ข่าวการเมือง

เลือกตั้งเทศบาล 2568 ขั้นตอนแจ้งไม่ไปใช้สิทธิ์ ไม่มีเลือกตั้งล่วงหน้า

รวมข้อมูลการเลือกตั้งเทศบาล 2568 พร้อมขั้นตอนการลงคะแนน หลักฐานจำเป็นที่ต้องใช้ พร้อมวิธีแจ้งการไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง

นับถอยหลังอาทิตย์สุดท้ายสำหรับการเลือกตั้งเทศบาล 2568 ในวันที่ 11 พ.ค. 68 ไทยเกอร์โพลิติกจึงขอเปิดวิธีเตรียมความพร้อมก่อนไปเลือกตั้งเทศบาล พร้อมตอบข้อสงสัยว่าคนกรุงเทพต้องไปเลือกตั้งด้วยหรือไม่ และวิธีแจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิ์ว่าเกณฑ์ไหนบ้างที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยอมรับได้แบบครบจบในที่เดียว

การตรวจสอบคุณสมบัติผู้มีสิทธิเลือกตั้งเทศบาล 68

  • มีสัญชาติไทย หรือได้รับสัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
  • อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี ในวันเลือกตั้ง
  • มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปีนับถึงวันเลือกตั้ง

ทั้งนี้พี่น้องประชาชนสามารถเช็กคุณสมบัติผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งดังกล่าวผ่านระบบออนไลน์ ด้วยการคลิกที่ลิงก์ boraservices จากนั้นให้กรอกเลขบัตรประชาชนให้เรียบร้อย หากเรามีสิทธิ์เลือกตั้ง ระบบจะแสดงข้อมูลเขต หน่วย สถานที่เลือกตั้ง และลำดับที่ในบัญชีรายชื่อของเราขึ้นมาบนหน้าจอ

ภาพจาก boraservices

การตรวจสอบรายชื่อตนเองก่อนวันเลือกตั้ง

  • ตรวจสอบรายชื่อได้ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเทศบาล ที่เลือกตั้งหรือบริเวณใกล้เคียงกับที่เลือกตั้ง ผ่านเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชัน Smart Vote ก่อนเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 25 วัน
  • ตรวจรายชื่อจากเอกสารแจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งมายังเจ้าบ้าน ก่อนเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 15 วัน

หมายเหตุ : ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10 วัน หากพบว่าชื่อตัวเองไม่อยู่ในทะเบียนบ้านของตน ไม่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ หรือเห็นว่ามีชื่อบุคคลอื่นในทะเบียนเราโดยไม่ได้อาศัยอยู่จริง ให้เรารีบยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนอำเภอหรือท้องถิ่นเพื่อขอเพิ่มชื่อ ถอนชื่อ พร้อมนำสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นใดที่ทางราชการออกให้ไปแสดงด้วย

หลักฐานแสดงตนในการลงคะแนนเลือกตั้ง

  • บัตรประจำตัวประชาชน (บัตรที่หมดอายุก็ใช้ได้)
  • บัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐออกให้ที่มีรูปถ่ายและมีเลขประจำตัวประชาชน เช่น บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ ใบขับขี่ หรือหนังสือเดินทาง แต่ต้องเป็นบัตรที่ไม่หมดอายุ ไม่เหมือนบัตรประชาชน

อย่างไรก็ตาม ผู้มีสิทธิฯ สามารถแสดงหลักฐานดังกล่าวแบบออนไลน์ผ่าน 3 แอปพลิเคชัน ดังนี้ ThaID (บัตรประจำตัวประชาชนอิเล็กทรอนิกส์), DLT QR LICENCE (ใบอนุญาตขับขี่อิเล็กทรอนิกส์) และแอปฯ บัตรคนพิการดิจิทัล

ขั้นตอนการลงคะแนนเลือกตั้งเทศบาล 2568

1. ตรวจสอบรายชื่อ

2. ยื่นหลักฐานแสดงตน

  • แสดงหลักฐาน เช่น บัตรประจำตัวประชาชน (บัตรที่หมดอายุก็ใช้ได้) หรือ บัตรหรือหลักฐานที่ทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐออกให้ที่มีรูปถ่ายและมีเลขประจำตัวประชาชน ต่อ กปน.
  • พร้อมลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือในบัญชีรายชื่อ

3. รับบัตรเลือกตั้ง

  • ลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือลงที่ต้นขั้วบัตรเลือกตั้ง
  • รับบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ได้แก่ บัตรเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และบัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด

4. ทำเครื่องหมายกากบาท

  • เข้าคูหาลงคะแนนทำเครื่องหมายกากบาท (X) ลงในช่องทำเครื่องหมาย ดังนี้ บัตรเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เลือกผู้สมัครได้หนึ่งคน, บัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด เลือกผู้สมัครสมาชิกสภา
  • องค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ไม่เกินจำนวนสมาชิกที่แต่ละเขตเลือกตั้งนั้นพึงมี
  • หากไม่ต้องการเลือกผู้สมัครผู้ใด ให้ทำเครื่องหมายกากบาท (X) ในช่องไม่เลือกผู้สมัครผู้ใด แล้วพับบัตรเลือกตั้ง

5. หย่อนบัตรเลือกตั้งด้วยตัวเอง

  • นำบัตรเลือกตั้งที่พับเรียบร้อยแล้วหย่อนใส่ลงในหีบบัตรเลือกตั้งด้วยตนเอง
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา

ไม่สะดวกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ทำอย่างไรดี?

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งใดที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ เนื่องจากมีเหตุอันสมควร ให้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อนายทะเบียนอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่นที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน โดยทำเป็นหนังสือซึ่งต้องระบุเลขประจำตัวประชาชน และที่อยู่ตามหลักฐานทะเบียนบ้าน ภายใน 7 วันก่อนวันเลือกตั้ง หรือภายใน 7 วันนับแต่วันเลือกตั้ง สามารถแจ้งด้วยตัวเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นไปยื่นแทน หรือจัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน โดยมี 7 เหตุจำเป็นดังนี้

  • มีกิจธุระจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเดินทางไปพื้นที่ห่างไกล
  • เจ็บป่วยและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
  • เป็นคนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
  • เดินทางออกนอกราชอาณาจักร
  • มีถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากที่เลือกตั้งเกินกว่า 100 กิโลเมตร
  • ได้รับคำสั่งจากทางราชการให้ไปปฏิบัติหน้าที่นอกเขตเลือกตั้ง
  • มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุอื่นที่ กกต. กำหนด

ช่องทางการแจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิ์

1. แจ้งทางออนไลน์ ผ่านช่องทางดิจิทัลที่ กกต. จัดเตรียมไว้ ได้แก่

แจ้งเป็นหนังสือ โดยกรอกรายละเอียดในแบบฟอร์ม ส.ถ./ผ.ถ. 1/8 (สามารถดาวน์โหลดหรือขอรับได้) แล้วนำไปยื่นต่อ

  • นายทะเบียนอำเภอ หรือ
  • นายทะเบียนท้องถิ่น ที่ท่านมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
  • (สามารถยื่นด้วยตนเอง มอบหมายให้ผู้อื่นไปยื่นแทน หรือจัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน)
วิธีแจ้งเหตุไม่ต้องไปเลือกตั้งเทศบาล 2568
เลือกตั้งท้องถิ่น

หมายเหตุ : กำหนดเวลาแจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งฯ จะแบ่งออกเป็นช่วงวันที่ 4-10 พ.ค. 68 (ก่อนวันเลือกตั้ง) และ 12-18 พ.ค. 68 (หลังวันเลือกตั้ง) และถ้าไม่แจ้งเหตุการไม่ไปใช้สิทธิจะถูกจำกัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 2 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง ดังนี้

1. สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (สถ./ผถ.) หรือสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา (สว.)

2. สมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้าน เข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (สถ./ผถ.)

3. ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง และข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง

4. ดำรงตำแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น

5. ดำรงตำแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น

6. ดำรงตำแหน่งเลขานุการ

เลือกตั้งเทศบาล 2568 สามารถไปใช้สิทธิล่วงหน้าได้ไหม?

ทั้งนี้การเลือกตั้งเทศบาลนั้น จะใช้กติกาเดียวกับการเลือกตั้งท้องถิ่นอื่น ๆ คือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องไปใช้สิทธิตามที่อยู่ในทะเบียนบ้านในวันจริงเท่านั้น ไม่มีการเลือกตั้งล่วงหน้า และไม่มีการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขต ดังนั้น หากใครที่มีธุระไม่สามารถเดินทางกลับไปใช้สิทธิได้ ทางเราแนะนำให้แจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิ์ตามข้างต้น ไม่งั้นอาจถูกจำกัดสิทธิทางการเมืองได้

คนกรุงเทพต้องเลือกตั้งเทศบาล 68 ด้วยไหม

​ประชาชนในกรุงเทพมหานคร ไม่ต้องเลือกตั้งเทศบาลในปี 2568 เนื่องจากกรุงเทพมหานครมีโครงสร้างการปกครองท้องถิ่นที่แตกต่างจากจังหวัดอื่น ๆ​ เนื่องจากกรุงเทพฯ มีสถานะเป็น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528

ดังนั้นการบริหารจัดการในกรุงเทพฯ จึงอยู่ภายใต้การดูแลของ กรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) แทนการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาลเหมือนจังหวัดอื่น ๆ​

เลือกตั้งเทศบาล 2568
ภาพจาก สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง

ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ติดตาม The Thaiger บน Google News:

0 0 โหวต
Article Rating
สมัครรับข้อมูล
แจ้งเตือนเกี่ยวกับ
0 Comments
เก่าแก่ที่สุด
ใหม่ล่าสุด ถูกโหวตมากที่สุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด

yo

นักเขียนข่าว บทความทั่วไปประเภทไลฟ์สไตล์ สำเร็จการศึกษาจากคณะอักษรศาสตร์ สาขาวิชาปรัชญา มศก. ติดต่อได้ที่อีเมล yo@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button
0
เราอยากทราบความคิดเห็นของคุณ โปรดแสดงความคิดเห็นx