สุขภาพและการแพทย์

รู้จัก “โรคมะเร็งอัณฑะ” ภัยเงียบชายไทย แม้ไม่รุนแรง แต่กระทบใจ

ทำความรู้จัก “มะเร็งอัณฑะ” โรคที่พบมากในชายไทย ช่วงอายุ 15-35 ปี อาการรุนแรงต่ำ สามารถรักษาให้หายได้ แม้จะอยู่ในระยะที่โรคแพร่กระจายเชื้อ

มะเร็งอัณฑะ โรคที่ไม่ติด 1 ใน 10 ของมะเร็งที่พบบ่อยของชายไทย รวมถึงยังพบได้น้อยประมาณ 2% ของมะเร็งทั้งหมด อาจฟังดูน่ากลัวไม่แพ้มะเร็งอื่น ๆ แต่โรคนี้ความรุนแรงจัดว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำ สามารถรักษาให้หายขาดได้ แม้จะอยู่ในระยะที่โรคแพร่กระจายเข้ากระแสโลหิตแล้วก็ตาม ขึ้นอยู่กับขนาดก้อนมะเร็งที่ตรวจพบ อายุ และสุขภาพของผู้ป่วย ถึงกระนั้นก็อาจจะส่งผลกระทบต่อจิตใจคุณผู้ชายไม่ใช่น้อย ลองไปทำความรู้จักและวิธีการรักษา พร้อมตรวจเช็คอาการของโรคในบทความนี้

Advertisements

โรคมะเร็งอัณฑะ

ลูกอัณฑะประกอบด้วยเซลล์หลายประเภท ซึ่งแต่ละเซลล์สามารถพัฒนาเป็นมะเร็งได้ตั้งแต่หนึ่งชนิดขึ้นไป สิ่งสำคัญคือต้องทราบประเภทของเซลล์ที่เป็นมะเร็งและชนิดของมะเร็ง เพราะมันแตกต่างกันในวิธีการรักษาและการพยากรณ์โรค ( แนวโน้ม )
มะเร็งอัณฑะมากกว่า 90% เริ่มต้นในเซลล์ที่เรียกว่าเซลล์สืบพันธุ์ เป็นเซลล์ที่สร้างสเปิร์ม ประเภทหลักของเนื้องอกเซลล์สืบพันธุ์ (GCTs) ในอัณฑะ คือ Seminomas , Non-seminomas และ Teratoma (ลูกผสม)

จากนั้นของเหลวนี้จะเข้าสู่ท่อปัสสาวะ ซึ่งเป็นท่อที่อยู่ตรงกลางขององคชาต ซึ่งทั้งน้ำปัสสาวะและน้ำอสุจิออกจากร่างกายทางท่อนี้

สำหรับมะเร็งอัณฑะ ถือว่าเป็นโรคที่พบได้น้อยประมาณ 2% ของมะเร็งทั่วไปและอาการของมะเร็งอัณฑะนั้นยังรุนแรงต่ำ รวมไปถึงยังสามารถรักษาให้หายได้ แม้จะอยู่ในระยะที่โรคแพร่กระจายเข้ากระแสโลหิต

มีโอกาสเป็นได้ทั้งด้านซ้ายและขวา หรือทั้ง 2 ด้านเท่า ๆ กัน แต่ส่วนใหญ่มักเกิดเพียงด้านเดียว และพบบ่อยในช่วงอายุ 15 – 35 ปี ทำให้ผู้ป่วยเกิดความวิตกว่าจะส่งผลถึงสมรรถภาพทางเพศ

มะเร็งอัณฑะมีโอกาสเป็นได้ทั้งด้านซ้ายและขวา หรือทั้ง 2 ด้านเท่า ๆ กัน แต่ส่วนใหญ่มักเกิดเพียงด้านเดียว และพบบ่อยในช่วงอายุ 15 – 35 ปี ทำให้ผู้ป่วยเกิดความวิตกว่าจะส่งผลถึงสมรรถภาพทางเพศ

