สุขภาพและการแพทย์

รู้จัก “ภาวะฮอร์โมนเพศหญิงต่ำ” ประจำเดือนมาไม่ปกติ เสี่ยงเกิดมะเร็ง

ทำความรู้จัก ภาวะฮอร์โมนเพศหญิงต่ำ (Hypogonadism) ความบกพร่องของฮอร์โมน ปัจจัยเสี่ยงโรคมะเร็งบางชนิด เช็กวิธีการดูแลรักษาร่างกาย ป้องกันอาการรุกลาม

ประจำเดือนมาไม่ปกติ เหงื่อออกตอนกลางคืน ช่องคลอดแห้งรู้สึกไม่สบายตัว อารมณ์แปรปรวนและหงุดหงิดง่าย มีความรู้สึกทางเพศน้อยลงหรือมากเกินไป ผมร่วงหรือบางลง น้ำหนักขึ้นง่ายและลดลงยาก กระดูกเปราะง่าย นอนหลับยาก มีปัญหาด้านความจำและสมาธิ หากคุณมีอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือน ภาวะฮอร์โมนเพศหญิงต่ำ หากพบอาการเหล่านี้หรือเกิดหลายอาการพร้อมกันต้องรีบรักษา

Advertisements

ภาวะฮอร์โมนเพศหญิงต่ำ “เคมีในร่างกาย” หรือ “นิสัยส่วนตัว”

ภาวะฮอร์โมนเพศหญิงต่ำ หรือ ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศหญิง หมายถึง ภาวะที่รังไข่ทำงานได้ไม่เต็มที่ ทำให้การผลิตเซลล์สืบพันธุ์ (ไข่) และฮอร์โมนเพศ (เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน) ลดลง

เนื่องจาก ฮอร์โมน (Hormone) ซึ่งเป็นสารเคมีที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ให้เป็นไปตามปกติ จะมาจากอวัยวะที่เรียกว่าต่อมไร้ท่อหลัก ๆ 8 อวัยวะ มีหน้าที่ทั้งการเผาผลาญ การเจริญเติบโต พัฒนาการเรื่องของเพศ รวมถึงกระดูกและข้อ ในปริมาณและหน้าที่ของฮอร์โมนแต่ละช่วงวัย ดังนั้น สัญญาณของภาวะฮอร์โมนผิดปกติก็จะขึ้นอยู่กับว่ามาจากฮอร์โมนประเภทไหน

สำหรับเพศหญิง ฮอร์โมนหลักที่สำคัญคือ ฮอร์โมเอสโตรเจน Estrogen ทำหน้าที่ควบคุมระบบสืมพันธุ์เพศหญิงซึ่งผลิตจากรังไข่เป็นส่วนใหญ่ และส่วนน้อยผลิดจากต่อมหมวกไตและเซลล์ไขมัน ส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติมโตทางเพศ ลักษณะของเพศหญิง การมีและหมดของประจำเดือน การตั้งครรภ์ หากมีมากเกินไปจะส่งผลต่ออารมณ์ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน ไขมันในเส้นเลือดและมะเร็งบางชนิด

นอกจากนี้ยังมีฮอร์โมนอีกหลายตัวได้แก่ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน Progesterone มีหน้าที่ควบคุมภาวะไข่ตกและการทำงานพื้นฐานของร่างกาย ฮอร์โมน Follicular stimulating Hormone (FSH) ส่งผลต่อการเจริญเติมโตทางเพศในวัยเจริญพันธุ์ และการสืบพันธุ์ ฮอร์โมน Lutienizing Hormone (LH) มีหน้าที่กระตุ้นรังไข่และส่งผลต่อความสามารถในการสืบพันธุ์

โครงสร้างของฮอร์โมนเพศหญิง เพื่ออธิบายภาวะฮอร์โมนเพศหญิงต่ำ
โครงสร้างฮอร์โมนเเอสโตรเจน

