การเงินเศรษฐกิจ

สรุปเงื่อนไข จ่ายเงินเดือนข้าราชการ 2 รอบ ใครเข้าเกณฑ์ ต้องทำยังไงบ้าง

รวบรวมให้แล้ว ยื่นคำขอรับเงินเดือนข้าราชการ ลูกจ้างประจำ 2 ครั้งต่อเดือน ทำอย่างไร พร้อมหลักเกณฑ์ว่าท่านมีคุณสมบัติที่จะได้รับสิทธิ์นี้หรือไม่

เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 เวลา 10.00 น. ที่ผ่านมา กรมบัญชีกลาง ได้มีการประชุมชี้แจงการปรับเงื่อนไขวิธีการจ่ายเงินเดือนและค่าจ้างประจำ นำโดย นายเกียรติณรงค์ วงศ์น้อย ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบการเงินการคลัง และ นางสาววิลาวรรณ พยาน้อย ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบการเงินในคลัง โดยได้เน่นย้ำว่า การจ่ายเงินเดือน 2 รอบต่อเดือนจะเริ่มขึ้นในเดือนมกราคม 2567

Advertisements

ทางกรมบัญชีกลางจะมีการปรับแก้กฎหมาย รวมถึงปรับระบบจ่ายเงินเดือนค่าจ้าง e-Payroll ให้สอดคล้องกับเรื่องดังกล่าว ซึ่งได้มีการหารือกับทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึง ธนาคาร สหกรณ์ออมทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เรียบร้อยแล้ว

สรุปเงื่อนไข การจ่ายเงินเดือนข้าราชการ 2 รอบ ต้องทำอย่างไร

สรุปเงื่อนไข การจ่ายเงินเดือนข้าราชการ 2 รอบ ต้องทำอย่างไร

1. ข้าราชการทุกคนสามารถเลือกได้ว่าจะรับเงินเดือน 1 ครั้งต่อเดือน หรือ 2 ครั้งต่อเดือน เป็นไปตามความสมัครใจของรายบุคคล

2. ครอบคลุมส่วนราชการ 230 หน่วยงาน ที่อยู่ในระบบ e-Payroll ของกรมบัญชีกลาง

3. หน่วยงานอื่น ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในระบบ e-Payroll ของ กรมบัญชีกลาง อาทิ อปท., เทศบาล, อบต. จะไม่เข้าเงื่อนไข

Advertisements

4. ข้าราชการสามารถยื่นแบบความประสงค์รับเงินเดือน 2 ครั้งต่อเดือนได้ตั้งแต่วันที่ 1-15 ธันวาคม 2566

5. หากไม่ยื่นแบบความประสงค์ฯ ก็จะได้รับเงินเดือน 1 ครั้งต่อเดือน เหมือนเดิม

6. สามารถเปลี่ยนกลับไปรับเงินเดือน 1 ครั้งต่อเดือน หรือเปลี่ยนไปรับเป็น 2 ครั้งต่อเดือน ได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น

7. ข้าราชการบรรจุใหม่สามารถเลือกได้ตั้งแต่แรกว่าจะรับเงินเดือน 1 รอบ หรือ 2 รอบต่อเดือน

วิธีการจ่ายเงินเดือนข้าราชการ 2 รอบต่อเดือน

วิธีการจ่ายเงินเดือนข้าราชการ 2 รอบต่อเดือน

1. จ่ายเงินเดือนรอบแรก ทุกวันที่ 16 ของเดือน หากเดือนไหนตรงกับวันหยุด จะเลื่อนขึ้นมาจ่ายในวันทำการ

2. จ่ายเงินเดือนรอบสอง ภายในวันทำการก่อน 3 วันสุดท้ายของทุกเดือน

3. กลุ่มข้าราชการที่ประสงค์รับเงินเดือน 2 รอบ จะเริ่มต้นภายในเดือนมกราคม 2567

4. กลุ่มลูกจ้างประจำที่ประสงค์รับเงินเดือน 2 รอบ จะเริ่มต้นภายในเดือนมีนาคม 2567

5. ผู้รับบำนาญยังคงได้เงินเดือนรอบเดียวเช่นเดิม

6. การหักเงินเดือน สมทบกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) หรือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับลูกจ้างประจำ จะหักจ่าย 2 รอบ หรือครึ่งหนึ่งของเงินที่หักจากการจ่ายเงินเดือนรอบเดียว โดยทางกรมบัญชีการจะเป็นผู้คำนวณให้

7. หนี้กองทุนให้ยืมเพื่อการศึกษา (กยส.) หนี้ธนาคาร รวมถึงหนี้บุคคลที่ 3 จะหักจ่ายเดือนละหนึ่งครั้งตามเดิม

Best Writer

นักเขียนบทความประจำ Thaiger จบการศึกษาจากคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย มีความเชียวชาญด้านวงการเพลงไทย ภาพยนตร์ อนิเมะ ชื่นชมติดตามข่าวสารสังคม กีฬา เทคโนโลยี แตกประเด็น สรุปเรื่องราวมาร้อยเรียงผ่านข้อความสู่สายตาผู้อ่าน ช่องทางติดต่อ best.t@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button