังชี้ให้เห็นว่า ที่ผ่านมานับตั้งแต่การมีคณะรัฐประหาร 2557 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เคยกล่าวนำพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณมีแล้ว 5 ครั้ง (4 ก.ย. 2557 23 พ.ย. 2557 23 ส.ค. 2558 19 ธ.ค. 2559 30 พ.ย. 2560)

โดยระเบียบพิธีของการถวายสัตย์นั้นจะต้องอ่านข้อความตามในบัตรแข็งที่สำนักงานเลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรีพิมพ์ไว้ให้

ทว่าครั้งล่าสุด ที่นายกนำคณะรัฐมนตรีถวายสัตย์เข้ารับตำแหน่ง กลับหยิบกระดาษแข็งออกจากกระเป๋าตนเอง และถวายสัตย์ไม่ครบ นายปิยบุตรอภิปรายว่า การกล่าวคำถวายสัตย์ไม่ครบ ถือเสมือนว่าไม่มีการถวายสัตย์ การกระทำของคณะรัฐมนตรีที่ผ่านมาจึงไม่มีผลทางกฎหมาย พร้อมทั้งบอกว่า การถวายสัตย์ไม่ครบของพลเอกประยุทธ์ เป็นโรคไม่แยแส ไม่ให้ความสำคัญของรัฐธรรมนูญ และเป็นโรคไม่รับผิดชอบ ขาดความเป็นผู้นำ

นายปิยบุตรได้สอบถามข้อเท็จจริงถึงพลเอกประยุทธ์ 4 ข้อคือ

1. กระดาษแข็งในกระเป๋า นายกเตรียมมาเองใช่หรือไม่ ทำไมไม่อ่านจากกระดาษแข็งที่เลขาธิการคณะรัฐมนตรีเตรียมไว้ให้

2.เกิดมีรัฐมนตรีลาออก แล้วท่านนำรัฐมนตรีคนใหม่ถวายสัตย์ นายกจะกล่าวถวายสัตย์อย่างไร

3. ถามความเห็น นายกรัฐมนตรี และนายวิษณุ หากนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีกล่าวถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบถ้วน มีความเห็นอย่างไร ทำได้หรือไม่

4. ถามนายวิษณุ ในฐานะที่ทำงานในทำเนียบรัฐบาลมาเกือบ 20 ปี ผ่านการทำงานกับรัฐบาลมาถึง 11 ชุด มีโอกาสเข้าร่วมการถวายสัตย์ในฐานะต่าง ๆ หลายหน ท่านเคยเห็น คณะรัฐมนตรีก่อนหน้าทำแบบนี้หรือไม่

นายปิยบุตรได้กล่าวทิ้งท้ายว่า ไม่อยากให้พลเอกประยุทธเป็นนายกอีกต่อไป เพื่อธำรงรักษาระบอบประชาธิปไตย เรียกร้องให้พลเอกประยุทธ์ลาออกจากนายก

Aindravudh

นักเล่าเรื่อง จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ ผู้สนใจประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง ผนวกกับการเริ่มต้นเส้นทางด้วยการเขียนงานวรรณกรรม ก่อนผันตัวมาเจาะประเด็นข่าวทางสังคม ออนไลน์ ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button