หนูน้อย 7 ขวบ อ้วกเป็นเลือด หลังกินไอติม 3 แท่งรวด หมอเตือน เด็ก 3 กลุ่มเสี่ยง
หนูน้อยวัย 7 ขวบ อ้วกเป็นเลือด ซ้ำพบอาการเลือดออกในกระเพาะอาหาร หลังกินไอศกรีมรวดเดียว 3 แท่ง แพทย์ผู้เชียวชาญ เตือน เด็ก 3 กลุ่มเสี่ยง ไม่ควรกินของเย็น
ช่วงหน้าร้อนแบบนี้ ใคร ๆ ก็ชอบกินไอศกรีมคลายร้อน แต่คุณพ่อคุณแม่รู้หรือไม่ว่า ความสดชื่นเพียงครู่อาจทำลายสุขภาพของบุตรหลานของคุณได้ เพราะสำหรับเด็กบางคนแล้วของเย็น ๆ หรือเครื่องดื่มเย็น ๆ ถือเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงอย่างเด็ดขาด
เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา สื่อต่างประเทศ soha ได้รายงานถึงเหตุการณ์สุดสลดที่เกิดขึ้นกับ หนุ่มน้อย วัย 7 ขวบ ที่อาศัยอยู่ในเมืองฝูหยาง มณฑลอันฮุย ประเทศจีน ที่จู่ ๆ ก็ เกิดอาการเลือดออกในทางเดินอาหาร หลังจากทานไอศกรีมไป 3 แท่งรวด โดยในแรกเริ่มหนูน้อยอาเจียนเป็นเลือด ก่อนจะตามมาด้วยการถ่ายเป็นเลือด
หลังจากนำตัวส่งโรงพยาบาล หมอตรวจพบแผลในลำไส้เล็กส่วนต้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียเลือดอย่างรุนแรง แต้โชคดีที่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เด็กน้อยจึงพ้นขีดอันตรายในที่สุด
เรื่องราวที่เกิดขึ้นนี้ทำให้พ่อแม่หลาย ๆ คนเป็นกังวลเกี่ยวกับการให้ลูกกินไอศกรีม หรือเครื่องดื่มเย็น ๆ เหตุเพราะในวันที่อากาศร้อน เด็ก ๆ ที่เสียเหงื่อมากมักจะต้องการกินของเย็น ๆ แต่ หากปล่อยให้ลูกรับประทานของเย็นตามใจ จะส่งผลอันตรายต่อกระเพาะและลำไส้ของลูกหรือไม่
ข้อสงสัยที่ว่า เด็ก ๆ สามารถดื่มเครื่องดื่มเย็น และไอศกรีมได้ไหม ทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้คำตอบว่า สามารถกินได้ แต่ต้องอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม เพราะสำหรับในเคสที่เกิดขึ้นกับหนูน้อย 7 ขวบคนนี้ แม้ว่าในตอนแรก อาการเลือดออกในกระเพาะอาหารดูเหมือนจะเกิดจากการกินไอศกรีม แต่ในความเป็นจริงเด็กน้อยเคยมีประวัติการรักษาเกี่ยวกับแผลในลำไส้เล็กส่วนต้นมาก่อน จึงสรุปได้ว่าการกินไอศกรีมจำนวนมากไม่ใช้ต้นเหตุ เพียงแต่เป็นสาเหตุที่ทำให้อาการกลับมาทวีความุรนแรง
ดังนั้น สำหรับเด็กที่มีสุขภาพทางเดินอาหารแข็งแรงดี และไม่มีประวัติแพ้อาหาร หรือไม่มีโรคแทรกซ้อนใด ๆ ก็สามารถกินของเย็นได้ เพียงแต่จะต้องควบคุมปริมาณ เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
อย่างไรก็ดี มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความสามารถในการรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ เมื่อกินอาหารเย็น สมองส่วนไฮโปทาลามัสจะสั่งการให้ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายปรับสมดุลอุณหภูมิ ดังนั้นการกินหรือดื่มเครื่องดื่มเย็ๆ ในปริมาณที่พอเหมาะจะไม่ทำให้เด็กเป็นหวัด เมื่อลูกอยากกิน พ่อแม่ไม่จำเป็นต้องห้าม แต่ต้องจำกัดไม่ให้ทานเยอะจนเกินไป
ไอศกรีม-เครื่องดื่มเย็น ไม่ได้เหมาะกับเด็กคน
