ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน หลายบริษัทเลิกจ้างพนักงานเพื่อลดรายจ่าย การว่างงานกะทันหันอาจเป็นเรื่องคอขาดบาดเจ็บสำหรับมนุษย์เงินเดือนชนเดือน ทำให้หลายคนไม่ได้เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์นี้ การทำความเข้าใจพื้นฐานของการจัดการทางการเงินกลายเป็นสิ่งสำคัญ
วันนี้ Thaiger จึงขอแนะนำแนวทางเบื้องต้น สำหรับผู้ที่กำลังเจอสภาวะว่างงานแบบฟ้าผ่า
1. แจ้งลงทะเบียนว่างการกับสำนักงานประกันสังคม
ถ้าทำงานบริษัท เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ให้แจ้งลงทะเบียนว่างงานออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ e-service.doe.go.th ภายใน 3 เดือนนับตั้งแต่ออกจากงาน เมื่อทำตามขั้นตอน ยื่นเอกสารที่กำหนดเรียบร้อย จะได้เงินชดเชยไม่เกิน 180 อัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท
หมายความว่า อย่างน้อยเรายังได้เงินจากประกันสังคมทุก ๆ เดือนเป็นเวลา 6 เดือนเพื่อยังชีพขณะหางานใหม่ แต่ห้ามลืมรายงานตัวในเวลาที่กำหนดทุกเดือนนะ หากเกินเวลาจะไม่ได้เงินเดือนนั้น ๆ
ตัวอย่าง: วิเชียรถูกนายจ้างไล่ออกกะทันหัน จากนั้นเข้าเตรียมเอกสาร แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน หรือ สปส. 2-01/7 หนังสือรองรับการออกจากงาน และสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ของธนาคารของผู้ลงทะเบียน
เมื่อวิเชียรายงานตัวตามกำหนดทางเว็บไซต์ สถานะจะขึ้นว่าผ่านการตรวจสอบแล้ว สำนักงานประกันสังคมจะโอนเงินประมาณ 4 พันบาทมาให้ทางบัญชี
2. ตรวจสอบบัญชีรายรับรายจ่ายใหม่
เมื่อตกงานให้ถือว่ารายรับเป็น 0 เราต้องมาพิจารณาบัญชีการเงินย้อนหลังว่ามีรายจ่ายใดที่สามารถตัดออกได้บ้าง อะไรที่ไม่จำเป็นในช่วงรัดเข็มขัด เช่น ค่าสมัครแอปพลิเคชั่นรายสัปดาห์ หรือลดรายจ่ายบางอย่างแต่ยังคงใช้บริการต่อได้ เช่น เปลี่ยนแพคเกจอินเตอร์เน็ตมือถือ
ตัวอย่าง: หลังจากตกงาน วัลภากลับมาดูงบประมาณรายเดือนของเธออีกครั้ง จัดหมวดหมู่การใช้จ่ายออกเป็นของจำเป็น (ค่าเช่า ของชำ สาธารณูปโภค) และของที่ไม่จำเป็น (การรับประทานอาหารนอกบ้าน การสมัครรับข้อมูล) การทำเช่นนั้น วัลภาจะระบุจำนวนของรายจ่ายที่สามารถตัดออกได้ และวางแผนล่วงหน้าว่าเดือนนี้จะต้องหาเงินมาโปะเท่าไหร่
ทริกต้องรู้ : ประเมินงบประมาณของคุณอีกครั้ง จัดลำดับความสำคัญการใช้จ่ายที่จำเป็น และลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
3. บอกสถานการณ์การเงินของคุณกับครอบครัวอย่างตรงไปตรงมา
หลายคนเป็นเสาหลักครอบครัว เงินเดือนต้องแบ่งมาเลี้ยงดูครอบครัว บางคนต้องเลี้ยงดูพ่อแม่ด้วย เมื่อตกงานต้องบอกเรื่องนี้โดยเร็วที่สุด แจ้งสถานการณ์การเงินที่คุณอาจจะไม่สามารถซัพพอร์ตพวกเขาได้ชั่วระยะหนึ่ง เช่น ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ เงินค่าผ่อนรถให้ภรรยา พวกเขาจะได้ช่วยหาวิธีหาเงินช่องทางอื่นมาเสริม
ตัวอย่าง: เอมิลี่หลังจากตกงาน เธอได้บอกครอบครัว แม่ของเธอซึ่งเกษียณอายุไปแล้ว ตัดสินใจลุกขึ้นมาอาชีพเสริมทำอย่างการขายอาหารอีกครั้ง เพื่อนำรายได้มาช่วยจุนเจือครอบครัวไปพลางระหว่างลูกสาวหางานใหม่
ทริกต้องรู้ : อย่าเก็บภาระหนักอึ้งนี้ไว้คนเดียว
4. จัดการหนี้ที่เป็นภาระผูกพัน
หลายคนที่มีภาระหนี้ผูกพันในระยะยาว เช่น หนี้จากสินเชื่อกู้บ้าน ผ่อนรถ หรือผ่อนของบัตรเครดิต ต้องเร่งติดต่อเจ้าหนี้เพื่อเจรจาประนอมหนี้ หรือพักชำระหนี้ เพราะหากปล่อยชำระตามกำหนด ดอกเบี้ยจะสูงมาก อย่างเช่นดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่ตามกฎหมายกำหนดให้สูงสุด 16% ต่อปี และดอกเบี้ยเดินทุกวัน!
