ข่าว

สรุปจบ ดราม่าลิขสิทธิ์ “ปังชา” ทนายนิด้าร่ายยาว 2 อีพี การันตีเปิดขายได้เลยไม่เจอฟ้อง

สรุปดราม่าร้อน ปัญหาร้านอาหารดังยื่นฟ้องร้านค้ารายย่อย ปมทรัพย์สินทางปัญญาส่งทนายยื่นโนติสเรียกเงินกว่า 100 ล้าน จนสังคมอึ้ง งงประเด็นข้อกฏหมายความเป็นเจ้าของหนักมาก ทนายนิด้า ร่ายยาว 2 อีพี ตกลงต้องจบแบบไหนถึงม่โดนฟ้องร้อง

วันที่ 30 สิงหาคม 2566 เรียกว่ากลายเป็นกระแสวิพาษ์วิจารณ์กันดุเดือด สำหรับกรณีบัญชีเฟซบุ๊กแฟนเพจ ลูกไก่ทอง Thai Royal Restaurant ออกมาระบุเมื่อวันที่ 26 ส.ค.66 ที่ผ่านมา ว่า “ทางร้านได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า “ปังชา” พร้อมสงวนสิทธิ์ห้ามลอกเลียนแบบ ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข และสงวนสิทธิ์ห้ามนำชื่อแบรนด์ปังชา Pang Cha ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไปใช้เป็นชื่อร้านหรือใช้เป็นชื่อสินค้าเพื่อจำหน่าย”

Advertisements

แถมต่อมายังมีรายงานว่า ได้มีผู้ประกอบการร้านค้ารายย่อย 2 แห่ง ทางภาคเหนือที่จ.เชียงรายและ จ.สงขลา ทางภาคใต้ ได้ถูกนักฏหมายตัวแทนทนายความจากบริษัทจำหน่ายเมนูอาหาร-เครื่องดื่มชื่อดัง ส่งหนังสือทวงถาม หรือ “โนติส” โดยมีการระบุเรียกเงินค่าเสียหายเเป็นจำนวน 102 ล้านบาท และอีกรายจำนวน 7 แสนบาท ซึ่งต่อมาแม้ฝ่ายร้านค้าที่อ้างเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าว ต้องออกมาขอโทษที่ทำให้เกิดเรื่องราวเป็นประเด็นร้อนของสังคม

ร้านอาหารลูกไก่ทอง หนังสือชี้แจงเรื่อง ปังชา
ภาพ Facebook @Lukkaithong9

ตกลง “เมนูปังเย็นชาไทย” จะยังทำขายได้อยู่ไหม ?

ปฏิเสธไม่ได้ว่าจากเหตุการณืน้ำผึ้งหยดเดียวที่เริ่มจาก ร้านลูกไก่ทองโพสต์บนโซเชียลมีเดียว่าได้จดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาเครื่องหมายการค้าเมนูขนมหวานที่มีส่วนผสมของขนมปังผสานกับรสชาติของชาไทยดังกล่าว ทำให้ถึงตอนนี้หลายคนยังคงสงสัยว่า ตกลงแล้ว การอ้างลิขสิทธิ์ทางปัญหาแบบนี้สามารถทำได้ด้วยหรืออย่างไร

หมายจับกับรรจง ข่าวปังชาลูกไก่ทอง
ภาพ @thailandmostwanted

เช่นเดียวกับ ข้อสงสัยที่ถูกซักถามเกือบตลอดวันตั้งแต่ช่วงเช้าจรดเย็นกันเลยทีเดียว กับปมฉงนที่ว่า งานนี้สุดท้ายเมนูปังเย็นชาไทยจะยังทำขายได้อยู่หรือไม่ ?

ด้วยเหตุนี้ ศรันยา หวังสุขเจริญ หรือ “ทนายนิด้า” นักกฏหมายหญิงคนดังจึงออกมาโพสต์เฟซบุ๊กร่ายยาวกี่ยวกับดราม่าล่าสุดนี้ถึง 2 อพีพเต็ม

ร้านลูกไก่ทอง
ภาพ @nidalawyer

โดยเนื้อหาในโพสต์แรกนั้น ทางทนายสาวได้เขียนอธิบายประเด็นข้อกฏหมายที่น่าสนใจไว้ ดังนี้

Advertisements

“เกี่ยวกับเรื่อง #ปังชา EP.1 ถ้าตามเอกสารฉบับนี้ มีความหมายว่า มีการยื่นคำขอจด เครื่องหมายนะคะ เครื่องหมายก็คือรูปภาพในกรอบสีเขียว ก็คือยื่นคำขอจดรูปภาพนี้ทั้งภาพ ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้หญิง ถ้วยชา พร้อมคำภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่ปรากฏในภาพด้วย ในหมวดรายการสินค้าและบริการตามกรอบสีแดง”

