พม. แจงกลุ่มเปราะบางทำบัตรผู้พิการหลัง 31 สิงหาคม 2567 ชวดสิทธิรับเงินดิจิทัล 10,000 บาทจริงหรือไม่ ส่วนคนทั่วไปหากเงินไม่เข้าแก้ได้อย่างไร?
วานนี้ (25 ก.ย.) เป็นวันแรกที่ภาครัฐบาลเริ่มแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทในกลุ่มเปราะบาง-พิการ มีรายงานว่าประชาชนหลายท่านยังไม่ได้รับเงินโอนเข้าบัญชีที่ผูกพร้อมเพย์ในหลายธนาคารจึงเกิดกระแสแชร์ข่าวว่ากลุ่มผู้พิการที่พึ่งทำบัตรผู้พิการหลังวันที่ 31 ส.ค. 67 จะไม่ได้รับสิทธิ์เงินดิจิทัลดังกล่าว
ล่าสุด สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ชี้แจงโดยยืนยันกรณีดังกล่าวไม่เป็นความจริง เนื่องจากก่อนหน้านี้ ครม. มีมติเห็นชอบแจกเงินในกลุ่มเปราะบางเป็นกลุ่มแรก ภาครัฐจึงขยายเวลาลงทะเบียนให้กับคนพิการทุกคนทั่วประเทศ ไปจนถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2567 ทำให้คนที่ลงหลัง 31 ส.ค. ยังสามารถเรื่องลงทะเบียนได้จนถึงวันเวลาที่กำหนดได้ตามเดิม
อย่างไรก็ตาม ประชาชนที่ลงทะเบียนไปแล้วแต่เงินยังไม่เข้าบัญชีพร้อมเพย์ เบื้องต้นปัญหาดังกล่าวอาจมาจาก 3 สาเหตุหลักเรื่องการยืนยันตัวตนในบัญชีธนาคารซึ่งมีข้อมูลและวิธีแก้ไข้เบื้องต้นตามดังนี้
- ต้องผูกพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชนก่อนกำหนดโอนเงิน เช่น หากกำหนดการโอนเงินในวันที่ 25 ก.ย. 67 ต้องผูกพร้อมเพย์ก่อนวันที่ 22 ก.ย. 67 ทำให้เราต้องรอรัฐบาลโอนเงินซ้ำ
2. ไม่ได้ยืนยันตัวตน e-kyc : ผู้ที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติการถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ต้องยืนยันตัวตน e-kyc ณ ธนาคารกรุงไทยเท่านั้น สำหรับผู้ที่มายืนยันตัวตนด้วยตัวเอง ใช้หลักฐานคือ บัตรประจำตัวประชาชน สำหรับกรณีมอบอำนาจจากผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเดินทางมายืนยันตัวตนที่ธนาคารเองได้ จะมีใช้เอกสาร ดังนี้
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ลงทะเบียน
- หนังสือมอบอำนาจ สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ
- สำเนาบัตรประจำตัวคนพิการหรือใบรับรองแพทย์ (ถ้ามี)
3. ผูกพร้อมเพย์แล้วยืนยันตัวตน e-kyc หลังวันที่ 31 ส.ค. 67 แต่ยังไม่ได้รับเงิน : กรณีนี้ต้องรอรับเงินดิจิทัลวอลเล็ตรอบโอนซ้ำเท่านั้น เนื่องจากมีเงื่อนไขคนที่จะได้เงินดิจิทัลในงวดเดือนกันยายนจะต้องเป็นคนที่ยืนยันตัวตน e-kyc ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2567
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง