ข่าว

ประวัติ ‘วัดบางคลาน’ หลวงพ่อเงิน พิจิตร เที่ยวชมตำนาน ‘นครไชยบวร’

เปิดเส้นทางเที่ยว “วัดบางคลาน” ตำนานพระเกจิอาจารย์ “หลวงพ่อเงิน” จังหวัดพิจิตร กับประวัติศาสตร์ “นครไชยบวร” แหล่งพระพุทธรูปโบราณเก่าแก่ และพระพิมพ์หายาก ของดี-ของขลัง พุทธคุณศักดิ์สิทธิ์

ทำความรู้จัก ประวัติวรวิหารอันเก่าแก่อันศักดิ์สิทธิ์อย่าง “วัดบางคลาน” หรือ “วัดคงคาราม” (ชื่ออื่น : วัดหิรัญญาราม, วัดของหลวงพ่อเงิน, วัดตะโก) พร้อมสักการะอดีตเจ้าอาวาส “หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ” ตั้งอยู่ที่ตำบลบางคลาน อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร

Advertisements

นอกจาก “วัดบางคลาน” จะเป็นวิหารศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านและผู้ศรัทธาเข้ามาทำการสักการะกราบไหว้บูชาพระพุทธรูปแล้ว ยังเป็นโบสถ์ประเภทวัดราษฎร์ อันเป็นแหล่งรวมวัตถุมงคล และพื้นที่ศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธรูปโบราณ เครื่องปั้นดินเผา ถ้วยชามสังคโลก จากนครไชยบวร อีกด้วย

ประวัติ สถานที่ “วัดบางคลาน” หลวงพ่อเงิน จังหวัดพิจิตร

สำหรับประวัติของ “วัดหิรัญญาราม” หรือ “วัดบางคลาน” (ภาษาอังกฤษ : Wat Bang Khlan ) อายุเกือบ 200 ปี มีชื่อเรียกอื่นว่า วัดคงคาราม, วัดของหลวงพ่อเงิน, วัดตะโก บ้างเรียกกันว่า วัดหลวงพ่อเงินบางคลาน เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านเก่า ในตำบลบางคลาน อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร

วัดบางคลาน ก่อตั้งขึ้นโดย หลวงพ่อเงิน พุทฺธโชติเมื่อ ปีพุทธศักราช 2370 จากนั้นจึงได้พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2514 สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นสถานที่นั่งวิปัสสนา เนื่องจากหลวงพ่อเงินท่านพิจารณาแล้วว่า เป็นสถานที่สงบและอยู่ไม่ไกลจากแหล่งชุมชนนักเหมาะที่จะเป็นสถานที่เจริญวิปัสสนากรรมฐาน เพราะสมัยก่อนบริเวณนี้เป็นป่ารกทึบ และมีสัตว์ปาอุดมสมบูรณ์หลากหลายชนิด

ก่อนหน้านี้ วัดบางคลาน มีเพียงกุฏิหลังคามุงแฝกอย่าง ง่าย ๆ เพียง 1 หลัง ที่ใช้เป็นสำนักสงฆ์ ภายหลังที่หลวงพ่อเงินมาจำพรรษาที่โพสถ์แห่งนี ท่านนำต้นโพธิ์มา 1 ต้น จากวัดคงคาราม มาตั้งไว้เพื่อความสงบร่มรื่นย์อีกด้วย

ประวัติ วัดบางคลาน หลวงพ่อเงิน พิจิตร

Advertisements

แนะนำสถานที่เที่ยวภายใน “วัดบางคลาน”

ในส่วนของ อาคารต่าง ๆ ภายในวัดบางคลาน ประกอบด้วย “พิพิธภัณฑ์นครไชยบวร” (Nakhon Si Thammarat National Museum) อันเป็นพิพิธภัณฑ์รูปมณฑป 2 ชั้น ชั้นบนประดิษฐานรูปหล่อเท่าองค์จริงของหลวงพ่อเงิน

ต่อมาเป็นบริเวณชั้นล่าง คือที่จัดแสดงโบราณวัตถุต่าง ๆ ที่ทางวัดได้สะสมและเก็บรักษาเอาไว้เพื่อการศึกษาและเป็นมรดกทางวัฒนธรรมไทย ส่วนใหญ่จะเป็นวัตถุที่มีผู้นำมาถวาย เช่น พระพุทธรูป พระพิมพ์ เครื่องปั้นดินเผา ฯลฯ

ประวัติ “หลวงพ่อเงิน” จังหวัดพิจิตร วัดบางคลาน

เปิดประวัติ “หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ” ชื่อเดิม “เงิน” เกิดวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2351 ตรงกับรัชกาลที่ 1 ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดบางคลาน จังหวัดพิจิตร

ประวัติเส้นทางภายใต้ร่มกาสาวพัสตร์ของพุทธศาสนาเริ่มต้นด้วยจากการที่ผู้เป็นลุงได้พามาท่านมาอยู่ที่ กรุงเทพมหานครฯ ศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่วัดชนะสงคราม เมื่ออายุได้ 3 ขวบ จากนั้นท่าน ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดชนะสงครามศึกษาพระธรรมวินัย คำภีร์มูลกัจจายน์ เวทมนตร์คาถาและวิทยาการต่าง ๆ จนแตกฉาน เมื่อมีอาขุได้ 12 ปี

กระทั่งเมื่อหลวงพ่อเงิน มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ท่านได้อุปสมบทที่ วัดชนะสงคราม มีฉายาว่า “พุทธโชติ” บวชได้ 3 พรรษา ก็ย้ายมาจำพรรษาที่วัดคงคาราม (วัดบางคลานใต้)