แม้ว่าเด็กทั่วไปจะสามารถกินของเย็นได้ในปริมาณเล็กน้อย แต่ก็มีเด็กอีก 3 กลุ่มที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่
1. เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี เนื่องจากระบบทางเดินอาหารยังพัฒนาไม่เต็มที่ เด็กเล็กจึงไม่สามารถดูดซึมหรือย่อยอาหารเย็นได้ อาจทำให้เกิดการระคายเคือง ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้กิน
2. เด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ถ้าลูกมีอาการท้องเสีย ปวดท้อง และอาการอื่น ๆ หลังจากดื่มเครื่องดื่มเย็น ๆ ได้ประมาณ 15 นาที พ่อแม่ควรสังเกตอาการว่า ลูกอาจมีภาวะลำไส้แปรปรวน โรคนี้ทำให้ทางเดินอาหารของเด็กมีความไวต่อสิ่งกระตุ้น เพียงแค่กินอาหารเย็นก็อาจทำให้เกิดโรคทางเดินอาหารได้
3. เด็กที่เป็นโรคหอบหืด อุณหภูมิเย็นอาจทำให้เด็กที่เป็นโรคหอบหืดอาการกำเริบ เช่นเดียวกับการอยู่ท่ามกลางอากาศเย็นในฤดูหนาวที่ทำให้เกิดอาการหอบหืด หรือเป็นผลทำให้อาการแย่ลงได้ ดังนั้นเด็กที่เป็นโรคหอบหืดจึงไม่ควรกินอาหารเย็น
การควบคุมปริมาณการกินเป็นสิ่งสำคัญ
- อย่ากินมากเกินไป แม้ว่าอาหารเย็นอาจไม่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพสำหรับเด็กปกติ แต่ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาสามารถกินได้ตามอำเภอใจ พ่อแม่ต้องควบคุมปริมาณอาหารและไม่ควรตามใจลูกมากเกินไปเมื่อลูกร้องไห้
- ควรกินอาทิตย์ละ 1-2 ครั้ง ในแต่ละครั้งไม่ควรเกิน 1/3 หรือ 1/2 ส่วน และปล่อยให้ละลายในปากก่อนกลืน การทำเช่นนี้จะช่วยลดการระคายเคืองในทางเดินอาหาร หลีกเลี่ยงการเกิดลำไส้กระตุกหรือโรคระบบทางเดินอาหารเฉียบพลันบางชนิดที่เกิดจากการกินมากเกินไปและเร็วเกินไป
- อย่ากินหรือดื่มภายในครึ่งชั่วโมงก่อนหรือหลังอาหาร การกินก่อนอาหารจะส่งผลต่อความอยากอาหารและลดการดูดซึมสารอาหาร การกินหลังอาหารจะลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารและการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของระบบย่อยอาหาร ทำให้เกิดโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบเฉียบพลันได้ง่าย
- เวลากินที่เหมาะสมคือหลังจากตื่นนอนกลางวัน หรือประมาณ 14.00 – 15.00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่อุณหภูมิสูงสุดในระหว่างวัน นอกจากนี้ เด็กไม่ควรกินเครื่องดื่มเย็นๆ ในขณะท้องว่างหรือระหว่างออกกำลังกายอย่างหนัก ร้อนและเย็นอาจทำให้เกิดลำไส้กระตุกและรู้สึกไม่สบายได้ง่าย
อย่างไรก็ดี นอกจากควบคุมปริมาณแล้ว การรักษาสุขอนามัยก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน เพราะในความเป็นจริง อาการป่วยเกี่ยวกัลทางเดินอาหารของเด็กอาจไม่เกี่ยวข้องกับความเย็นหรือร้อนของอาหาร แต่กุญแจสำคัญคืออาหารสะอาดหรือไม่ เพราะจะนำไปสู่การปะปนของเชื้อโรค สภาพอากาศร้อนในฤดูร้อน เครื่องดื่มเย็น ๆ ที่เก็บไม่ถูกต้องหรือไม่ได้ฆ่าเชื้ออย่างทั่วถึงจะทำให้แบคทีเรียเติบโต ซึ่งหลังจากดื่มแล้วอาจทำให้เด็กท้องเสียเฉียบพลันได้
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง