การเงินเศรษฐกิจ

โจ มณฑานี เผยทริค เงินเดือน 15000 ค่าน้ำมัน 100 ต่อเดือน อยู่ได้ไม่อดตาย

ขอบคุณ “โจ มณฑานี ตันติสุข” นักเขียนและวิทยากรคนดัง แจงละเอียดยิบ เคล็ดไม่ลับของครูสาว เงินเดือนเพียง 15,000 บาท ใช้ชีวิตในกรุงเทพอย่างไรให้มีความสุข พร้อมเก็บเงินออม และสามารถแบ่งให้แม่ได้อีก 5,000 บาทได้อีกด้วย

เปิดมัลติเวิร์สจักรวาลเมืองกรุงเทพมหานครของ “โจ มณฑานี ตันติสุข”นักเขียนและวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน ได้แชร์ไวรัลแนะชาวกรุง วิธีการใช้เงินเดือน 15,000 บาท ใช้ชีวิตในกรุงเทพมหานครฉบับคนไม่อดตาย มีทั้งค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า และแบ่งเงินให้มารดาให้อีกเดือนละ 5,000 บาท พ่วงเงินออมอีกชิว ๆ ของข้าราชการครูสาวท่านหนึ่ง หลังจากที่ก่อนหน้านี้เมื่อช่วงเดือนมิถุนายน 2566 เธอได้เคยออกมาแชร์คลิปใช้เงินเดือน 15,060 บาทยังไงให้พอ บนแพลตฟอร์ม TikTok

ทั้งนี้ โจ มณฑานี ตันติสุข ได้โพสต์ผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัว Montaneemoney ในชื่อหัวข้อว่า “ใครบอกว่าเงินเดือนหมื่นห้า = อดตาย” พร้อมกับไล่ตอบคอมเมนต์ชาวเน็ต ที่เข้ามาสอบถามความสงสัยแนวทางการแบ่งเงินไม่ว่าจะเป็น ค่าน้ำมันรถเดือนละ 100 บาท การใช้จ่ายในชีวิตประวันต่าง ๆ มีเทคนิคอย่างไรบ้าง

“ใครบอกว่าเงินเดือนหมื่นห้า = อดตาย พี่โจใช้เงินทุกวันนี้หมื่นห้าเช่นกัน ขนาดมีทรูวิชั่นส์เดือนละ 2300 เป็นตัวถ่วงด้วยนะ น้องสาวคนนี้เจ๋งกว่าพี่โจล้านเท่า !! เงินเดือนหมื่นห้า มีค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำไฟ ยังให้บุพการีเดือนละ 5000 แถมมึเงินออม!! เลิฟฟฟฟสุด!”

โจ มณฑานี เงินเดือน 15000 อยู่กรุงเทพ

นอกจากนี้ ยังมีแฟนคลับชาวเน็ต เข้ามาแสดงความคิดเห็นด้วยการสอบถามว่าหากเป็นกรณีการใช้ชีวิตในกรุงเทพ จะยังสามารถออมเงินแบบนี้อยู่อีกได้หรือไม่ ด้วยข้อความที่ว่า “ลองมาอยู่ กทม ดิครับ”

ทำให้ทางด้านของ โจ มณฑานี ตันติสุข ก็ได้ตอบคอมเมนต์ไขข้อสงสัยของชาวเน็ตท่านนี้ไปว่า การใช้เงินไม่ได้เกี่ยวกับพื้นที่ เพราะพี่โจก็อาศัยอยู่ที่กรุงเทพ (กทม.) แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยนิสัยการบริหารจัดการเงินของแต่ละคน โดยระบุแคปชั่นข้อความว่า

“15000 นี่พี่โจกิน tenderloin ด้วยนะเออ

1. ค่าไฟบ้าน 2 หลัง 1100 บาท เปิดแอร์ทุกคืนด้วย
2. ค่ามือถือ 500 กว่า ไม่เกิน 650
3. ค่าเน็ตทรูกทม 789
4. ค่าทรูวิชั่นส์ 2306
5. ค่าเน็ตทรูชลบุรี 659 แถมทรูไอดี แถมเบอร์มือถือ
5. ค่าน้ำ 2 หลัง 80 บาท-100
รวมค่าสาธารณูปโภค 5509
6. ค่าเดินทางไม่เกิน 1000/เดือน
พี่โจใช้ Taxi ที่หักจากรายได้

