เปิดของไหว้ต้องห้าม วันสารทจีน 2567 ผลไม้ความหมายไม่ดี ทำชีวิตอัปมงคล อย่าเผลอถวายผิด สาปแช่งคนในครอบครัวจนวิบัติ เช็กให้ชัวร์ก่อนบูชา
ของไหว้วันสารทจีน หลายคนอาจสงสัยว่ามีข้อห้ามอะไรเป็นพิเศษหรือไม่ คำตอบคือ สารทจีนไม่มีข้อห้ามที่เข้มงวดเหมือนประเพณีอื่น ๆ มากนัก เพราะสารทจีนเป็นเหมือนการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษ หรือที่เรียกว่า บุญทักษิณาน
สำหรับชาวจีนแต้จิ๋วจะให้ความสำคัญกับชื่อของสิ่งของเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนำมาใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา การไหว้บรรพบุรุษหรือไหว้เทพเจ้า อักษรจีนแต่ละตัวมีความหมายที่แตกต่างกัน แต่การออกเสียงอาจไปพ้องเสียงกับคำที่มีความหมายไม่ดี ชาวแต้จิ๋วจึงหลักเลี่ยงการใช้ของที่มืชื่อไม่เป็นมงคล ยกตัวอย่างผลไม้บางชนิดที่มือชื่อคล้ายกับคำที่มีความหมายถึงความตายหรือความเจ็บป่วย
ผลไม้ต้องห้าม สื่อความหมายอัปมงคล
มะม่วง (檨) ภาษาแต้จิ๋วเรียกว่า “ส่วย” พ้องกับซวย แต่ภายหลังไม่เคร่งเรื่องการไหว้มะม่วงเท่าไหร่ เพราะจีนกลางเรียกว่า “หมังโกว” จึงไม่พ้องกับความหมายที่ไม่ดี แต่คนจีนโพ้นทะเลที่ไม่ได้อัปเดตศัพท์ก็จะถือธรรมเนียมตามเดิม
สับปะรด (紅梨) ภาษาแต้จิ๋วเรียกว่า “อั่งไล้” แต้จิ๋วห้ามหรือไม่นิยม ผิดจากชาวฮกเกี้ยนที่นิยม ส่วนพ้องเสียงกับคำไหนไม่เป็นที่แน่ชัด เพราะเป็นการบอกกันปากต่อปาก จึงมีส่วนที่หลงลืมขาดหายไปบ้าง
สาลี่ (梨) ภาษาแต้จิ๋วเรียกว่า “ไล้” พ้องกับคำที่มีความหมายว่า มา แต่สาเหตุที่ห้ามเพราะพ้องกับสำนวน อิ่วไล้ (อีกแล้ว) คือถ้านำไปไหว้ผีที่ยังไม่ออกทุกข์หรือวิญญาณที่ยังตายไม่ครบ 3 ปี ความหมายเป็นการแช่งอ้อม ๆ ว่า เดี๋ยวจะมีการตายอีกแล้ว
ความเชื่อเรื่องสิ่งของต้องห้ามในภาษาแต้จิ๋วเป็นสิ่งที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา ผ่านคำบอกเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่ อาจแตกต่างกันไปในแต่ละครอบครัวและแต่ละท้องที่ หากถามว่าทำไมถึงห้ามแบบนี้ บางครั้งมักจะได้รับคำตอบว่า “ไม่รู้ เค้าบอกมาแบบนี้ ก็ทำตามมาแบบนี้” บางความเชื่อก็สูญหายไปตามกาลเวลาจากความหลงลืม แต่สิ่งที่แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนคือ ความพิถีพิถันในการเลือกของใหว้บนโต๊ะพิธี
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง