งานวิจัยเผย “ทองคำ-โลหะหายาก” จากแก่นโลกบางส่วน กำลังรั่วไหลขึ้นสู่ผิวโลก

งานวิจัยใหม่เผยให้เห็นว่า ทองคำ และ โลหะหายาก ปริมาณมหาศาลจากชั้นแก่นโลก มีบางส่วนกำลังรั่วไหลขึ้นสู่พื้นผิวโลก
แน่นอนว่าหนึ่งในโลหะที่มีค่ามากที่สุดในโลกก็คือ “ทองคำ” และเชื่อว่าหลายๆคน อยากได้สิ่งนี้มาไว้ในครอบครอง และเมื่อมีการขุดพบทองไม่ว่าจะมุมไหนของโลก ก็มักจะเป็นข่าวใหญ่อยู่เสมอ
แต่งานวิจัยล่าสุดได้บอกว่า พบแหล่งแร่ทองคำที่หลายคนอาาจคาดไม่ถึง เพราะมีนักวิทยาศาสตร์พบว่า ไอโซโทปที่พบบนเปลือกโลก ส่วนที่เป็นหินผู้เขาไฟที่ไหลซึมออกมาจากใต้เปลือกโลก มีส่วนประกอบของ “โลหะมีค่า” รวมไปถึง ทองคำ รั่วไหลออกมาจากแก่นโลก (Core) และกำลังเดินทางขึ้นสู่พื้นผิวโลก
นิลส์ เมสสลิง นักธรณีเคมีจากมหาวิทยาลัยเกิททิงเงนในเยอรมนี ได้บอกว่า “ตอนที่ผลการศึกษาชุดแรกออกมา เราก็รู้่าเราพบทองคำจริงๆ ข้อมูลของเราได้ยืนยันว่ามีวัสดุจากแก่นโลก ซึ่งรวมถึงทองคำและโลหะมีค่าต่างๆ กำลังรั่วไหลขึ้นมายังชั้นเนื้อโลก (Mantle)”
แม้ว่าเราจะเข้าถึงทองคำในเปลือกโลกได้ แต่ปริมาณทองคำในเปลือกโลกนั้นถือว่าเป็นเพียงแค่เศษเสี้ยวธุลีเท่านั้น เมื่อเทียบกับปริมาณทั้งหมดที่โลกนี้มี
การวิจัยพบว่า โลกของเขาได้กักเก็บทองคำส่วนใหญ่เอาไว้ในชั้นที่อยู่ลึกลงไป โดยพบว่ามากกว่า 99 เปอร์เซ็นต์ อยู่ในแก่นโลกที่เป็นโลหะ และทองที่แก่นโลกนั้นมีมากมหาศาลถึงขั้นที่สามารถปกคลุมพื้นดินทั้งหมดของโลกด้วยทองคำที่มีความหนา 50 เซนติเมตร ได้แบบสบายๆ
ตามทฤษฎีแล้ว ในตอนที่ดาวเคราะห์ก่อตวขั้น เหล่าบรรดาธาตุที่หนักกว่าจะจมลงไปในชั้นด้านใน และถูกกักเก็บไว้ในแกนที่แยกตัวออกมา ซึ่งเป็นกระบวนการที่เรียกว่า ระยะก่อเหล็ก (Iron Catastrophic Stage) จากนั้น การตกลงมาของอุกกาบาตได้นำทองคำและโลหะหนังจำนวนมากขึ้นไปยังเปลือกโลก
แม้ว่าจะมีหลักฐานแน่ชัดว่า ไอโซโทปฮีเลียมดั้งเดิมและไอโซโทปของเหล็กกนักกำลังรั่วไหลจากแก่นโลก แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าโลหะหนักที่เราพบบนพื้นผิวโลกนั้นมาจากแก่นโลกมากน้อยแค่ไหน และมาจากอวกาศมากน้อยแค่ไหน
อย่างไรก็ตาม มีวิธีการตรวจสอบอยู่หนึ่งวิธี นั่นคือไอโซโทปของโลหะหนักมีค่าที่เรียกว่า “รูทีเนียม (Ruthenium)” โดยไอโซโทปเป็นรูปแบบหนึ่งของธาตุชนิดเดียวกันที่มีจำนวนนิวตรอนต่างกัน ซึ่งไอโซโทปของรูทีเนียมในแก้นโลกจะมีความแตกต่างจากรูทีเนียมบนพื้นผิวโลกเล็กน้อย
ความแตกต่างนั้นน้อยเกินไปที่จะตรวจจับได้ก็จริง แต่เมสสลิงและทีมวินัจยเองก็ได้พัฒนาวิธีการวิเคราะห์แบบใหม่ที่ช่วยให้พวกเขาสามารถแยกแยะความแตกต่างเหล่านี้ได้
พวกเขาได้ใช้เทนนิคใหม่ในการศึกษารูทีเนียมที่ขุดได้จากหินภูเขาไฟบนเกาะฮาวาย และค้นพบรูทีเนียม-100 ในปริมาณสูงกว่าเมื่อเทียบกับปริมาณที่พบในชั้นเนื้อโลหโดยรอบ โดยรูทีเนียม-100 คือไอโซโทปของรูทีเนียมที่กำเนิดในแก่นโลก
การค้นพบดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า ธาตุที่เคลื่อนย้ายไปยังแก่นโลกในตอนที่โลกยังอายุน้อยและหลอมละลาย กำลังรั่วไหลออกมาจากแก่นโลก ซึ่งนอกจากรูทีเนียมแล้วยังมีธาตุอื่นๆอีก ทั้ง แพลเลเดียว โรเดียม แพลตตินัม และทองคำ
อย่างไรก็ตาม การจะพบโลหะหายากเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นในอัตราที่สูงแต่อย่างใด และเราไม่สามารถขุดลงไปลึกถึง 2,900 กิโลเมตรเพื่อค้นหามันได้ แต่การค้นพบในครั้งนี้ได้บอกอะไรใหม่ๆ บางอย่างเกี่ยวกับโลกของเรา และอาจรวมไปถึงดาวเคราะห์หินดวงอื่นด้วย
แมตเทียส วิลล์โบลต์ นักธรณีเคมีจากมหาวิทยาลัยเกิททิงเงน หนึ่งในทีมวิจัย ได้บอกว่า “การค้นพบของเราไม่เพียงแต่จะแสดงให้เห็นว่าแก่นโลกไม่ได้แยกตัวออกมาอย่างที่เคยสันนิษฐานไว้เท่านั้น แต่ตอนนี้เราสามารถพิสูจน์ได้ว่า วัสดุชั้นเนื้อโลกที่ร้อนจัดในปริมาณมหาศาล หินหลายร้อยล้านเมตริกตัน มีต้นกำเนิดมาจากขอบเขตแก่นโลก-ชั้นเนื้อโลก และลอยขึ้นมาที่พื้นผิวโบก จนก่อตัวเป็นเกาะในมหาสมุทร อย่างเช่น เกาะฮาวาย”
อ้างอิง : www.sciencealert.com
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- สายการบินญี่ปุ่น ลงจอดฉุกเฉิน ผู้โดยสารพยายามเปิดประตูเครื่องบิน
- “มาครง” โต้แค่หยอกเล่นกับภริยา หลังมีคลิปไวรัลถูกตบบนเครื่องบิน
- เปิดคลิปช็อก รถพุ่งชนแฟนบอล ร่วมพาเหรดฉลองแชมป์ลิเวอร์พูล เจ็บ 27
ติดตาม The Thaiger บน Google News: