การเงินเศรษฐกิจ

เงินสมทบประกันสังคม เดือนตุลาคม 2567 ม.33 ม.39 ม.40 จ่ายกี่บาท

สำนักงานประกันสังคม อัปเดตการจ่ายเงินสมทบประกันสังคม ม.33, ม.39 และ ม.40 ประจำเดือนตุลาคม 2567 ต้องจ่ายเงินเท่าไหร่ รวมรายละเอียดและวิธีคิดไว้แล้วที่นี่

สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ประกาศเงินสมทบประกันสังคม ประจำเดือนตุลาคม 2567 สำหรับผู้ประกันตน มาตรา 33, 39 และ 40 ทีมงาน The Thaiger ได้รวบรวมรายละเอียด ตัวอย่างการคิดคำนวณเงินเดือน และสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับในกรณีต่าง ๆ มาให้ครบถ้วน ดังนี้

Advertisements

ประกันสังคมเดือนตุลาคม 2567 ต้องจ่ายกี่บาท

ผู้ประกันตน มาตรา 33

ประกันสังคมสำหรับพนักงานหรือลูกจ้างประจำ ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ที่อยู่ในระบบประกันสังคมมาตรา 33 ต้องจ่ายเงินสมทบเป็นจำนวน 5% ของรายได้ต่อเดือน คิดจากฐานค่าจ้างต่ำสุด 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

นายจ้างและลูกจ้าง จ่ายฝ่ายละ 5% หากใครมีเงินเดือน 15,000 บาทขึ้นไป ต้องจ่ายเงินสมทบ 750 บาทต่อเดือน ทั้งนี้ เมื่อรวมเงินสมทบประกันสังคมที่จ่ายทั้งหมดตลอด 12 เดือน ผู้ที่มีเงินเดือนมากกว่า 15,000 บาท จ่ายเงินสมทบรวมทั้งหมด 9,000 บาท

ตัวอย่างการคิด เงินสมทบประกันสังคม ม.33

  • พนักงานเงินเดือน 12,000 บาท/เดือน
  • ผู้ประกันตนจ่าย 12,000 x 5% = 600 บาท
  • นายจ้างจ่าย 12,000 x 5% = 600 บาท
  • รัฐบาลจ่าย 12,000 x 2.75% = 330 บาท

ผู้ประกันตน มาตรา 39

ส่วนผู้ประกันตน มาตรา 39 หรือผู้ที่เคยทำงานในบริษัทเอกชน และลาออกมาแล้ว แต่ยังคงรักษาสิทธิประกันสังคมไว้ ต้องจ่ายเงินสมทบเดือนตุลาคม 2567 เป็นจำนวนเงิน 432 บาท

เมื่อรวมจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนมาตรา 39 นำส่งประกันสังคมตลอดปี เป็นวงเงินทั้งสิ้น 5,184 บาท

Advertisements

ตัวอย่างการคิด เงินสมทบประกันสังคม ม.39

ฐานเงินเดือนที่ใช้คำนวณเงินสมทบ คือ 4,800 บาท คิดเป็นอัตราเงินสมทบ 9% (4,800 บาท x 9% = 432 บาท)

ผู้ประกันตน มาตรา 40

สำหรับผู้ประกันตน มาตรา 40 ผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ ฟรีแลนซ์ หรือแรงงานนอกระบบ ที่มีอายุ 15 – 65 ปี โดยต้องไม่เป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ 39 มีวิธีเลือกส่งเงินสมทบทั้งหมด 3 วิธี ดังนี้

  • ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินในอัตรา 70 บาท/เดือน

สำหรับทางเลือกที่ 1 ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนและคุ้มครองทั้งหมด 3 กรณี ได้แก่ กรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย, ทุพพลภาพ ตาย และเสียชีวิต ทั้งนี้ หากส่งเงินครบ 12 เดือน จะมีเงินสมทบไปทั้งหมด 840 บาท

  • ทางเลือกที่ 2 จ่าบเงินในอัตรา 100 บาท/เดือน

ส่วนทางเลือกที่ 2 เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนจะได้รับสิทธิรับประโยชน์ 4 กรณี ในกรณีที่ประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย และชราภาพ ถ้าจ่ายครบ 12 เดือน เท่ากับว่าในปี 2566 จะมีเงินนสมทบไปทั้งหมด 1,200 บาท

  • ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินในอัตรา 300 บาท/เดือน

ทางเลือกสุดท้าย หากผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนจะสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน รวม 5 กรณี กรณีเกิดประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ชราภาพ และสงเคราะห์บุตร และหากส่งเงินครบ 12 เดือน จะมีเงินนสมทบรวมไปทั้งหมด 3,600 บาท

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

sukanlaya s.

นักเขียนบทความ SEO ประจำเว็บไซต์ The Thaiger จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชี่ยวชาญงานเขียนประเภท ข่าวกระแสสังคม และบทความไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะเป็น รีวิวที่เที่ยว เทรนด์แฟชั่นและความงาม พร้อมแนะนำกระแสมาแรง ทันเหตุการณ์ ช่องทางติดต่อ ying@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button