Advertisements

อาการของมะเร็งอัณฑะ

  • มีการคลำพบก้อนเนื้อในลูกอัณฑะ
  • ลูกอัณฑะมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือบวมขึ้น แต่ไม่มีความรู้สึกเจ็บ ซึ่งลักษณะการบวมจะบวมคล้าย ๆ มีน้ำอยู่ในอัณฑะ
  • มีอาการปวดหน่วง ๆ บริเวณขาหนีบหรือท้องนอน
  • รู้สึกปวดขัดหรือไม่สบายภายในอัณฑะ
  • ความต้องการทางเพศลดลง

ถ้าหาก มะเร็งอัณฑะ มีการแพร่กระจายเข้าสู่อวัยวะต่าง ในร่างกาย อาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีอการ ปวดหลังส่วนล่าง หรือปวดท้อง ปวดศีรษะ รู้สึกมึนงง เจ็บแปลบ ชา หรืออ่อนแรงบริเวณต้นขา หายใจลำบาก ไอ และแน่นหน้าอก

ถ้าหาก มะเร็งอัณฑะ มีการแพร่กระจายเข้าสู่อวัยวะต่าง ในร่างกาย อาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีอการ ปวดหลังส่วนล่าง หรือปวดท้อง ปวดศีรษะ รู้สึกมึนงง เจ็บแปลบ ชา หรืออ่อนแรงบริเวณต้นขา หายใจลำบาก ไอ และแน่นหน้าอก

กลุ่มเสี่ยงมะเร็งอัณฑะ

  • พบบ่อยในผู้ชายช่วงอายุ 15 – 35 ปี
  • ผู้ชายที่เป็นหมันแต่กำเนิด
  • ผู้ที่มีอัณฑะฝ่อ
  • ชายผิวขาวมีโอกาศเป็นมากกว่าชายผิวดี
  • ผู้ที่เคยบาดเจ็บหรือมีการอักเสบบริเวณอัณฑะ จากสาเหตุต่าง ๆ
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันโรคบกพร่อง เช่น การติดเชื้อไวรัสเอชไอวี
  • เพศชายที่อัณฑะไม่เคลื่อนลงมาอยู่ในถุงอัณฑะ พบว่ามีโอกาสเป็นมะเร็งอัณฑะมากขึ้นประมาณ 10 -40 %
  • โครโมโซม (Chromosome) คู่ที่ 1 หรือคู่ที่ 12 ผิดปกติ

การป้องกัน

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันและตรวจคัดกรองมะเร็งอัณฑะตั้งแต่เริ่มต้น ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือการเฝ้าสังเกตลองคลำหาความผิดปกติที่ลูกอัณฑะให้เป็นประจำ จะสามารถบอกความผิดปกติได้ทันที เมื่อเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง

การตรวจอัณฑะด้วยตนเองเดือนละครั้ง เมื่ออยู่ในวัยเจริญพันธุ์ เพื่อคัดกรองโรคมะเร็งอัณฑะได้ตั้งแต่ระยะแรก โดยเฉพาะในผู้มีปัจจัยเสี่ยง การตรวจอัณฑะที่ดีที่สุดควรทำเมื่อถุงอัณฑะอยู่ในสภาวะผ่อนคลาย เช่น หลังจากการอาบน้ำอุ่น

การตรวจอัณฑะด้วยตนเอง

การตรวจอัณฑะด้วยตนเองเดือนละครั้ง เมื่ออยู่ในวัยเจริญพันธุ์ เพื่อคัดกรองโรคมะเร็งอัณฑะได้ตั้งแต่ระยะแรก โดยเฉพาะในผู้มีปัจจัยเสี่ยง การตรวจอัณฑะที่ดีที่สุดควรทำเมื่อถุงอัณฑะอยู่ในสภาวะผ่อนคลาย เช่น หลังจากการอาบน้ำอุ่น

ขณะตรวจควรจับองคชาติออกไป จากนั้นค่อย ๆ ใช้นิ้วโป้งและนิ้วอื่น ๆ ไล่คลำบริเวณอัณฑะทั้ง 2 ข้าง เพื่อดูว่ามีก้อนเนื้อหรือไม่อย่างไรก็ตามถือเป็นเรื่องปกติ หากพบว่าอัณฑะทั้ง 2 ข้างมีขนาดต่างกัน อยู่ในระดับไม่เท่ากัน และอาจพบรอยนูนเล็ก ๆ ที่ด้านนอกของอัณฑะส่วนบนและส่วนกลาง หรือสามารถปรึกษาแพทย์หากมีอาการดังกล่าว ด้วยการตรวจอัลตราซาวด์บริเวณถุงอัณฑะ แพทย์จะไม่มีการตัดชิ้นเนื้อออกมาพิสูจน์อย่างเด็ดขาด เนื่องจากการผ่าตัดจะต้องทำโดยผ่านถุงอัณฑะ ซึ่งจะยิ่งทำให้มะเร็งลุกลามเข้าถุงอัณฑะได้ ส่งผลให้การรักษาซับซ้อนและยุ่งยากมากขึ้น

