การเงิน

วิธีคำนวณหนี้ กยศ. ตาม พ.ร.บ.ฉบับใหม่ จ่ายถูกลง บางคนไม่ต้องจ่ายเลย

ลูกหนี้ กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา มารวมกันตรงนี้ เปิดตัวอย่างคำนวณวิธีคิดเงินต้น ดอกเบี้ยไปจนเบี้ยปรับตามกฎหมายใหม่ หลัง กิตติรัตน์ ณ ระนอง บอกหลายคนอาจไม่เหลือหนี้คนชำระแล้วอาจได้เงินคืนอีกด้วย

ประเด็นแก้หนี้ กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ. ถูกนำมาพูดถึงในรายละเอียดเชิงลึกอีกครั้ง หลังจากไม่นานนี้ กิตติรัตน์ ณ ระนอง ประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ออกมาระบุถึงผลการหารือล่าสุดว่า ลูกหนี้กยศ. ทั่วประเทศประมาณ 3.8 ล้านคน มูลหนี้ประมาณ 1 ล้านล้านบาท หากบังคับใช้กฎหมายใหม่ ตาม พ.ร.บ.กองทุน กยศ. จะทำให้ลูกหนี้ กยศ.หลายคนไม่เหลือหนี้อยู่ หรือคนที่ชำระหนี้ไปแล้วหลายคนอาจได้เงินคืน

Advertisements

สำหรับการแก้หนี้ กยศ. เที่ยวล่าสุดนี้จะดำเนินการตาม พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566 ที่เพิ่งมีผลบังคับใช้ไปเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งในรายละเอียดเบื้องต้นมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าเดิม และยังจะคำนวณภาระหนี้สินย้อนหลังด้วย โดยหนี้สิน กยศ. หากนำมาคำนวณใหม่มูลหนี้ที่เหลือค้างใน กยศ. จะเหลือประมาณ 50% เท่านั้น

สาระสำคัญของพ.ร.บ. กยศ. ฉบับใหม่ จะช่วยเหลือผู้กู้ โดยปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไม่เกิน 1% ต่อปี ส่วนเบี้ยปรับจะลดเหลือ 0.5% ต่อปี จากเดิมที่กำหนดให้เก็บดอกเบี้ยไม่เกิน 7.5% ต่อปี และไม่ต้องมีผู้ค้ำประกัน

โลโก้ กยศ

ตัวอย่างวิธีการคำนวณหนี้ การชำระเงินคืนตามสัญญากู้ยืมปีการศึกษา 2566

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ กยศ. สัญญากู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ที่กองทุนฯ เริ่มใช้ในปีการศึกษา 2566 เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566

กองทุนฯ ได้ดำเนินการปรับปรุงเนื้อหาในสัญญากู้ยืมเงินให้มีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาและการชำระเงินคืนกองทุนตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566 รายละเอียดการผ่อนชำระเงินคืนในแต่ละแบบ มีดังนี้

Advertisements

แบบที่ 1

  • รายเดือน ชำระต้นเงินในจำนวนเท่ากันทุกเดือน

แบบที่ 2

  • รายไตรมาส (3 เดือน) ชำระต้นเงินในจำนวนเท่ากันทุกไตรมาส

แบบที่ 3

  • รายปี ชำระต้นเงินในจำนวนเท่ากันทุกปี

แบบที่ 4

  • รายปี ชำระต้นเงินในจำนวนที่เพิ่มขึ้นทุกปี (Step Up)

ทั้งนี้ ในกรณีผ่อนชำระหากผู้กู้ยืมเงินไม่เลือกวิธีการผ่อนชำระวิธีใดวิธีหนึ่งข้างต้น ผู้ให้กู้ยืม จะถือว่าผู้กู้ยืมเงินประสงค์จะผ่อนชำระเงินคืนเป็นรายปี โดยชำระต้นเงินในจำนวนที่เพิ่มขึ้นทุกปี (Step Up)

นอกจากนี้ในการผ่อนชำระเงินคืนผู้กู้ยืมเงินจะต้องผ่อนชำระเงินคืนให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาไม่เกิน 15 ปี นับแต่วันที่ครบกำหนดระยะเวลา 2 ปี ดังกล่าว โดยมีรายละเอียดการผ่อนชำระเงินคืนดังต่อไปนี้

ตัวอย่าง จำนวนต้นเงินที่ต้องชำระในแต่ละงวด ต้องไม่ต่ำกว่าอัตราที่กำหนดไว้ ดังนี้

แบบที่ 1 รายเดือน ชำระต้นเงินในจำนวนเท่ากันทุกเดือน

ยอดหนี้เงินกู้ยืม อัตราผ่อนชำระ 15 ปี

ต้นเงินพร้อมดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี

100,000 บาท ไม่น้อยกว่า 600 บาทต่อเดือน
200,000 บาท ไม่น้อยกว่า 1,200 บาทต่อเดือน
300,000 บาท ไม่น้อยกว่า 1,800 บาทต่อเดือน
400,000 บาท ไม่น้อยกว่า 2,400 บาทต่อเดือน
500,000 บาท ไม่น้อยกว่า 3,000 บาทต่อเดือน

แบบที่ 2 รายไตรมาส (3 เดือน) ชำระต้นเงินในจำนวนเท่ากันทุกไตรมาส

ยอดหนี้กู้ยืม

อัตราผ่อนชำระ 15 ปี

ต้นเงินพร้อมดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี

100,000 บาท ไม่น้อยกว่า 1,800 บาทต่อไตรมาส
200,000 บาท ไม่น้อยกว่า 3,600 บาทต่อไตรมาส
300,000 บาท ไม่น้อยกว่า 5,400 บาทต่อไตรมาส
400,000 บาท ไม่น้อยกว่า 7,190 บาทต่อไตรมาส
500,000 บาท ไม่น้อยกว่า 8,990 บาทต่อไตรมาส

แบบที่ 3 รายปี ชำระต้นเงินในจำนวนเท่ากันทุกปี

ยอดหนี้เงินกู้ยืม

อัตราผ่อนชำระ 15 ปี

ต้นเงินพร้อมดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี

(บาท) รายปี
100,000 บาท ไม่น้อยกว่า 7,220 บาทต่อปี
200,000 บาท ไม่น้อยกว่า 14,430 บาทต่อปี
300,000 บาท ไม่น้อยกว่า 21,640 บาทต่อปี
400,000 บาท ไม่น้อยกว่า 28,850 บาทต่อปี
500,000 บาท ไม่น้อยกว่า 36,070 บาทต่อปี

แบบที่ 4 รายปี ชำระต้นเงินในจำนวนที่เพิ่มขึ้นทุกปี (Step Up)

งวดที่ต้องชำระ ร้อยละของต้นเงินที่ต้องชำระ
1 1.5
2 2.5
3 3.0
4 3.5
5 4.0
6 4.5
7 5.0
8 6.0
9 7.0
10 8.0
11 9.0
12 10.0
13 1

1.0

14 12.0
15 13.0

สำหรับใครที่ต้องการเข้าไปเช็กรายละเอียดตัวอย่างการคำนวน หนี้กยศ. เพิ่มเติม คลิกที่นี่.

ขอบคุณข้อมูล : กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button