เปิดพินัยกรรม เจ๊อ้อย 3 ฉบับ ตัวไหนมัด ทนายตั้ม วางแผนฮุบสมบัติ
พินัยกรรม 3 ฉบับ ของเจ๊อ้อย สนธิ กางหลักฐานมัด ทนายตั้ม เดินหน้าสุดซอยจนนรกแตก กางพิรุธแฉนักกฎหมายมีคดี แอบทำพินัยกรรมสอดไส้ ยังไม่นับกรณีแอบติด GPS ที่เพื่อนซี้ทนายเดชา บอกเข้าข้อหาพยายามฆ่า ชะตากรรมส่อเจอทั้งขึ้นทั้งล่อง 71 ล้านยังไม่เคลียร์ เตรียมเจอปมฮุบสมบัติเศรษฐีนีเพิ่ม
เกาะติดความคืบหน้าประเด็นขุดคุ้ยหาหลักฐานเชื่อมโยง เพื่อเออาผิดกับนายษิทรา เบี้ยบังเกิด หรือ “ทนายตั้ม” กรณีถูก “เจ๊อ้อย” จตุพร อุบลเลิศ เศรษฐีนีที่อาศัยอยู่ในฝรั่งเศส แจ้งดำเนินคดีฉ้อโกงเงิน 71 และ 39 ล้านบาท แบ่งเป็นคดีหลักและคดีรอง ก่อนที่ต่อมาฝั่ง อ.ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และนายสนธิ ลิ้มทองกุล ออกมาร่วมกันเปิดโปงพิรุธการทำพินัยกรรมซึ่งตอนนี้มีการกล่าวหานายษิทราว่าแอบทำ “พินัยกรรมสอดไส้” ไว้ในหนึ่งจาก 2 ฉบับ ซึ่งเอาชื่อตัวเองไปใส่เป็น “ผู้จัดการมรดก”
ข้อมูลจากช่อง สนธิทอล์ค ยืนยันทนายตั้มเขียนพินัยกรรมเอง และให้พยานเซ็นหน้าสุดท้าย ไม่คืนคู่ฉบับซึ่งเป็นพินัยกรรมฉบับเก่าอ้างว่าทำลายไปแล้ว โดยหลังจากได้ตั้มเป็นทนายความให้เจ๊อ้อยได้เพียง 8 วัน ปรากฎมีการให้อีกฝ่ายทำพินัยกรรมทันที เมื่อ 9 เม.ย.65
เนื้อหาจากช่องสนธิทอล์คยังพาดพิงแรงอีกว่า ตั้มคิดจะฮุบสมบัติของอีกฝ่าย หลังแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแค่ 9 วัน โดยออกอุบายทำพินัยกรรมที่สำนักงาน ษิทรา ลอว์เฟิร์ม ซึ่งรายละเอียดหลัก ๆ มีทั้งหมด 7 ข้อ นายษิทราเป็นผู้เขียนและพิมพ์เดวิดสามีคุณอ้อยและคุณน้อยทีแรกไม่ผิดสังเกต กระทั่งมาเกิดปัญหาเมื่อมีการร่างพินัยกรรมฉบับที่ 2 ซึ่งเป็นฉบับใหม่ทำกันที่ บ้านชีวา ลงวันที่ 7 ส.ค. 2566 โดยรายการเที่ยงวันทันเหตุการณ์ เคยเปิดเผยรายละเอียดเนื้อหาพินัยกรรมของมาดามอ้อย 3 ฉบับ ไว้ดังนี้
ฉบับที่ 1 เอกสาร 7 ข้อ ความยาว 2 หน้า ระบุเนื้อหา ยกทรัพย์สินให้ลูกชายที่ต่างประเทศคนเดียว วันที่ทำ 9 เม.ย.65 สถานทีทำ : บริษัท ษิทรา ลอว์เฟิร์ม พยาน : สามีมาดามอ้อย / น้อย เลขาฯ
ฉบับที่ 2 เอกสาร 7 ข้อ ความยาว 2 หน้า ระบุเนื้อหา ยกทรัพย์สินให้ลูกชายที่ต่างประเทศคนเดียว และให้นายษิทราเป็นผู้จัดการมรดก วันที่ทำ 7 ส.ค.66 เขียนและพิมพ์โดย : นายษิทรา สถานที่ทำ : บ้านมาดามอ้อย อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
ฉบับที่ 3 พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง วันที่ทำ : ต้นปี 67 สถานที่ทำ : ที่ว่าการอำเภอ พยาน : เจ้าหน้าที่รัฐ
พิรุธของพินัยกรรมดังกล่าวที่ถูกตั้งข้อสังเกต คือ เนื้อหาแก้ไขจากฉบับแรก ซึ่งพินัยกรรมมีปัญหารายละเอียดสำคัญว่า สินทรัพย์ที่อยู่ต่างประเทศให้ลูกชายคนเดียว “แต่ทนายตั้มเป็นผู้จัดการมรดก”
นอกจากนี้ เจ๊อ้อยและน้อยที่เป็นเลขาฯ พบหลังจกาที่ทำพินัยกรรมฉบับ 2 ทนายตั้มแสดงพฤติกรรมผิดแปลกไปจากเดิม โดยชอบชักชวนพี่อ้อยไปเที่ยวที่ห่างไกล บางสถานที่เป็นจุดอับสัญญาณ ประกอบกับมีกรณีแอบติดจีพีเอส (GPS) ติดตามที่รถเบนซ์ของเศรษฐีนี ประเด็นจึงลากยาวมาถึงการที่ ทนายเดาชา กิตติวิทยานันท์ เพื่อนนักกฎหมายออกมามองว่า หากข้อเท็จจริงปรากฎมีการแอบติดจีพีเอสจริง ก็จะเข้าข่ายข้อหาพยายามฆ่าได้ทันที ส่วนเรื่องพินัยกรรมทนายตั้มยอมรับกับ ทนายสายหยุด แพ้บุญชูแล้วว่า “ทำจริง” แต่ยกเลิกพินัยกรรมเหล่านั้นแล้ว
ทั้งนี้ เว็บไซต์ผู้จัดการยืนยันต้นปี 2567 เจ๊อ้อยตัดสินใจ “ยกเลิกพินัยกรรม” กับทนายตั้มทุกฉบับ พร้อมกับที่เปลี่ยนไปทำพินัยกรรมฝ่ายเมืองซึ่งเป็นตัวที่ 3 จัดทำและลงนามกันที่อำเภอ มีเจ้าหน้าที่รัฐลงนามรับรองพยาน.
อ่านข่าวเพิ่มเติม
- สนธิ เดือดตั้ม คืนพี่อ้อย 130 ล้าน หาจากไหน แฉนรกแตก ทนายหวังฮุบมรดก
- เดชา เผยปม GPS ทนายตั้มแอบติดจริง แจ้งพยายามฆ่าได้ทันที
- ปานเทพ เชื่อ ทนายตั้ม หลุดยากคดีสูบเจ๊อ้อย ปม 39 ล้าน แย้มแบ่งใครบ้าง