ระยะของโรคมะเร็งอัณฑะ

แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

  • ระยะที่ 1 มะเร็งเกิดขึ้นเฉพาะในอัณฑะ ยังไม่ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง ซึ่งมีโอกาสรักษาหายได้สูงถึง 90 – 100%
  • ระยะที่ 2 มะเร็งลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองบริเวณช่องท้อง โอกาสรักษาหายได้ ประมาณ 80 – 90%
  • ระยะที่ 3 มะเร็งลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองบริเวณช่องท้อง รวมทั้งมีสารมะเร็งปริมาณสูงในเลือด ซึ่งมักแพร่กระจายมักเข้าสู่สมองและปอด ยังมีโอกาสรักษาหายประมาณ 50 – 70%

ระยะของโรคมะเร็งอัณฑะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ

การรักษา

การรักษามะเร็งอัณฑะขึ้นอยู่กับชนิดและระยะของมะเร็งเป็นหลัก

  • การผ่าตัด ซึ่งเป็นการผ่าตัดเฉพาะอัณฑะข้างที่เป็นโรคเท่านั้น โดยแพทย์มีการประเมินเซลล์มะเร็งและระยะของโรค รวมถึงสุขภาพของผู้ป่วย เพื่อให้การรักษาต่อเนื่อง
  • รักษาด้วยรังสี อาจทำการฉายรังสีต่อมน้ำเหลืองบริเวณช่องท้อง ช่องอก หรือบริเวณที่มะเร็งแพร่กระจาย
  • เคมีบำบัด หลังจากผ่าตัดแล้ว แพทย์อาจพิจารณาให้ใช้เคมีบำบัดต่อเนื่อง หรือทำพร้อมกับการรักษาด้วยรังสี

อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยดื้อต่อรังสีรักษาหรือยาเคมีบำบัด ส่งผลให้รักษาไม่หายอยู่ที่ประมาณ 5 – 10%

การรักษามะเร็งอัณฑะ อาจมีผลข้างเคียง โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง รวมถึงในผู้สูงอายุ

ผลข้างเคียงจากการรักษา

การรักษามะเร็งอัณฑะ อาจมีผลข้างเคียง โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง รวมถึงในผู้สูงอายุ เช่น

  • จากการผ่าตัด อาจสูญเสียอัณฑะ แผลผ่าตัดติดเชื้อ หรือผลจากการดมยาสลบ
  • รักษาด้วยรังสี อาจมีผลข้างเคียงกับผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อบริเวณที่ได้รับการฉายรังสี
  • เคมีบำบัด ผลข้างเคียงที่พบบ่อยคือ ผมร่วง คลื่นไส้ อาเจียน และภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

แม้มะเร็งอัณฑะจะถูกพบได้น้อยและความรุนแรงของโรคนั้นค่อนข้างต่ำ แต่ก็ถือว่าเป็นโรคใกล้ตัวที่เราควรเฝ้าสังเกตอาการของตัวเอง หากพบก้อนเนื้อหรือสิ่งผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาที่ถูกต้องในทันที

แม้มะเร็งอัณฑะจะถูฏพบได้น้อย และความรุนแรงของโรคนั้นค่อนข้างต่ำ แต่ก็ถือว่าเป็นโรคใกล้ตัวที่เราควรเฝ้าสังเกตอาการของตัวเอง หากพบก้อนเนื้อหรือสิ่งผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาที่ถูกต้องในทันที

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

somkiar

นักเขียนสายรีวิว ดีกรีแอดมินเพจ ชอบเล่าเรื่องผ่านตัวอักษร เนิร์ดหนังและซีรีส์ตัวพ่อ เอนจอยการถ่ายรูปและงานนิทรรศการ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button