“ในภาพปรากฏประเด็นปัญหา คือคำว่า “ปังชา” ที่เป็นข้อโต้เถียงกันในขณะนี้ว่า เจ้าของใช้ได้คนเดียวในหมวดที่จดไว้นี้หรือไม่ “

คำตอบคือ ไม่ใช่ เพราะมีข้อจำกัดในการจดฯ ภาพในกรอบสีเขียว ดันมีคำที่ประชาชนทั่วไปควรจะสามารถใช้ได้ด้วย นั่นก็คือ”

“คำว่า “ปังชา” อันที่จริงก็ ชาไทยด้วย ก็คำมันสามัญ ที่ใช้กันมาตั้งแต่ร้านขายโอเลี้ยงแล้ว ผู้ขอจดจึงต้องสละสิทธิที่จะใช้คนเดียว ตามหลักฐานที่ขีดเส้นใต้สีฟ้าไว้ การสละสิทธิ์มีความหมายว่าไม่สามารถห้ามคนอื่นใช้ข้อความที่ขอสละสิทธินั้นทั้งหมด แต่คนยื่นคำขอก็ยังสามารถใช้ได้นะคะ แต่ไม่ใช่คนเดียว”

“แต่คนอื่นที่จะใช้ได้ ถ้าหากนำมาจัดวางในรูปแบบที่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเอาไว้ตามกรอบสีเขียวและเป็นสินค้าหรือบริการที่ใกล้เคียงกันยังสามารถห้ามได้อยู่”

“จากประสบการณ์ในการจดให้ลูกความ ถ้าไม่สละสิทธิที่จะใช้แต่เพียงผู้เดียว ในคำที่เป็นคำสามัญ ชาวบ้านชาวช่อง เขาใช้กันโดยทั่วไป ใช้มานาน ไม่ใช่คำประดิษฐ์พิสดารอะไร กรมทรัพย์สินทางปัญญา ก็คงจะไม่รับจดให้ เพราะมันเอาเปรียบคนอื่น”

ดังนั้น ถ้าพิจารณาตามคำขอนี้ คำว่า “ปังชา” ประชาชนทั่วไปยังสามารถใช้ได้โดยสุจริต โดยไม่มีสิทธิถูกฟ้องได้

“แต่อย่าไปใช้บนรูปลักษณ์ของเครื่องหมายในกรอบสีเขียว ให้มีลักษณะเหมือนกัน คล้ายคลึงกัน โดยมีเจตนาฉกฉวยประโยชน์ให้เจ้าของเครื่องหมายเสียหาย แบบนี้มีสิทธิถูกฟ้องได้ค่ะ #ทนายนิด้า #ทนายหญิงสายลุย”

ตามต่อ EP.2 โพสต์สรุปจบดราม่าลิขสิทธิ์ “ปังชาลูกไก่ทอง” โดยทนายนิด้า

หลังจากแตกแจงปมพินิจพิเคราะห์ในส่วนของการตีความคำว่าปังชา ต้นตอของดราม่าร้อนทั้งหมดจนสิ้นสงสัยไป 1 โพสต์ ต่อมาไม่นานด้วยความากข้อมูลและเนื้อหา ทนายนิด้า จึงต้องเคลียร์ความชัดเจนด้วยการหย่อน โพสต์อีพีที่ 2 ซึ่งเปรียบดั่งตอนท้าย สรุปจบในม้วนเดียว “เรื่องลิขสิทธิ์น้ำผึ้งหยดเดียว” นี้.

ข่าวปังชา ทนายนิด้าวันนี้
ภาพ @nidalawyer

#ปังชา EP.2

คำขอนี้ ขอจดเครื่องหมายบริการในหมวด ตามกรอบสีแดง ตามรูปที่ขอจดทะเบียนไม่ได้มีคำภาษาไทยว่า “ปังชา” มีแต่เพียงคำภาษาอังกฤษ ดังนั้นเจ้าของเครื่องหมายนี้ยิ่งไม่สามารถห้ามประชาชนไม่ให้ใช้คำว่า “ปังชา” ในการค้าขาย ชาไข่มุก น้ำแข็งไส เครื่องดื่มชา บริการร้านอาหารและเครื่องดื่มได้

ประชาชนทุกคนยังสามารถใช้คำว่า “ปังชา” ในการค้าขายสินค้าได้เช่นเดิม เจ้าของเครื่องหมายนี้จึงไม่มีสิทธิฟ้องประชาชนคนอื่นที่ใช้คำว่า “ปังชา”ได้ จบ! #ทนายนิด้า #ทนายหญิงสายลุย

ทนายนิด้า อีพี 2
ภาพ Facebook @nidalawyer

 

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button