คือมีงานเข้ามาที่ต้องเดินทางถึงจะขึ้นรถ หรือเจรจากับงานที่ได้รับ ขอรถรับส่งค่ะ ประหยัดโสหุ้ย
เหลือต่อเดือน 8409 กินกับของใช้รายเดือนสบายๆ พี่โจสั่งแกร๊บด้วย วันละไม่เกิน 200 นะ
ทีนี้ใครเถียงว่าก็พี่ไม่มีค่าเช่านี่

พี่โจก็ขอบอกว่า อยู่บ้านพ่อแม่ค่ะ แล้วจ่ายพ่อแม่เดือนละ 1 พัน เหลือกินใช้น้อยหน่อย
แล้วก็ดูด้วยว่าพี่โจมี “ค่าใช้จ่ายบ้าน 2 หลัง” กับเสียค่าทรู 2300 ตรงนั้นตัดออกได้จะเหลือค่าเช่าหอ
ถ้ายังอ้างอีกว่าหอแพงกว่านี้ ก็หารูมเมท
มัน “มีหนทางเสมอ” ค่ะ

พี่เอาเดือนละพันที่ไม่ต้องให้พ่อแม่นี่ละ ออมทุกเดือน เท่ากับใช้แค่หมื่นสี่
ส่วนหนูจะเถียงว่า..แล้วค่าบันเทิง สังสรรค์ไปไหน ช้อปปิ้งไปไหน
ก็ไปดูค่าทรูวิชั่นส์อีกทีค่ะ อยากช้อปต้องตัดทรูออก

ปล.พี่โจมีรายได้มากกว่า 15000 แน่นอน แต่กำหนดงบกินอยู่ “ตามจำเป็นแบบพอเพียง” คือ 15000 เงินรายได้ส่วนเกินคือออม ถ้าได้พิเศษค่อยช้อปค่ะ คุณภาพชีวิตก็ดีนะ ไม่อดอะไร”

โจ มณฑานี ตันติสุข ใช้เงินเดือน 15000 ใน กทม เบลอ 2

ทั้งนี้ ย้อนกลับไปบนติ๊กต๊อก ของครูสาวคนดังกล่าว ที่เป็นคนเริ่มแชร์ประสบการณ์ การใช้เงินเดือนข้าราชการครูเพียง 15,060 บาท ของเธอ ได้ชี้แจงประเด็นเรื่องค่าน้ำมัน 100 บาทต่อเดือน เอาไว้ก่อนหน้านี้ว่า รถที่ใช้เป็นรถมอเตอร์ไซค์ที่ขี่ไปทำงานทุกวัน แต่ที่พักกับที่ทำงานห่างกันไม่ถึง 1 กิโลเมตร ทำให้ตนเองเสียค่าน้ำมันไม่แพงมากนั่นเอง

@apple_apple1995

บรรจุ 3 เม.ย 66 #นักวิชาการศึกษา

♬ ขอบคุณที่อยู่ตรงนี้ – เพลงประกอบละคร เรือนริษยา – จอย จีราพัชร

อย่างไรก็ตาม กรณีโพสต์เทคนิคการใช้เงินเพียง 15,000 บาท ให้ตอบโจทย์การอยู่อาศัยใน กรุงเทพมหานคร ของโจ มณฑานี ตันติสุข ทำให้เกิดกระแสวิพากย์วิจารณ์ต่อไปอีกว่า บางคนมีค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากนั้นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อีกสารพัด อาทิ ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถยนต์ ค่ารักษาพยาบาลบุพการี ค่าเดินทางไปทำงาน หรือแม้แต่ต้องเดินทางกลับไปบ้านเพื่อไปหาครอบครัวอย่างจำเป็น

นอกจากนี้ ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้อาศัยอยู่ที่บ้านกับพ่อแม่ หรือต้องอาศัยห้องเช่าในเมืองที่มีราคาสูงกว่า เพื่อความสะดวกบางอย่าง เช่น ใกล้ที่ทำงานแต่แลกกับค่าเช่าที่แพง

ถึงกระนั่น แม้เราจะเป็นคนประหยัดเงินมาเพียงใด แต่ถ้าบุคคลในครอบครัวสร้างหนี้สินให้ ก็กลับกลายเป็นเราที่จะต้องแบกภาระเหล่านั้นไว้ด้วยความจำยอมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นั่นเองครับ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง : Facebook / Montaneemoney, TikTok @apple_apple1995

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button