ต่อมาหลวงพ่อเงินในเวลานั้น ย้ายเข้าไปอยู่ที่ในหมู่บ้านวังตะโก อยู่ห่างจากวัดคงคารามคนละฝั่งเท่านั้น ตอนที่ย้ายจากวัดคงคาราม หลวงพ่อได้นำกิ่งโพธิ์ติดต้วมาด้วย 1 กิ่งแล้วนำกิ่งโพธิ์นั้นมาปลูกเสี่ยงทาย ความว่า ถ้าหากต้นโพธิ์ตายก็คงจะอยู่ไม่ได้ ถ้าหากที่นี่จะเป็นวัดได้ขอให้ต้นโพธิ์เจริญงอกงาม

ผลปรากฎว่า ต้นโพธิ์เจริญงอกงามแผ่กิ่งก้านสาขาใหญ่โต หลวงพ่อเงินก็ได้เป็นพระอุปัชฌาย์ที่นี่ด้วย จากนั้นภายหลังท่านเป็นเพื่อนกับหลวงปู่ศุข ซึ่งหลวงปู่ศุขก็ได้ฝากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์มาเป็นลูกศิษย์ด้วย หลวงพ่อเงินถึงแก่มรณภาพเมื่อ วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2462 สิริอายุได้ 111 ปี

ประวัติ วัดบางคลาน หลวงพ่อเงิน

ย้อนประวัติ “วัดบางคลาน” ปมขัดแย้ง 10 ปี ศาสนสมบัติของวัด

เรื่องราวเริ่มต้นขึ้น เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2566 ได้เกิดเหตุขัดแย้งเกี่ยวกับ เงินบริจาคและศาสนสมบัติของ “วัดหิรัญญาราม” หรือ”วัดบางคลาน” โดยรู้จักกันทั่วไปในฐานะ “วัดของหลวงพ่อเงิน” เคยมีเจ้าอาวาส คือ “หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ” แห่งอำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร โดยในยุคของ “หลวงพ่อเปรื่อง” ทางวัดมีรายได้จากการสร้างวัตถุมงคลรุ่นต่าง ๆ รวม ๆ แล้วหลักร้อยล้านบาท

จนต่อมา “หลวงพ่อเปรื่อง” ได้มรณภาพลง เมื่อปี พ.ศ. 2539 ทางวัดมีการแต่งตั้ง “พระครูวิสิฐสีลาภรณ์” ขึ้นมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส เหตุขัดแย้งต่าง ๆ จึงเริ่มต้นขึ้นจริงจังหลังจากนั้น เมื่อผู้ดูแลจัดการเงินของวัดอย่าง “ลุงเชวง” และ “อาจารย์พร” อ้างว่าปัญหาภายในวัดมาจาก

ความประพฤติที่ไม่เหมาะสมกับสมณเพศของ “พระครูวิสิฐสีลาภรณ์” เจ้าอาวาส (ในขณะนั้น) และการบริหารจัดการเงินวัด มีการทำโครงการก่อสร้างหลายโครงการ ซึ่งโยงไปถึงกับการจัดจ้างบริษัทรับเหมาซึ่งเกี่ยวข้องกับสีกาคนหนึ่ง ทั้งยังเริ่มมีผู้มีอิทธิพลระดับท้องถิ่น เข้ามามีเอี่ยวในการจัดสร้างวัตถุมงคล

ต่อมาในปี พ.ศ. 2557 ลุงเชวง ได้ร่างจดหมายร้องเรียนถึงเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ ให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของพระครูวิสิฐสีลาภรณ์ มีการตั้งคณะกรรมการไต่สวน ตามกฎหมายปกครองคณะสงฆ์และกฎมหาเถรสมาคม กระทั่งมีคำสั่งให้พระครูวิสิฐสีลาภรณ์ ยุติการปฏิบัติหน้าที่เจ้าอาวาส

ก่อนจะตั้งรักษาการเจ้าอาวาสรูปใหม่ คือ พระครูพิสุทธิวรากร อายุ 58 ปี พรรษา 39 วิทยะฐานะ นธ.เอก (นักธรรมเอก)- ศน.ม.(ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต) สาขาวิชา พุทธศาสนาและปรัชญา ให้เข้าไปตรวจสอบเงินบริจาคและศาสนสมบัติของทางวัด

จนเป็นเหตุให้มีดีฟ้องร้องเกี่ยวกับ การปลดเจ้าอาวาสรูปเดิม และตั้งรักษาการเจ้าอาวาสรูปใหม่ และวนเวียนเป็นปัญแบบนี้ต่อมาจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2565 เจ้าหน้าที่ได้ลงปิดล้อมพร้อมเตรียมยึดวัดหลวงพ่อเงินบางคลาน นานถึง 4 เดือน

ต่อมา พระครูวิสิฐสีลาภรณ์ อดีตเจ้าอาวาสที่เป็นคู่กรณี มรณภาพลง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เหล่าบรรดาลูกศิษย์และญาติพี่น้องต่างมาอ้างกรรมสิทธิ์และทรัพย์สินของอดีตเจ้าอาวาสในช่วงที่หาได้และมีในขณะที่บวชเป็นพระ ซึ่งยังเป็นคดีความค้างอยู่รอฟังคำพิพากษา

และยังรวมถึงปมปัญหาคลิปเสียงหลุด พระผู้ใหญ่ท่านหนึ่งในจังหวัด โทรศัพท์มาข่มขู่ ให้พระครูวิรุฬธรรมาภิรัติ เจ้าคณะอำเภอโพทะเล ให้ดำเนินการแต่งตั้งพระครูพิสุทธิวรากร เป็นเจ้าอาวาสวัดบางคลาน จนเกิดเหตุตะลุมบอลระหว่างชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ในปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2566

อ้างอิง : 1

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button