ข่าวการเมือง

‘โรม’ ชี้พิรุธ ‘ทักษิณ’ นอนโรงพยาบาลชั้น 14 หมอดูอาการแค่ 4 นาที

รังสิมันต์ โรม ชี้พิรุธ ทักษิณ นอนโรงพยาบาลชั้น 14 หมดดูอาการแค่ 4 นาที เผยที่ประชุมเห็นตรงกันประเด็นนี้เป็นเรื่องน่าสงสัย

นาย รังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธาน กมธ.ความมั่นคงของรัฐ กิจการชายแดนไทยยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมกรรมาธิการในข้อเท็จจริงด้านกระบวนการยุติธรรมที่นายทักษิณชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจชั้น 14 เป็นปี ว่า ในกรอบการพิจารณา ประการแรกคือการพักรักษาตัวของนายทักษิณ ที่ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจเป็นการไปพักที่ชอบหรือไม่ และเมื่อไปพักแล้ว การอยู่รักษาตัวระยะยาว สุดท้ายเป็นการจัดสินใจของใคร ถูกต้องทั้งในทางการแพทย์และกฎหมายหรือไม่ และสุดท้ายสิ่งที่จะเกิดตามมาคือมีความชอบด้วยกฎหมายอะไรบ้าง

Advertisements

ในประเด็นที่ 1 และ 2 มีปัญหาค่อนข้างมากในการพิจารณา การที่นายทักษิณ มีอาการแน่นหน้าอก ไปที่สถานพยาบาล ตนได้รับข้อมูลว่าคนที่มาดูอาการเป็นเพียงพยาบาลเท่านั้น ยังไม่ถูกนำตัวไปที่โรงพยาบาลเลย เป็นเพียงแค่พยาบาลที่อยู่ที่สถานพยาบาล โทรไปหาหมอที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์เพื่อปรึกษา และส่งตัวไปที่โรงพยาบาลตำรวจ ซึ่งการโทรไปในลักษณะดังกล่าว ตนก็ไม่เคยทราบมาก่อน พยายามจะตรวจสอบว่าเป็นกระบวนการปกติหรือไม่ เพราะไม่ใช่แค่กรณีของนายทักษิณคนเดียว ยังมีอีกหลายกรณีที่อาจจะเจ็บป่วยไม่สบาย และต้องการเข้าถึงการรักษาที่ฉุกเฉินแบบนี้ ซึ่งเราก็ไม่ได้คำตอบที่ชัดเจน

ประเด็นดังกล่าว มีสิ่งที่ต้องพิจารณาต่อ คือ ช่วงเวลาตั้งแต่ที่นายทักษิณ ถึงสถานพยาบาล จนพิจารณาโดยพยาบาล ที่หารือกับหมอ ส่งตัวนายทักษิณ ไปที่โรงพยาบาลตำรวจ จากข้อมูลที่เราได้รับ ใช้เวลาแค่ 21 นาทีเพียงเท่านั้น จากที่เราจับระยะทางจากโรงพยาบาลราชทัณฑ์ไปโรงพยาบาลตำรวจ ใช้เวลา 17 นาที นั่นหมายความว่า ระยะเวลาในการวินิจฉัยนายทักษิณ มีแค่ 4 นาที ถือว่าทำระยะเวลาได้ค่อนข้างเร็วมาก นี่เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ทำให้เกิดคำถามมากมาย และเราได้รับคำอธิบายว่ามีการส่งตัวนายทักษิณ ดำเนินการโดย ผบ.เรือนจำ เป็นเรื่องที่ค่อนข้างแปลกว่าทำไมบทบาทของหมอโรงพยาบาลราชทัณฑ์น้อยมาก ในการที่จะให้ความเห็นเรื่องนี้