ตัวอย่าง: จอห์นกำลังเผชิญกับการว่างงาน ติดต่อเจ้าหนี้เพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ของเขา เขาเจรจาลดการชำระเงินกู้ยืม หลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ และรักษาคะแนนเครดิตของเขาไว้
ทริกต้องรู้: แจ้งเจ้าหนี้เกี่ยวกับสถานการณ์ของคุณและสำรวจทางเลือกต่างๆ เช่น การผ่อนชำระสินเชื่อหรือการลดการชำระเงิน
5. หาแหล่งรายได้ใหม่ ๆ
ปัจจุบันช่องทางออนไลน์กลายเป็นแหล่งทำเงินมหาศาลให้กับคนทำอาชีพอิสระ ขายของบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ทุกคนสามารถสร้างแอคเคาต์ของตัวเอง สามารถเป็นคนดังมีผู้ติดตามมากมายได้ในเวลาอันรวดเร็ว ลองเรียนรู้การใช้ประโยชน์จากสื่อออนไลน์ ผสานกับทักษะที่คุณถนัด แปลงมันให้เป็นรายได้
ตัวอย่าง: ลตานักออกแบบกราฟิกที่ว่างงาน เริ่มทำงานอิสระและขายผลงานศิลปะของเธอทางติ๊กตอก สิ่งนี้ไม่เพียงแต่นำมาซึ่งรายได้เพิ่มเติมเท่านั้น แต่ยังช่วยฝึกฝนทักษะของเธอให้เฉียบคมสำหรับโอกาสหางานใหม่ๆ ในอนาคตอีกด้วย
ทริกต้องรู้: มองหาวิธีอื่นในการสร้างรายได้ เช่น งานฟรีแลนซ์ งานพาร์ทไทม์ หรือการขายสินค้าออนไลน์
6. การลงทุนในตัวเอง: เส้นทางสู่โอกาสใหม่
บางครั้งการหางานใหม่ก็ควรทำไปพร้อมกับแสวงหาเส้นทางใหม่ การทำงานในบริษัทรับเงินเดือนอาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุดเสมอไป ลองใช้เวลาว่างที่เราได้มาแบบงง ๆ ลงทุนกับตัวเอง ลงเรียนคอร์สใหม่ ๆ เพิ่มพูนทักษะที่เราไม่เคยรู้ การมีสกิลเพิ่มทำให้โอกาสในสายงานเปิดกว้างมากขึ้น
ตัวอย่าง: หลังจากตกงาน ทอมตัดสินใจยกระดับทักษะด้วยการเรียนหลักสูตรออนไลน์ด้านการตลาดดิจิทัล การลงทุนนี้จะให้ผลตอบแทนเมื่อเขาได้งานในสาขาใหม่ที่มีเงินเดือนสูงกว่า
ประเด็นสำคัญ: ใช้เวลาเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ หรือพัฒนาทักษะที่มีอยู่ เพื่อเพิ่มโอกาสในการถูกจ้างงาน
ก่อนหน้านี้ โพสต์ทูเดย์ รายงานคำสัมภาษณ์ของ น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า สถานการณ์คนว่างงานในประเทศไทย 2/2566 จำนวนผู้มีงานทำอยู่ที่ 39.7 ล้านคน เพิ่มขึ้น 6.6 แสนคน เมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสเดียวกันของปี 2565
ตัวเลขมีผู้ว่างงานเฉลี่ย 4.3 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงาน 1.1% ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 ที่การว่างงานอยู่ที่ 5.5 แสนคน หรือ 1.4% และทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาส 1/2566 ที่มีการว่างงาน 4.2 แสนคน หรือ 1.1%
“ตัวชี้วัดในภาพรวมของสถานการณ์แรงงานดีขึ้นและไม่มีสัญญาณบ่งชี้ที่น่ากังวล ในส่วนการว่างงานระยะยาว หรือผู้ที่ว่างงานเกินกว่า 1 ปีขึ้นไป ณ ไตรมาส 2/2566 จำนวนก็ลดลงเหลือ 7.4 หมื่นคน เทียบกับ 1.4 แสนคน ในช่วงเดียวกันของปี 2565” น.ส.ไตรศุลี กล่าว
งานวิทยานิพนธ์ เรื่องปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการว่างงานของประเทศไทย ของชาลิสา สาคร ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เมื่อปี พ.ศ. 2565 ศึกษาปัญหาการว่างงานในประเทศไทยนั้น พบว่ามีสาเหตุหลายสาเหตุที่ทำให้การว่างงานในไทยนั้นเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขึ้น ของประชากรในประเทศ สภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำลง การผลิตนักศึกษาออกมาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ รวมไปถึงสถานการณ์ภัยธรรมชาติต่าง ๆ ที่มีในประเทศ แต่เป็นสาเหตุทีทำให้เกิดการว่างานชั่วคราวเท่านั้น
จุดเปลี่ยนใหญ่ทางสังคมอยู่ที่โรคระบาดโควิด-19 เกิดขึ้นใน 3 ปีหลัง มีผลกระทบต่อการจ้างงานใหม่และแรงงานนอก
ระบบของไทย ตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาและโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศไทยนั้นแรงงาน มากกว่าครึ่งของทั้งหมดเป็นแรงงานนอกระบบและเป็นแรงงานที่ทำงานแต่ไม่ได้รับความคุ้มครอง และยังกระทบไปถึงธุรกิจอื่น ๆ