Line Newsไลฟ์สไตล์

สาวไอเรื้อรัง นาน 4 เดือน ก่อนเภสัชกร แนะให้หยุดยาตัวนี้ จนหายดี

สาวเล่าประสบการณ์บนเว็บไซต์ Pantip ไอเรื้อรังมานานถึง 4 เดือน หาหมอหลายครั้ง กินยาหลายชนิดก็ไม่หาย สุดท้ายค้นพบสาเหตุว่ามาจากยารักษาโรคชนิดหนึ่ง

กลายเป็นกระแสบนเว็บไซต์พันทิป หลังจากมีสาวท่านหนึ่ง เขียนแชร์ประสบการณ์ รักษาอาการป่วย ไอเรื้อรัง นาน 3-4 เดือน แม้รักษาหลายครั้ง ก็ยังไม่หายขาดสักที ก่อนที่ล่าสุดจะค้นพบสาเหตุที่แท้จริงว่า อาการไอเกิดจากผลข้างเคียงจากการใช้ยาลดความดันชนิดหนึ่ง ชื่อว่า อีนาลาพริล (Enalapril) ที่ทำให้หลอดลมขยายตัว ส่งผลให้เกิดอาการไอหนักทุกเวลา

เรื่องราวเริ่มต้นในกลางเดือนกรกฎาคม 2560 ผู้เขียนเริ่มมีอาการไอเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ รู้สึกระคายเคืองคอ ไอตลอดเวลาทั้งวันทั้งคืน จนคออักเสบและมีเสมหะ ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก

จากนั้นสาวเจ้าของเรื่องเล่าว่า ตนเองได้ไปหาหมอที่ โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ 2 ครั้ง ครั้งแรก หมอวินิจฉัยว่าเป็นกรดไหลย้อน สั่งยากระเพาะ ยาลดกรด แต่รับประทานยาไปแล้วก็ยังไม่หายดี จนต้องไปหาหมอครั้งที่สอง หมอวินิจฉัยว่าคออักเสบ สั่งยาแก้ไอ ยาแก้อักเสบ เมื่อทานยาแก้ไอแล้ว เจ็บคอน้อยลง แต่ยังไม่หยุดไอ

ต่อมา จึงได้ลองรักษาด้วยวิธีอื่นจากข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต เช่น น้ำร้อน น้ำอุ่น น้ำขิง น้ำผึ้ง ยาแก้ไอ ยาอม ทิฟฟี่รัปทาเท้านอน ฯลฯ แต่ก็ไม่ได้ผล แต่สังเกตว่าเวลาอมลูกอมหรือกินอาหารจะไม่ไอ เพราะก่อนหน้านั้นไปกินร้านอาหาร MK Restarurant แฟนก็แซวว่า “แหม! เวลากินไม่ไอเลยนะ”

สาวไอ 4 เดือน สาเหตุ 2567
ภาพจาก : Pantip

ไม่นาน สาวคนดังกล่าวก็เล่ารายละเอียดให้ ลุงเภสัชเจ้าของร้าน ว่าไปหาหมอหลายครั้งแล้ว แต่ก็ยังไม่หายขาดเสียที พร้อมเล่าว่าตนมีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน และเพิ่งเป็นความดันสูง ลุงเภสัชกรจึงแนะนำ ให้อมแก้ไอ “กำกิกเผี่ยง” พร้อมกับบอกว่าให้เลิกรับประทานยา อีนาลาพริล (Enalapril)

กระทั่ง วันที่ 4 ธ.ค. 2560 อาการไอเริ่มดีขึ้นจนหายสนิท ต่อมาได้เข้ารับการตรวจที่ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์รัตนาธิเบศร์ หมอบอกให้ควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และไม่ต้องกินยา Enalapril อีกต่อไป

อย่างไรก็ตาม เจ้าของกระทู้ ได้สรุปในโพสต์ดังกล่าวเอาไว้ว่า “ขออนุญาตแก้ไขกระทู้สรุปใจความสำคัญนะคะ สำหรับเจ้าของกระทู้คือ “ได้รับผลข้างเคียง” จากยาลดความดันโลหิตสูง “Enalapril” เนื่องจากตัวยามีผลต่อการขยายตัวของหลอดลม ทำให้ไอหนักทุกเวลา วิธีแก้ไขคือปรึกษาแพทย์และเปลี่ยนตัวยานะคะ ไม่แนะนำให้หยุดยาเองเด็ดขาด”

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button