การเงินเศรษฐกิจ

ตอบแล้ว ใช้บัตร ปชช. รับเงินอุดหนุนบุตร เด็กแรกเกิด-6 เดือน 1,200 บาท จริงไหม

ชี้แจงแล้ว เงินอุดหนุนบุตร สำหรับเด็กแรกเกิด – 6 เดือน จำนวน 1,200 บาท ใช้บัตรประชาชนใบเดียว รับสิทธิ์ได้จริงไหม? กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ชี้แจงแล้ว เป็นข้อมูลเท็จ

สืบเนื่องจากกรณี ที่มีคลิปวิดีโอส่งต่อข้อมูล การแจกเงินเด็กแรกเกิดถึง 6 เดือน เป็นจำนวนเงิน 1,200 บาท โดยสามารถใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียวได้นั้น ทางเพจเฟซบุ๊ก Anti-Fake News Center Thailand หรือ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลว่า ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่า ข้อมูลการแจกเงินเด็กแรกเกิดดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

Advertisements

นอกจากนี้ กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ข้อมูลในคลิปวิดีโอที่เผยแพร่เรื่องเงินอุดหนุนบุตร หรือมีการแจกเงินเด็กแรกเกิดถึง 6 เดือนนั้น ไม่เป็นความจริง เนื่องจาก ข้อความดังกล่าวเป็นเพียงนโยบายที่พรรคการเมืองใช้ในการหาเสียงเท่านั้น

ทั้งนี้ กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ยังกล่าวอีกว่า การจ่ายเงินอุดหนุนบุตร ตามโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดนั้น ยังคงจัดสวัสดิการ “เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด” เดือนละ 600 บาท ให้กับเด็กตั้งแต่แรกเกิด จนอายุครบ 6 ปี ที่อยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อครอบครัว ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี

จากกรณี ที่มีการเผยแพร่ข้อมูลการแจกเงินเด็กแรกเกิดดังกล่าว ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมจึงขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่งต่อข้อมูล ร่วมถึงแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ทั้งยังขอให้ประชาชนรับข้อมูลข่าวสารการแจกเงินเด็กแรกเกิดจาก กรมกิจการเด็กและเยาวชน เท่านั้น โดยสามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ กรมกิจการเด็กและเยาวชน หรือ โทร. 02-255-5850 ถึง 7, 02-253-9116 ถึง 7

ทั้งนี้ หากท่านใดที่ต้องการเงินอุดหนุนบุตร สามารถเช็กคุณสมบัติเพื่อรับสิทธิ์ เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด แทนได้นะคะ โดยสามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ กรมกิจการเด็กและเยาวชน ที่ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมระบุไว้ข้างต้นได้เลยค่ะ

ภาพจาก Facebook : Anti-Fake News Center Thailand

อ้างอิง : 1

Advertisements

Kamonlak

นักเขียนข่าวประจำ Thaiger ผู้มีความสนใจที่หลากหลาย มีประสบการณ์เชี่ยวชาญเขียนข่าวการเงิน เศรษฐกิจ จบการศึกษาจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ งานอดิเรก ติดตามข่าวสารความบันเทิง โดยเฉพาะภาพยนตร์และแอนิเมชัน เขียนงานโดยมีแนวคิดที่ต้องการถ่ายทอดมุมมองของตัวเองและถ่ายทอดสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคม ช่องทางติดต่อ kamonlak@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button