คำพิพากษาฉบับเต็ม ศาลสั่งจำคุก พิรงรอง 2 ปี ไม่รอลงอาญา คดี ทรูไอดี
เปิดคำพิพากษาฉบับเต็มศาลอาญาคดีทุจริตฯ พิพากษา พิรงรอง รามสูต ผิด ม.157 ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ สั่ง กสทช. แจ้งช่องทีวี “ทรูไอดี” ยังไม่ได้รับอนุญาต ทั้งที่ยังไม่มีกฎหมายรองรับ ชี้เจตนากลั่นแกล้ง “ทรูดิจิทัล” เสียหาย ลดโทษเหลือจำคุก 1 ปี ไม่รอลงอาญา “พิรงรอง” ยันทำเพื่อผู้บริโภค เตรียมอุทธรณ์
หลังจากที่ ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง พิพากษาจำคุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.พิรงรอง รามสูต กรรมการ กสทช. ด้านกิจการโทรทัศน์ ในความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 กรณีสั่งการให้สำนักงาน กสทช. ออกหนังสือแจ้งผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ว่า “ทรูไอดี” ยังไม่ได้รับใบอนุญาต ทั้งที่ กสทช. ยังไม่มีกฎหมายกำกับดูแล OTT โดยตรง ชี้ มีเจตนา “ล้มยักษ์” ทำให้ทรูดิจิทัลเสียหาย
คำพิพากษาดังกล่าว มีขึ้นเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568 ในคดีที่ บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง ดร.พิรงรอง สืบเนื่องจาก กสทช. มีหนังสือแจ้งผู้ให้บริการทีวีดิจิทัล หลังได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค ว่าทรูไอดี มีการแทรกโฆษณาในช่องรายการ ซึ่งผิดกฎ “Must Carry” โดยทรูดิจิทัล มองว่า กสทช. ไม่มีอำนาจกำกับดูแล OTT
ศาลจึงพิพากษาว่า “ดร.พิรงรอง” มีความผิด ลงโทษจำคุก 2 ปี แต่ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 1 ปี โดยไม่รอลงอาญา
ข่าวแจกสื่อมวลชนคำพิพากษาฉบับเต็ม
สรุปคำพิพากษา ศาลอาญาคดีทุจริตฯ จำคุก ‘พิรงรอง’ 2 ปี คดี ‘ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป’ ฟ้อง 157 พร้อมเปิดสาเหตุ ศาลสั่งจำคุก พิรงรอง 2 ปี ใช้คำ ตลบหลัง-ล้มยักษ์ เจตนากลั่นแกล้ง ทรู
“ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางอ่านคำพิพากษาคดี บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด เป็นโจทก์ ฟ้อง นางสาวพิรงรอง รามสูต กรณี กสทช. มีหนังสือแจ้งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์มิให้นำช่องรายการไปให้บริการบนแพลตฟอร์ม True ID
วันนี้ (๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔) เวลา ๐๙.๓๐ น. ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางนัดฟัง คําพิพากษา ในคดีหมายเลขดําที่ อท ๑๔๗, ๗๑/๒๕๖๖ คดีอาญาหมายเลขแดงที่ อท ๑๖๔/๒๕๖๖, ๒๖/๒๕๖๘ ระหว่าง บริษัททรู ดิจิทัล กรุ๊ป จํากัด โจทก์ นางสาวพิรงรอง รามสูต จําเลย เรื่อง เจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้ให้บริการแอปพลิเคชั่น True ID ประเภท Over The Top หรือ (โอทีที) ผ่านอินเทอร์เน็ตสาธารณะที่ไม่มีการบริหารจัดการโครงข่ายเป็นการเฉพาะ ซึ่งคณะกรรมการกิจการ กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ไม่เคยกําหนดให้ผู้ให้บริการแอป พลิเคชันหรือแพลตฟอร์มดังกล่าว ต้องขอรับใบอนุญาตจาก กสทช. จําเลยเป็นกรรมการใน กสทช. และได้รับ แต่งตั้งให้เป็นประธานอนุกรรมการพิจารณาอนุญาตด้านกิจการโทรทัศน์ ใช้อํานาจหน้าที่โดยมิชอบ
