ข่าวต่างประเทศ

ทั่วโลกกังวล โรคลึกลับในคองโก ดับแล้ว 60 ชีวิต ป่วยนับพัน อาจเป็นพิษเคมี

ปริศนาโรคลึกลับในคองโก คร่าแล้ว 60 ชีวิต ตัวเลขผู้ป่วยนับพัน อัปเดตสถานการณ์ระบาดหนัก องค์การอนามัยโลก ประกาศ “ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ” ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขระดับโลก เผยทฤษฎีใหม่ที่น่าตกตะลึง “พิษจากสารเคมี” อาจเป็นต้นเหตุของโศกนาฏกรรมครั้งนี้

ก่อนหน้านี้สำนักข่าว NBT อ้างรายงานขององค์การอนามัยโลก เมื่อเดือน ก.พ.ที่ตรวจสอบพบการระบาดของโรคปริศนาในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก หรือ “ดีอาร์.คองโก” เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตแล้วถึง 53 คน และล้มป่วย 431 คน โดยอาการของผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดตามร่างกาย อาเจียนและท้องเสีย ส่วนถิ่นที่พบการระบาดอยู่ในหมู่บ้านห่างไกลในจังหวัด “เอกวาเตอร์”

อีกทั้งยังพบการระบาดที่เกิดขึ้นเร็ว เช่น ที่หมู่บ้าน “โบมาเต” พบการติดเชื้อในหลักร้อยคน และเสียชีวิตครึ่งหนึ่งจาก 45 คนในพื้นที่ภายในเวลาเพียง 48 ชม. ด้านองค์การอนามัยโลกยืนยันต้นเหตุของโรคไม่ใช่ไวรัส อีโบล่า หรือ มาร์บวร์ก ขณะที่แพทย์ในพื้นที่ก็กำลังสอบสวนโรค โดยดูว่า มีความเกี่ยวข้องกับโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ , ไทฟอยด์ , มาลาเรีย และไข้เลือดออก หรือไม่

ต่อมาสำนักข่าวต่างประเทศอัปเดตตัวเลขโรคปริศนาที่คร่าชีวิตผู้คนไปถึง 60 ราย ในคองโก ที่เคยสร้างความหวาดผวาไปทั่วโลก

ล่าสุดผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขระดับโลกได้เปิดเผยทฤษฎีใหม่ที่น่าตกตะลึง “พิษจากสารเคมี” อาจเป็นต้นเหตุของโศกนาฏกรรมครั้งนี้

ย้อนกลับไปตั้งแต่ปลายเดือนม.ค.ที่ผ่านมา โรคลึกลับที่ยังไม่ทราบสาเหตุได้คร่าชีวิตชาวคองโกไปอย่างรวดเร็ว อาการป่วยที่เกิดขึ้นกับผู้คนกว่า 1,300 ราย ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องเร่งสืบสวนหาต้นตอของโรคอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ป่วยส่วนใหญ่เสียชีวิตภายใน 24 ชม. หลังจากแสดงอาการ

ผลการตรวจเบื้องต้น “ไม่พบเชื้อไวรัสอีโบลา” หรือไข้เลือดออกอื่นๆ เช่น “มาร์เบิร์ก” ซึ่งเคยระบาดในคองโกมาก่อน ทำให้ปริศนาโรคนี้ยิ่งซับซ้อนขึ้นไปอีก

ล่าสุด องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่า “พิษจากสารเคมี” หรือ “เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรีย” อาจเป็นสาเหตุของโรคนี้ โดย WHO ได้ตั้งข้อสังเกตจากหลายปัจจัย เช่น การลดลงอย่างรวดเร็วของจำนวนผู้เสียชีวิตในระยะหลัง, การกระจุกตัวของผู้ป่วยในพื้นที่จำกัด, กลุ่มอายุของผู้ป่วย และการดำเนินโรคที่รวดเร็วในช่วงแรกของการระบาด

“สมมติฐานการทำงานของเราคือ พิษจากสารเคมี หรือกลุ่มอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรียที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีพื้นฐานมาจากมาลาเรียและโรคติดเชื้ออื่นๆ ที่เป็นโรคประจำถิ่นในภูมิภาค” เนื้อหาจากในแถลงการณ์ฉบับล่าสุดของ WHO ระบุ

กบฏ M23 กำลังลาดตระเวนในศูนย์กลางของเมืองบูคาวู ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของคองโกตะวันออก ในคิวูใต้ เมื่อวันจันทร์ที่ 17 ก.พ.2025
กบฏ M23 กำลังลาดตระเวนในศูนย์กลางของเมืองบูคาวู ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของคองโกตะวันออก ในคิวูใต้ เมื่อวันจันทร์ที่ 17 ก.พ.2025 ภาพ @AP Photo/Janvier Barhahiga.

ขณะนี้ทีมผู้เชี่ยวชาญกำลังทำการวิเคราะห์ตัวอย่างสิ่งแวดล้อม รวมถึง “น้ำ” เพื่อตรวจสอบสาเหตุทางเคมีที่เป็นไปได้ นอกจากนี้ ยังมีการพิจารณาว่าโรคประจำถิ่นอื่นๆ เช่น “มาลาเรีย” อาจมีส่วนทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงขึ้นและเสียชีวิต

ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 25 ก.พ.ระบุว่า มีผู้ป่วยที่มีอาการของโรคลึกลับนี้ทั้งหมด 1,318 ราย โดยประมาณครึ่งหนึ่งของผลตรวจพบเชื้อมาลาเรีย

WHO ยังระบุอีกว่า กลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้ใหญ่ตอนต้น โดยเฉพาะผู้ชาย ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างไม่สมส่วน

การระบาดครั้งแรกเกิดขึ้นในเมืองโบโลโก ทางตะวันตกเฉียงเหนือของคองโก หลังจากการเสียชีวิตของเด็ก 3 คน ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากการกินค้างคาวที่ตายแล้ว และแสดงอาการของไข้เลือดออก โดยภายในวันที่ 27 มกราคม 2025 มีผู้ป่วยทั้งหมด 12 ราย และเสียชีวิต 8 ราย

ต่อมาโรคระบาดระลอก 2 เกิดขึ้นในเมืองโบมาเต ห่างจากโบโลโกประมาณ 180 กม. เมื่อวันที่ 9 ก.พ.ที่ผ่านมา ทั้งสองเมืองอยู่ห่างจากเมืองหลวงประจำจังหวัด Mbandaka ประมาณ 300 กิโลเมตร

ผู้คนให้ความช่วยเหลือเหยื่อหลังจากเกิดระเบิดสองครั้งในที่ประชุมของผู้นำกลุ่มกบฏ M23 และประชาชนในเมืองบูคาบู ทางตะวันออกของคองโก เมื่อ 27 ก.พ.2025
ผู้คนให้ความช่วยเหลือเหยื่อหลังจากเกิดระเบิดสองครั้งในที่ประชุมของผู้นำกลุ่มกบฏ M23 และประชาชนในเมืองบูคาบู ทางตะวันออกของคองโก เมื่อ 27 ก.พ.2025 ภาพ @AP Photo/Janvier Barhahiga

WHO ได้ส่งทีมผู้เชี่ยวชาญและอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมถึงชุดตรวจไปยังพื้นที่ดังกล่าว แต่ยังไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนทีมและอุปกรณ์ที่ส่งไป

ความเสี่ยงด้านสาธารณสุขในระดับท้องถิ่นยังคงอยู่ในระดับ “ปานกลาง” ในขณะที่ความเสี่ยงในระดับโลกถูกประเมินว่า “ต่ำ”

อาการของผู้ป่วยประกอบด้วย ไข้สูง, อาเจียน, ท้องเสีย, ปวดเมื่อยตามร่างกาย และกระหายน้ำอย่างรุนแรง เด็กบางรายมีเลือดกำเดาไหล, อาเจียนเป็นเลือด และร้องไห้อย่างต่อเนื่อง

ความท้าทายในการควบคุมโรคคือ พื้นที่ห่างไกลทำให้การเข้าถึงผู้ป่วยเป็นไปได้ยาก และโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุขที่อ่อนแอทำให้การเฝ้าระวังและการจัดการผู้ป่วยเป็นไปได้ยากเช่นกัน

รายงานของเดลีเมล์ระบุ เหตุการณ์นี้เป็นการระบาดของโรคที่ไม่ทราบสาเหตุครั้งที่ 2 ในคองโก ภายในระยะเวลาไม่ถึง 3 เดือน หลังจากที่ผู้คนกว่า 400 ราย ป่วยในปลายเดือนธันวาคม ซึ่งภายหลังพบว่าเกี่ยวข้องกับมาลาเรียและการขาดสารอาหาร.

ประธานาธิบดีเฟลิกซ์ ชิเซเคดี ผู้นำดีอาร์คองโก
เฟลิกซ์ ชิเซเคดี ประธานาธิบดีดีอาร์คองโก (แฟ้มภาพ @AP Photo/Christophe Ena, File)

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button