สุขภาพและการแพทย์ไลฟ์สไตล์

โรคสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกัน คืออะไร ทำไมมีอาการเหมือนคนผีเข้า

ทำความรู้จัก โรคสมองอักเสบ จากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน anti-NMDAR โรคที่ไวรัสจะเข้าไปทำลายเนื้อสมอง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการคล้ายถูกผีสิง หากติดเชื้อรุนแรงอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต

โรคสมองอักเสบ ถูกกล่าวถึงอีกครั้งว่าอาจเป็นต้นตอของโรคร้ายที่ตัวละคร “น้าแย้ม” จากภาพยนตร์สยองขวัญเรื่อง ธี่หยด แสดงอาการคล้ายผู้ป่วยจิตเวช จนชาวบ้านเข้าใจผิดคิดว่าเธอถูกผีเข้าสิง ส่งผลให้เกิดเป็นความเชื่อที่เล่าขานกันมาช้านาน เนื่องจากในสมัยนั้นชาวบ้านยังไม่สามารถเข้าถึงการรักษาทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน จึงทำให้เกิดการเข้าใจผิดโยงถึงเรื่องความเชื่อเกี่ยวกับวิญญาณร้าย ทว่าแท้จริงแล้วอาการแปลกของน้าแย้ม เป็นหนึ่งในอาการที่พบได้ใน โรคสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกัน anti-NMDAR นั่นเอง

สาเหตุโรคสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกัน anti-NMDAR

โรคสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกัน anti-NMDAR คือ หนึ่งในโรคที่มีสาเหตุจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายถูกกระตุ้นโดยเนื้องอก โดยมีตัวรับเอ็นเอ็มดีเอ (NMDAR) อยู่บนเซลล์เนื้องอก

อาการผีเข้า จากโรคสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกัน anti-NMDAR

ส่งผลให้เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตรวจเจอเนื้องอกดังกล่าวจึงสร้างแอนติบอดีขึ้นมาทำลาย ซึ่งโปรตีนชนิดตัวรับเอ็นเอ็มดีเอจะอยู่ที่บริเวณเซลล์สมอง ส่งผลให้แอนติบอดีที่กำลังจะไปยับยั้งเอ็นเอ็มดีเอในสมอง เข้าไปทำลายเซลล์สมอง กระทั่งผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ

เนื้องอกดังกล่าวมักจะพบบริเวณรังไข่ ปอด เต้านม และอัณฑะ ผู้ป่วยที่เคยมีประวัติติดเชื้อสมองอักเสบจากเชื้อไวรัส อาจเป็นโรคนี้ต่อได้

โรคสมองอักเสบ คืออะไร

อาการสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกัน anti-NMDAR

กลุ่มอาการที่พอจะบอกได้ว่าคุณกำลังป่วยด้วยโรคสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกัน anti-NMDAR ได้แก่

  • มีไข้อ่อน ปวดศีรษะ คล้ายเป็นไข้หวัด
  • ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย
  • สูญเสียการควบคุมตัวเอง เช่น เคี้ยวปาก แลบลิ้นปลิ้นตา มองตาขวาง เหม่อลอย มือ-เท้าขยับไปมา ฉุนเฉียว อารมณ์ดุร้าย พูดจากระแทกกระทั้น หรือซึมไปเลย
  • หูแว่ว เห็นภาพหลอน
  • ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
  • อุณหภูมิร่างกายสูงหรือต่ำผิดปกติ
  • ชักเกร็ง

โดยอาการของโรคดังกล่าวใกล้เคียงกับอาการผีเข้าหรือป่วยทางจิต ทั้งนี้เกิดจากเซลล์สมองถูกทำลายจนไม่สามารถประมวลผลได้เหมือนคนปกตินั่นเอง หากมีอาหารหรือญาติที่เข้าข่ายควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยก่อนมีอาการรุนแรงขึ้น อาทิ ไม่ค่อยรู้สึกตัว ไม่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น ซึมลง และอาจเสียชีวิตในที่สุด

อาการโรคสมองอักเสบ

วิธีรักษาโรคสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกัน anti-NMDAR

โรคสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกัน anti-NMDAR ไม่สามรถรักษาให้หายได้ด้วยตัวเอง สิ่งที่ควรทำคือการเข้ารับการรักษา โดยแพทย์จะสอบถามประวัติและอาการอย่างละเอียด ก่อนจะส่งไปตรวจภาพถ่ายรังสี MRI เพื่อหาความผิดปกติของสมองส่วนหน้า ตรวจน้ำไขสันหลังเพื่อดูความอักเสบขอสมอง และตรวจหาแอนติบอดีต่อตัวรับ NMDA จากน้ำไขสันหลังและเลือด

ผู้ป่วยที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคดังกล่าวจะต้องกินยาช่วยลดการอักเสบของสมอง การเปลี่ยนถ่ายพลาสมา หรือการให้ยาอิมมูโนโกลบูลินทางหลอดเลือด บางกรณีอาจมีแนวทางการรักษาเพิ่มเติมด้วยการผ่าตัดเนื้องอกที่เป็นต้นตอของโรค พร้อมกับบำบัดสภาพร่างกายและจิตใจร่วมด้วย

พบแพทย์เพื่อรักษาโรคสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกัน anti-NMDAR

ความเป็นไปได้ที่จะหายป่วยโรคสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกัน anti-NMDARมีมากถึง 80% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรวดเร็วในการรักษา หากรู้ตัวไว ทำตามแผนการรักษาครบทุกขั้นตอนผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นตลอดจนหายเป็นปกติ มีเพียง 10-20% เท่านั้นที่อาจมีอาการกำเริบอยู่บ้าง โดยแพทย์จะให้ยากดกดภูมิคุ้มกันและติดตามอาการอย่างใกล้ชิด

ผู้ป่วยโรคสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกันพบได้ทุกเพศทุกวัย ส่วนใหญ่มักเกิดในเพศหญิงอายุน้อยและวัยเจริญพันธุ์ หากใครกังวลหรือพบว่าตนเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงอย่ารีรอที่จะไปพบแพทย์ บางทีอารมณ์โกรธ ฉุนเฉียว หรือควบคุมตัวเองไม่ได้จนกระทบกับชีวิตอาจเป็นสัญญาณของโรคร้าย

ขอบคุณข้อมูลจาก : 1

Peangaor

นักเขียนประจำ Thaiger จบการศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ มศว เชี่ยวชาญข่าวบันเทิงและบทความไลฟ์สไตล์ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำมาชี้แจงแตกประเด็นในรูปแบบย่อยง่ายเหมือนเพื่อนเล่าให้ฟัง รวมถึงเรื่อง Pop culture ซีรีส์ อาหาร และเทรนด์แฟชั่นที่กำลังอินเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ preme@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button