โดยกระทําการเร่งรัดสั่งการหรือดําเนินการให้สํานักงาน กสทช. ทําหนังสือแจ้งไปยังผู้ให้บริการประกอบ กิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ในนามสํานักงาน กสทช. ภายหลังจากการประชุมคณะกรรมการ ทันที
โดยที่ กสทช. ยังไม่ได้มีการพิจารณา มีมติ หรือมีคําสั่งการในเรื่องดังกล่าว โดยจําเลยได้กล่าวในที่ประชุม คณะอนุกรรมการฯ ครั้งที่ ๓/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ที่แสดงให้เห็นถึงเจตนาที่จะล้มกิจการ ของโจทก์ โดยกล่าวทํานองว่า วิธีการที่เราจะจัดการเรื่องนี้ไม่ได้ไปทําที่โจทก์โดยตรง แต่ไปทําที่ช่องรายการที่ รับใบอนุญาตจาก กสทช. เป็นการใช้วิธีตลบหลัง
โดยในที่ประชุมมีผู้เข้าประชุมไม่เห็นด้วยกับวิธีการของจําเลย เนื่องจากเป็นการกระทําเฉพาะการให้บริการแอปพลิเคชัน True ID ของโจทก์ แต่จําเลยพยายามโน้มน้าวและ รวบรัดการพิจารณา และก่อนจบการประชุมของคณะอนุกรรมการฯ จําเลยให้เตรียมความพร้อมที่จะล้มหรือ ระงับการให้บริการแอปพลิเคชัน True ID ของโจทก์ โดยใช้คําพูดว่า “ต้องเตรียมตัวจะ จะล้มยักษ์” และ ต่อมาจําเลยได้ให้สํานักงาน กสทช. แจ้งไปยังผู้ได้รับอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ทุกราย ทราบเกี่ยวกับการให้บริการแอปพลิเคชัน True ID ของโจทก์เพียงรายเดียวว่ายังไม่ได้เป็นผู้รับอนุญาต ประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์และยังมิได้แสดงความประสงค์ขอรับใบอนุญาตตามขอบเขตการ ได้รับบริการประเภทโครงข่ายไอพีทีวี
โดยการกระทําของจําเลยดังกล่าวทําให้ผู้ที่ได้รับหนังสือแจ้งของจําเลย มีความเข้าใจว่า โจทก์จงใจกระทําผิดกฎหมายไม่แสดงความประสงค์ขอรับใบอนุญาต ทั้งที่จําเลยทราบ ข้อเท็จจริงว่า การให้บริการแพลตฟอร์มโอทีที ในรูปแบบแอปพลิเคชัน True ID กสทช. ยังมิได้กําหนด หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ เป็นการเจตนาปฏิบัติหรือละเว้น
การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อันเป็นการกระทําความผิดตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา ๑๕๗
ศาลพิเคราะห์แล้ว เห็นว่า โจทก์เป็นผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน True ID มาตั้งแต่ปี ๒๕๕๙ จนถึงปัจจุบัน
โดยแอปพลิเคชัน True ID เป็นการให้บริการประเภทผ่านอินเทอร์เน็ตสาธารณะหรือโอทีที และ เป็นการให้บริการผ่านอินเทอร์เน็ตสาธารณะของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วไปซึ่งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ไม่เคยกําหนดให้ผู้ให้บริการแอปพลิเคชันหรือ แพลตฟอร์มดังกล่าวต้องขอรับใบอนุญาตแต่อย่างใด จําเลยเป็นกรรมการใน กสทช. มีอํานาจหน้าที่จัดทําแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ระหว่างกําหนดการจัดสรรคลื่นความถี่ระหว่างคลื่นความถี่ที่ใช้ในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคม กําหนดลักษณะและประเภทของกิจการกระจายเสียงกิจการ
