สุขภาพและการแพทย์

แพทย์เตือน 4 เครื่องดื่มอันตราย ห้ามดื่มก่อนนอน เสี่ยงภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน

ชายวัย วัย 65 ปี เสียชีวิตกะทันหัน หลังดื่มน้ำชนิดนี้ก่อนนอน แพทย์เตือน 4 เครื่องดื่มอันตราย ห้ามดื่มก่อนเข้านอน เสี่ยงภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน

ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน โรคอันตรายที่คร่าชีวิตคนได้อย่างกะทันหัน สามารถเกิดได้กับคนทุกเศทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เนื่องจากสภาพร่างกายที่เสื่อมถอย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเตือนถึงเครื่องดื่ม 4 ชนิด ที่ไม่ควรดื่มในตอนกลางคืน แม้จะกระหายน้ำแค่ไหนก็ตาม แล้วอะไรคือสาเหตุของโรคนี้และเราจะป้องกันตัวเองได้อย่างไร เดอะไทยเกอร์ จะพาไปหาคำตอบในบทความนี้

Advertisements

จากกรณีล่าสุด นายหวัง ชายวัย 65 ปี ในประเทศจีน เสียชีวิตจากภาวะหัวใจวายเฉียบพลันในช่วงกลางดึก เวลา 5 ทุ่ม เสียงไซเรนรถพยาบาลดังกึกก้อง ทำลายความเงียบสงบยามค่ำคืน คุณหวังมีใบหน้าซีดเผือด ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน แพทย์วินิจฉัยว่าเขาเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และพยายามอย่างสุดความสามารถที่จะยื้อชีวิต แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ

4 เครื่องดื่ม เสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน

1. น้ำเย็นจัด

ในช่วงหน้าร้อน หลายคนชอบดื่มน้ำเย็นจัดหลังอาหารเย็น เพื่อดับกระหาย แต่การดื่มน้ำเย็นจัด อาจทำให้หลอดเลือดหดตัวกะทันหัน ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน

น้พเย็นจัดวางบนโต๊คต๊ะ

2. ชาเข้มข้น

บางคนชอบดื่มชาเข้มข้นก่อนนอน แต่ชาเข้มข้นมีคาเฟอีน และธีโอโบรมีน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคหัวใจ การดื่มชาเข้มข้นก่อนนอน จะยิ่งเพิ่มภาระให้หัวใจ และเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน

ชา กำลังเทลงแก้ว

Advertisements

3. กาแฟ

กาแฟมีคาเฟอีนสูง กระตุ้นระบบประสาท โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือด หรือโรคทางสมอง ควรหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ 2 ชั่วโมงก่อนนอน

กาแฟดำในแก้ว

4. น้ำผลไม้

น้ำผลไม้ มีน้ำตาลฟรุกโตสสูง ซึ่งเพิ่มความหนืดของเลือด และอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด

น้ำผลไม้วางเรียงกัน

ผลจากการดื่มน้ำอันตราย 4 ชนิดนี้ ไม่เพียงเป็นการเพิ่มอัตราเสี่ยงภาวะหัวใจวายเฉียบพลันเท่านั้น แต่ยังส่งผลเสียต่อเยื่อบุหลอดอาหารของเราอีกด้วย เนื่องจาก เยื่อบุอาหารสามารถทนความร้อนได้ประมาณ 40 องศาเซลเซียส แต่ถ้าเราดื่มน้ำร้อนจัด หรือน้ำเย็นจัด จะทำให้เยื่อบุหลอดอาหารระคายเคือง

ทั้งนี้ หากเยื่อบุหลอดอาหารระคายเคืองเรื้อรัง อาจทำให้เกิดการอักเสบ ร้ายแรงถึงขั้น เป็นมะเร็งหลอดอาหารได้

การดื่มน้ำร้อนจัด หรือน้ำเย็นจัดก่อนนอน ยังทำให้เยื่อบุช่องปากระคายเคือง และเกิดแผล หากเป็นเรื้อรัง อาจลุกลามกลายเป็นแผลในปาก แผลในหลอดอาหารได้

นอกจากนี้ การดื่มน้ำมากเกินไปก่อนนอน อาจทำให้ต้องตื่นขึ้นมาเข้าห้องน้ำกลางดึก ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตแบบกะทันหัน ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำร้อนจัด หรือน้ำเย็นจัดก่อนนอน

ทำไมผู้สูงอายุจึงเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน?

ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน (Acute Myocardial Infarction หรือ Heart Attack) คือ ภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อการไหลเวียนของเลือดไปยังกล้ามเนื้อหัวใจถูกขัดขวางอย่างฉับพลัน มักเกิดจาก การอุดตันของหลอดเลือดหัวใจ ที่นำเลือดและออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อหัวใจ การขาดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจทำให้เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือถูกทำลาย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและทำให้เสียชีวิตได้

ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงสูงกว่าคนวัยอื่น ๆ เนื่องจากสภาพร่างกายที่เสื่อมถอย นอกจากนี้ ผู้สูงอายุมักมีโรคประจำตัว เช่น โรคกระดูกพรุน ซึ่งทำให้กระดูกเปราะบาง ส่งผลต่อการไหลเวียนเลือด และอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้

คนสูงวัยเจ็บหน้าอก

สัญญาณเตือนและวิธีป้องกันภาวะหัวในวายเฉียบพลัน

ก่อนเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน ร่างกายมักจะส่งสัญญาณเตือน แต่สัญญาณเหล่านี้อาจสังเกตได้ยาก

สัญญาณที่ 1 เจ็บหน้าอก และหายใจลำบาก ผู้ป่วยอาจรู้สึกแน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่ม โดยอาการเจ็บมักจะอยู่กลางหน้าอก หรือใต้กระดูกหน้าอก บางครั้งอาจลามไปที่หัวไหล่ซ้าย แขนซ้าย หรือบริเวณอื่นๆ

สัญญาณที่ 2 เจ็บหน้าอกบ่อย ๆ หากมีอาการเจ็บหน้าอกขณะนอนหลับ จนต้องตื่นขึ้นมา นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือน

สัญญาณที่ 3 ปวดท้อง ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดท้อง โดยเฉพาะ 1-2 ชั่วโมงหลังอาหาร

สัญญาณที่ 4 หัวใจเต้นผิดจังหวะ หากเกิดขึ้นในช่วงตี 3 – ตี 4 อาจเป็นสัญญาณของภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน

คนเจ็บหน้าอก

โรคหัวใจ เป็นโรคที่อันตราย และรักษายาก ดังนั้น การป้องกันจึงเป็นสิ่งสำคัญ เราต้องรู้จักสาเหตุของโรค และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดความเสี่ยง

เริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น ไม่ควรออกกำลังกายหักโหม โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว การออกกำลังกายอย่างหนัก และรุนแรง อาจทำให้หัวใจทำงานหนักเกินไป และเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน

ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ทำงานหนัก แต่ก็ต้องพักผ่อน การทำงานหนักเกินไป อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และอย่าลืม รักษาสุขภาพจิต คิดบวก มองโลกในแง่ดี เพราะจิตใจที่แจ่มใส ก็มีส่วนช่วยป้องกันโรคหัวใจได้เช่นกัน

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง: soha vn 

New Nidhikant

จบการศึกษาคณะอักษรศาสตร์ เอเชียศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร นักเขียนสายมูเตลู และนักอ่านไพ่ทาโรต์ โหราศาสตร์ มีความสนใจด้านข่าวการเมือง ศิลปะวัฒนธรรม แฟชั่น และสายดูดวงมูเตลู งานเขียนเน้นเนื้อหาที่เข้าใจง่าย อ่านสนุก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button