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะฮอร์โมนเพศหญิงต่ำ

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะฮอร์โมนเพศหญิงต่ำเกิดได้จากหลายปัจจัย ทั้งช่วงอายุที่เปลี่ยนไปในแต่ละช่วงอายุ ความเครียดสะสมจากการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวัน การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น การทานติดหวาน ทานชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การทานของทอด เป็นประจำ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นได้แก่ สารเคมีปนเปื้อนเข้าร่างกาย ซึ่งอาจเกิดจากสารฆ่าแมลงในผักและผลไม้ที่ทานเข้าไป ยาที่ใช้บางชนิด ควันบุหรี่ ควันรถ

Advertisements

วิธีดูแลสุขภาพให้หายจากภาวะฮอร์โมนเพศหญิงต่ำ

เมื่อเกิดภาวะฮอร์โมนเพศหญิงต่ำแล้ว สามารถดูแลรักษาสุขภาพร่างกายด้วยตนเอง เริ่มจากการปรับเปลี่ยนอาหารเเละพฤติกรรม ได้ง่าย ๆ ดังนี้

ทานอาหารและสมุนไพรที่เพิ่มฮอร์โมนเพศหญิง ปรับสมดุลฮอร์โมนให้คงที่ อาทิ

  1. น้ำมะพร้าว
  2. นมถั่วเหลือง
  3. งา
  4. แคตรอต
  5. ผักใบเขียว
  6. โฮลเกรน
  7. ลูกพรุน
  8. เมล็ดแฟล็กซ์
  9. องุ่น
  10. เต้าหู้เหลือง
  11. ตังกุยหรือโสมตังกุย
  12. สมุนไพรที่มีแคลเซียมสูง เช่น ยอดใบขี้เหล็ก ยอดสะเดา ผักคะน้า ผักแพว ตำลึง
  13. สมุนไพรบำรุงเลือด เช่น ฝาง

ผักและผลไม้ที่มีประโยนช์ต่อสุขภาพเมื่อเกิดภาวะฮอร์โมนเพศหญิงต่ำ

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง

  1. นอนหลับให้เพียงพอ
  2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
  3. ควบคุมน้ำหนักให้พอดีเกณฑ์
  4. ใช้ชีวิตตามนาฬิกาชีวิต รับแสงอาทิตย์ในทุก ๆ วัน เพราะแสงอาทิตย์เป็นตัวกระตุ้นฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย

สุดท้ายคือการเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียดและเข้ารับการรักษา เช่นการบำบัดด้วยการใช้ฮอร์โมนทดแทน หากพบอาการผิดปกติ ควรหาสาเหตุที่แท้จริง เพื่อรักษาและป้องกันได้อย่างทันถ้วงที โดยอาจสังเกตุจากอาการที่พบในแต่ละช่วงวัย ที่แตกต่างกัน

  • วัยเด็ก อาจพบอาการพัฒนาการช้า ตัวสูงช้า เรียนรู้ช้า
  • วัยรุ่น/วัยเรียน มีปัญหาสิงขึ้นเยอะมากเกินปกติ ประจำเดือนมาผิดปกติ มีปัญหาในการควบคุมอารมณ์
  • วัยทำงานหรือวัยกลางคน เช่น ปัญหาทางเพศ มีบุตรยาก เหนื่อยอ่อนเพลีย
  • วัยสูงอายุ หมดประจำเดือน ฮอร์โมนลดลง

การเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาภาวะฮอร์โมนเพศหญิงต่ำ

เมื่อรู้จักกับอาการของภาวะฮอร์โมนเพศหญิงต่ำแล้ว อย่าปล่อยปละละเลย ควรหมั่นดูแลสุขภาพร่างกายให้ดีอยู่เสมอ เพราะถ้าเกิดโรคขึ้นมาแล้วอาจต้องรักษากันไปอีกนาน

“อโรคยา ปรมาลาภา” ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง : วิกิพีเดีย Hypogonadism

Tad Yungton

จบการศึกษาคณะอักษรศาสตร์ เอเชียศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร นักเขียนสายมูเตลู และนักอ่านไพ่ทาโรต์ โหราศาสตร์ มีความสนใจด้านข่าวการเมือง ศิลปะวัฒนธรรม แฟชั่น และสายดูดวงมูเตลู งานเขียนเน้นเนื้อหาที่เข้าใจง่าย อ่านสนุก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button