สุขภาพและการแพทย์

รพ.พรเจริญ บึงกาฬ แก้วิกฤต เหลือหมอคนเดียว เร่งยืมแพทย์จากที่อื่น

โรงพยาบาลพรเจริญ ประกาศภาวะวิกฤตขาดแคลนแพทย์อย่างหนัก โดยในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมนี้ จะเหลือแพทย์ประจำการเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น ซึ่งต้องรับภาระดูแลผู้ป่วยทั้งแผนกผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง และคนไข้อีก 30 เตียง

ประกาศดังกล่าวระบุว่า ตั้งแต่วันที่ 27 ถึง 31 พฤษภาคม 2567 แพทย์ประจำ โรงพยาบาลพรเจริญ จังหวัดบึงกาฬ จะต้องรับหน้าที่ดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินเพียง 1 คน ทำให้โรงพยาบาลได้ออกมาตรการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เช่น การประสานขอยืมแพทย์จากโรงพยาบาลใกล้เคียง และการให้พยาบาลสั่งยาเดิมแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีอาการคงที่

แม้โรงพยาบาลจะยืนยันว่าจะยังคงให้บริการผู้ป่วยคลอดและอุบัติเหตุฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง แต่ก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงความกังวลถึงคุณภาพการรักษาและความปลอดภัยของผู้ป่วยได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อแพทย์เพียงคนเดียวต้องทำงานอย่างหนักหน่วงและต่อเนื่อง

“ประกาศประชาสัมพันธ์ จากโรงพยาบาลพรเจริญ ตั้งแต่วันที่ 27 – 31 พฤษภาคม 2567 โรงพยาบาลพรเจริญ จะมี แพทย์ประจําาเหลือ 1 คน ซึ่งแพทย์ประจําต้องดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลพรเจริญจึงได้กําหนดให้มีแนวทางแก้ปัญหาการให้บริการ ดังนี้

1. ประสานยืมแพทย์ช่วยตรวจจากโรงพยาบาลข้างเคียง

2. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง(เบาหวาน,ความดันโลหิตสูง,สุขภาพจิต,ไทรอยด์) ที่มีนัดในช่วงดังกล่าวผู้ป่วยสามารถมารับบริการได้ตามปกติ โดยหาก หรืออาการป่วยคงที่พยาบาลวิชาชีพจะสั่งยาเดิมให้ (ไม่ ต้องพบแพทย์) และจะปรึกษาแพทย์ในรายที่มีผลเลือดผิดปกติ หรือ อาการผิดปกติเท่านั้น

3. ผู้ป่วยคลอดและอุบัติเหตุฉุกเฉินให้บริการ 24 ชั่วโมง

โรงพยาบาลพรเจริญจึงขอแจ้งให้ผู้รับบริการทราบ และต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้หากการบริการเป็นไปอย่างล่าช้ากว่าปกติ

โรงพยาบาลจะให้บริการได้ตามปกติตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2567 เป็นต้นไป จึงขอประชาสัมพันธ์มาเพื่อทราบ 14 พฤษภาคม 2567″

โรงพยาบาลในจังหวัดบึงกาฬ เหลือหมอ 1 คน เท่านั้น

สถานการณ์นี้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาใหญ่ของระบบสาธารณสุขไทย ที่กำลังเผชิญกับภาวะขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์อย่างรุนแรง โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชน

อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลพรเจริญได้แจ้งว่าจะสามารถกลับมาให้บริการได้ตามปกติตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2567 เป็นต้นไป แต่ก็ยังคงเป็นคำถามว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาขาดแคลนบุคลากรในระยะยาวได้อย่างไร เพื่อให้ประชาชนมั่นใจได้ว่าจะได้รับการดูแลสุขภาพที่มีคุณภาพและทั่วถึง

สอดคล้องกับที่ เฟซบุ๊ก จ่าพิชิต พจัดพาลชน ซึ่งมีอาชีพเป็นหมอเหมือนกัน ระบุขอความในโพสต์ดังกล่าวว่าว่า “โรงพยาบาลขนาด 30 เตียง เหลือหมอคนเดียว เหลือหมอคนเดียว จะไหวเหรอเนี่ย”

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง : โรงพยาบาลพรเจริญ

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button