สุดท้ายก็เป็นเรื่องโยนกันไปโยนกันมา แน่นอนว่าวันนี้เราไม่มีตัวแทนจากโรงพยาบาลตำรวจ หลายท่านอ้างติดภาระกิจ เราเองได้ติดตามข่าวสารและทราบว่ามีรองนายแพทย์ใหญ่ รพ.ตร. ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าการที่นายทักษิณ รักษาตัว ไม่ใช่การตัดสินใจของ รพ.ตร.แต่เป็นของกรมราชทัณฑ์ ซึ่งเราก็ได้คำตอบจากราชทัณฑ์ว่า เป็นการตัดสินใจจากหมอเจ้าของไข้ ซึ่งเราก็พยายามตรวจสอบแต่ไม่ได้รับคำตอบเลย จนไม่แน่ใจว่าการที่นายทักษิณ รักษาตัวที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ เป็นการตัดสินใจของใคร ไม่มีใครยืนยันกับเราได้

หากสองกรณีไม่ได้ข้อยุติ ก็จะถูกตั้งคำถามว่านายทักษิณป่วยจริงหรือไม่ หากไม่ป่วยจริง ความรับผิดชอบจะไม่ได้อยู่เพียงราชการ แต่นายทักษิณอาจจะเกี่ยวข้อง กับการแสดงบทบาทให้หลงเชื่อบางอย่าง ว่าตัวเองเจ็บป่วย และส่งผลต่อการตัดสินใจของเจ้าหน้าที่ ที่จะส่งตัวไปโรงพยาบาลตำรวจ การที่นายทักษิณ ไปอยู่ที่โรงพยาบาลตำรวจ เป็นการอยู่ที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นสิ่งที่เราต้องแสวงหาข้อเท็จจริงต่อไป ทั้งนี้เราได้รับข้อมูลจากเลขานุการ กมธ. ปกติการไปรักษาตัวในห้องพิเศษมีค่าใช้จ่าย วันละ 8,500 บาท เมื่อคำนวนแล้วค่าใช้จ่ายจะเกิน 1 ล้านบาท จึงมีคำถามว่าสรุปแล้วใครจ่าย ซึ่งเราก็ไม่ได้คำตอบ

แต่สิ่งหนึ่งที่ปรากฎชัดในที่ประชุม คือเรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าสงสัย เป็นเรื่องที่มีพิรุธและเป็นเรื่องที่ตลอดการทำหน้าที่ของประธาน กมธ. 53 ครั้ง นี่เป็นครั้งที่ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการน้อยที่สุด และหน่วยงานราชการไม่อยากจะตอบอะไร ทำให้ความสงสัยของสังคมกรณีชั้น 14 ก็คงจะต้องมีอยู่ต่อไป ส่วนจะเชิญใครในครั้งหน้านั้น ระบุว่ายังไม่ได้ตัดสินใจ ช่วงนี้ปิดสมัยประชุม คงไม่ได้ประชุมทุกสัปดาห์ เบื้องต้นยังมีอีกหลายหน่วยงาน ที่ กมธ.เห็นน่าจะมีการพูดคุย ทาง กมธ.ก็ยืนยันว่า มีความจำเป็นที่จะหาข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ต่อไป ตนเชื่อว่าศรัทธาและความเชื่อมั่นของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรมเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ทุกฝ่ายต้องมีส่วนช่วยให้กระบวนการยุติธรรมของเราได้รับความเชื่อมั่นอย่างมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จึงเป็นที่เคลือบแคลงถึงกระบวนการว่าทำไมเป็นอย่างนั้น

Advertisements

ในประเด็นแรกและประเด็นที่สองมีปัญหามากที่สุด ในการที่นายทักษิณป่วยและมีอาการแน่นหน้าอกไปสถานพยาบาลปรากฏว่าข้อมูลที่ได้รับทราบที่ปรากฏในที่สาธารณะอยู่แล้ว ปรากฏว่าคู่สุดท้ายคนที่มาดูสุขภาพของนายทักษิณเป็นแค่เพียงพยาบาลเท่านั้นไม่ได้ถูกนำตัวที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์และคุณหมอของโรงพยาบาลราชทัณฑ์ก็ไม่ได้มีโอกาสมาดูด้วยตาหรือใช้เครื่องมือในการดูสุขภาพของนายทักษิณเลย เป็นความเคลือบแคลงและมีการมองปัญหาของโรงพยาบาลราชทัณฑ์ การโทรไปในลักษณะดังกล่าวที่โรงพยาบาลตำรวจก็ไม่เคยทราบมาก่อนที่จึงพยายามที่จะตรวจสอบว่าเป็นแนวทางปกติหรือไม่ เพราะไม่ใช่แค่กรณีของนายทักษิณ ยังมีอีกหลายคนที่เจ็บป่วย และต้องการข้อมูลในทางการแพทย์ที่ต้องการในการผ่าตัดตัดเย็บแต่ก็ยังไม่ได้ข้อมูลข้อมูลที่ชัดเจน

ระยะเวลาตั้งแต่นายทักษิณ ไปถึงสถานพยาบาลและนำพิจารณา โดยพยาบาลและคุณหมอและส่งที่โรงพยาบาลตำรวจจากข้อมูลที่ได้รับรู้มันจะใช้เวลาแค่ 21 นาทีเท่านั้นจริงๆแล้วระยะเวลาในการส่งตัว 17 นาทีระยะเวลาในการวินิจฉัยว่านายทักษิณควรได้รับการปฎิบัติแบบนี้มีเพียง 4 นาทีเท่านั้น ถือเป็นอวัยวะที่รวดเร็วมากจึงเป็นเพราะประเด็นที่น่าสนใจมากการส่งตัวนายทักษิณที่โรงพยาบาลตำรวจดำเนินการโดยผู้บัญชาการทางเรือนจำซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างแปลกว่าทำไมบทบาทของหมอโดยเฉพาะหมอโรงพยาบาลราชทัณฑ์จึงดูน้อยมาก สุดท้ายเป็นเรื่องที่ต้องโยนกันไปมาระหว่างโรงพยาบาลราชทัณฑ์และโรงพยาบาลตำรวจ

ทางคณะกรรมาธิการได้ติดตามข่าวศาลมีนายแพทย์ใหญ่ของโรงพยาบาลตำรวจได้ออกมาให้สัมภาษณ์กับเสือว่าการที่นายทักษิณจะมารักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจไม่ใช่การตัดสินใจของโรงพยาบาลตำรวจเองแต่เป็นการตัดสินใจของกรมราชทัณฑ์ ซึ่งแท้จริงแล้วการตัดสินใจของหมอเจ้าของคนไข้ แต่ไม่มีใครทราบว่าหมอเจ้าของคนไข้นั้นคือใคร จึงไม่มีใครสามารถที่จะยืนยันสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ตกลงแล้วนายทักษิณ ป่วยจริงหรือไม่ หากไม่ได้ป่วยจริง ก็อาจจะมีส่วนในการตัดสินใจด้วย เพราะรับผิดชอบไม่ได้อยู่แค่เฉพาะหน่วยงานราชการ แต่หมายความว่านายทักษิณ อาจจะเกี่ยวข้องกับการแสดงบทบาท เพื่อให้เกิดความเชื่อว่าตัวเองเจ็บป่วยและทำให้ผลของการตัดสินใจเจ้าหน้าที่รัฐก็ส่งไปที่โรงพยาบาลตำรวจ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Nateetorn S.

ทำงานกับ Thaiger มาตั้งแต่ปี 2020 จบการศึกษาจากคณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสคร์ เคยทำงานกับสถานีโทรทัศน์อันดับ 1 ของประเทศ ทำให้มีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญ เจาะประเด็นข่าวการเมืองอาชญากรรม ข่าวแปลกๆ เรื่องน่าสนใจจากต่างประเทศ ช่องทางติดต่อ tee@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button