โทรทัศน์ และจําเลยยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาอนุญาตด้านกิจการโทรทัศน์มี อํานาจหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะ ข้อพิจารณา กลั่นกรอง และให้ความเห็นเกี่ยวกับการอนุญาตและกํากับดูแลการ ประกอบกิจการโทรทัศน์ รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่ กสทช. มอบหมาย จําเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานตาม กฎหมาย ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุ โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๒๕ ในการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาอนุญาต ด้านกิจการโทรทัศน์ ครั้งที่ ๓/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ จําเลยทําหน้าที่เป็นประธาน ในที่ประชุม
โดยมีวาระที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับการตรวจสอบการแพร่เสียงแพร่ภาพผ่านการให้บริการกล่องรับ สัญญาณโทรทัศน์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และแอปพลิเคชัน True ID โดยในที่ประชุมได้มีการแสดงความ คิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะหรือพฤติการณ์ในการให้บริการของ True ID แต่ที่ประชุมยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ประกอบกับที่ประชุมเห็นว่า ปัจจุบันมีผู้ให้บริการในลักษณะโอทีที เช่นเดียวกับ True ID จํานวนมาก ซึ่งไม่ได้ เป็นผู้รับใบอนุญาตและไม่ได้รับการกํากับดูแลจาก กสทช.
การนําเอาประเด็นลักษณะของการให้บริการของ True ID มาพิจารณาเพียงรายเดียวอาจส่งผลต่อการพิจารณาในประเด็นต่าง ๆ ในอนาคตได้ แสดงให้เห็นว่า ในการประชุมของคณะอนุกรรมการพิจารณาอนุญาตด้านกิจการโทรทัศน์ คราวดังกล่าวยังไม่ได้ข้อสรุป เกี่ยวกับการให้บริการ True ID ของโจทก์ว่าจะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กสทช. หรือไม่ อย่างไร
อีกทั้งก่อนที่ จําเลยจะได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการ กสทช. มีข้อมูลระบุว่า บริการ True ID ของโจทก์เป็นบริการโอทีทีและยัง ไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับกฎหมายในการกํากับดูแลการประกอบกิจการดังกล่าว ซึ่งสอดคล้องกับคําชี้แจง ข้อเท็จจริงของสํานักงาน กสทช. ที่ยื่นต่อศาลในคดีนี้ว่า
กสทช. ยังไม่ได้มีการประกาศกําหนดนิยามของคําว่า โอทีที่ไว้เป็นการเฉพาะ ต่อมาได้มีหนังสือไปยังผู้ได้รับอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ แต่ปรากฏว่าในวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ เจ้าหน้าที่ฝ่ายเลขานุการของคณะอนุกรรมการได้จัดทําบันทึก และร่างหนังสือของสํานักงาน กสทช. ตาม เสนอเข้าสู่ระบบงานสารบัญทางคอมพิวเตอร์ของสํานักงาน กสทช. ให้ผู้เกี่ยวข้องพิจารณาตามขั้นตอน นาง ก.
ซึ่งทําหน้าที่กลั่นกรองงานให้แก่รองเลขาธิการ กสทช. ทําให้นาง ก. ได้สอบถามเหตุผลและความจําเป็นในการทําบันทึกและร่างหนังสือของสํานักงาน กสทช. จะต้องระบุชื่อ การให้บริการ True ID ของโจทก์เป็นการเฉพาะ ซึ่งได้รับแจ้งว่า จําเลยเป็นผู้สั่งการและเร่งรัดให้จัดทําบันทึก และร่างหนังสือดังกล่าว และ กสทช. ได้มีหนังสือไปยังผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ รวม ๑๒๗ ราย
ต่อมาวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๖๖ มีการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาอนุญาตด้านกิจการโทรทัศน์ ครั้งที่ ๔/๒๕๖๖ ซึ่งจําเลยได้ทําหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุม จําเลยได้มีการต่อว่าและตําหนิฝ่ายเลขานุการที่มี การจัดทําหนังสือ
โดยไม่ได้ระบุหรือเจาะจงถึงการให้บริการ True ID ของโจทก์ และในรายงานการประชุม ของคณะอนุกรรมการพิจารณาอนุญาตด้านกิจการโทรทัศน์ ครั้งที่ ๓/๒๕๖๖ ไม่ได้มีมติให้สํานักงาน กสทช. จะต้องมีหนังสือแจ้งไปยังผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์
โดยระบุเจาะจงถึงบริการ True ID ของโจทก์ แต่ตามบันทึกรายงานการประชุมกลับมีการระบุว่าที่ประชุมมีมติรับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ ๓/๒๕๖๖ และเห็นควรมีหนังสือแจ้งผู้ให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ ทั้งที่ในความเป็นจริงการ ประชุมคณะอนุกรรมการ ครั้งที่ ๔/๒๕๖๖ ไม่ได้มีมติดังกล่าวแต่อย่างใด
อันเป็นการทําเอกสารรายงาน การประชุมอันเป็นเท็จ เมื่อพิจารณาประกอบกับถ้อยคําที่จําเลยได้กล่าวในการประชุมคณะอนุกรรมการ ดังกล่าว ครั้งที่ ๓/๒๕๕๖ ที่ใช้ถ้อยคําทํานองพยายามโน้มน้าวและรวบรัดการพิจารณา อีกทั้งก่อนจบการ ประชุมของคณะอนุกรรมการ จําเลยให้เตรียมความพร้อมที่จะล้มหรือระงับการให้บริการแอปพลิเคชัน True ID ของโจทก์
โดยใช้คําพูดว่า “ต้องเตรียมตัวจะ จะล้มยักษ์” และจําเลยก็ยอมรับว่า คําว่า “ยักษ์” หมายถึงโจทก์ ถ้อยคําดังกล่าวเป็นการสื่อความหมายชัดเจนว่า ประสงค์ให้กิจการของโจทก์ได้รับความเสียหาย พฤติการณ์ ของจําเลยดังกล่าวเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ เจตนามุ่งประสงค์กลั่นแกล้งโจทก์ และใช้อํานาจหน้าที่ของตนไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนที่กฎหมายกําหนด ทําให้โจทก์ได้รับความ เสียหาย
เพราะภายหลังจากมีหนังสือดังกล่าวแจ้งไปยังผู้ประกอบการรวม ๑๒๗ รายแล้ว มีผู้ประกอบกิจการ หลายรายได้ชะลอหรือขยายระยะเวลาเข้าทํานิติกรรมกับโจทก์ การกระทําของจําเลยจึงเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗ ส่วนพยานหลักฐานของจําเลยไม่มีน้ําหนักหักล้างพยานหลักฐานของ โจทก์ได้
พิพากษาว่า จําเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗ จําคุก ๑ ปี/
ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง วันพฤหัสบดีที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๘”
สรุป คือ บริษัททรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด ฟ้อง นางสาวพิรงรอง รามสูต อดีตกรรมการ กสทช. ในข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ใจความสำคัญ คือ นางสาวพิรงรอง ใช้อำนาจโดยมิชอบ สั่งให้ กสทช. ส่งหนังสือแจ้งผู้ให้บริการทีวีต่างๆ ว่า True ID ยังไม่ได้รับใบอนุญาต ทั้งที่จริง ๆ แล้ว กสทช. ยังไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์การขอใบอนุญาตสำหรับบริการแบบ True ID เลย
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ด่วน! ศาลให้ประกัน พิรงรอง วางหลักทรัพย์ 3 แสน ห้ามออกนอกประเทศ
- ด่วน! จำคุก 2 ปี “พิรงรอง” ไม่รอลงอาญา ชี้เจตนากลั่นแกล้ง TrueID ให้เสียหาย
- เปิดสาเหตุ ศาลสั่งจำคุก พิรงรอง 2 ปี ใช้คำ ตลบหลัง-ล้มยักษ์ เจตนากลั่นแกล้ง ทรู
อ้างอิง : สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว