สุขภาพและการแพทย์ไลฟ์สไตล์

เช็กอาการ ‘ไวรัสแลงยา’ เชื้อโรคสายพันธุ์ใหม่ จ่อระบาดหนักแทนโควิด

รู้จัก “ไวรัส แลงยา” คือ ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ตระกูล Paramyxoviridae กลุ่มไวรัสเฮนิปา เช็กอาการคล้ายโควิด-19 ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ ปัจจุบันยังไม่พบผู้เสียชีวิต

เตรียมตั้งการ์ดระลอกใหม่ พร้อมแนวทางการป้องกัน “ไวรัสแลงยา” (Langya Virus) เป็นอีกหนึ่งไวรัสสายพันธุใหม่ จากตระกูล พารามิกโซไวรัส (Paramyxoviridae) กลุ่มไวรัสเฮนิปา (Langya henipavirus) หรือ LayV สามารถแพร่ระบาดได้จากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสู่คน (ยังไม่พบข้อมูลการแพร่ระบาดจากคนสู่คน)

Advertisements

มีอาการส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจเป็นหลัก เช่น มีไข้ ไอ และอ่อนเพลีย การแพร่เชื้อเกิดจากการสัมผัสกับสัตว์คล้ายหนูขนาดเล็ก (shew) แพทย์ไทยชี้ว่าอาจเกิดการระบาดครั้งใหม่แทนที่เชื้อไวรัสโควิด-19 (Covid-19) ในอนาคต

“ไวรัส แลงยา” คืออะไร? ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ อันตรายเทียบ โควิด-19

จากข้อมูลข้างต้นที่ว่า “ไวรัสแลงยา” (Langya Virus) คือ หนึ่งในไวรัสสายพันธุ์ใหม่ มีอาการส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจคล้ายกับโควิด-19 ได้มีการกล่าวถึงก่อนหน้า เมื่อวันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2566 โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้โพสต์บนเฟสบุ๊ค Center for Medical Genomics (ศูนย์จีโนมทางการแพทย์)

อ้างอิงข้อมูลจาก ดร.เอเรียล ไอแซกส์ และ ดร.หยู ชาง โลว์ นักวิจัยของ School of Chemistry and Molecular Biosciences แห่งมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ที่ได้ตีพิมพ์บทความ ลงในวารสารวิชาการทางการแพทย์ “Nature Communications” ในเดือนมิถุนายนนี้โดยระบุข้อความในโพสต์ดังกล่าวว่า

ขณะที่ภัยคุกคามจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ดูเหมือนกำลังจะกลายสภาพเป็นโรคประจำฤดูกาล และโรคประจำถิ่นตามลำดับ แต่กลับพบไวรัสกลุ่มใหม่ “เฮนิปา (henipavirus)” ที่มีลักษณะการระบาดคล้ายโควิด-19 เข้ามาแทนที่ เฮนิปาหกสายพันธุ์ที่พบทั้งหมด 6 สายพันธุ์ คือ

Advertisements
  • ไวรัสเฮนดรา (HeV)
  • ไวรัสนิปาห์ (NiV)
  • ซีดาร์ไวรัส (CedV)
  • ไวรัสโม่เจียง (MojV)
  • ไวรัสกานา (GhV)
  • ไวรัสเอ็ม 74 (M74V)

โดยในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565 ไวรัสลางยา (Langya, LayV) สมาชิกล่าสุดของไวรัสเฮนิปาถูกตรวจพบในกลุ่มผู้ป่วยที่มีไข้ในภาคตะวันออกของจีน

ดร.เอเรียล ไอแซกส์ และดร.หยู ชาง โลว์ นักวิจัยจาก School of Chemistry and Molecular Biosciences แห่ง “มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ” ประเทศออสเตรเลียได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยลงในวารสารวิชาการทางการแพทย์ “Nature Communications” ในเดือนนี้ (มิถุนายน 2566)

ชี้ให้เห็นว่ามีความสุ่มเสี่ยงสูงมากที่เชื้อ“ไวรัสแลงยา ในกลุ่มเฮนิปาที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก กำลังจะมีการแพร่ระบาดใหญ่ในมนุษย์ แม้ว่าขณะนี้ยังไม่พบการแพร่ระบาดระหว่างคนสู่คนก็ตาม

แต่กลับพบการแพร่ระบาดจากสัตว์สู่คนของไวรัสแลงยาและกลุ่มสมาชิกถี่ขึ้นเป็นลำดับ และหากเกิดการกลายพันธุ์เพียงไม่กี่ตำแหน่งบนจีโนมที่ส่งผลให้ส่วนหนามของไวรัสเข้าจับกับเซลล์มนุษย์ได้ดีขึ้นจะช่วยให้ไวรัสแลงยาสามารถก้าวข้ามจากสัตว์มาระบาดในหมู่คนได้

เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นกับไวรัสโคโรนา 2019 ในอดีต ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดีได้เตรียมพร้อมตรวจสอบรหัสพันธุกรรมอย่างรวดเร็ว (mass array genotyping) เพื่อตรวจจับไวรัสแลงยาดังกล่าวจากสิ่งส่งตรวจแล้ว

ไวรัส แลงยา คืออะไร

วิเคราะห์อาการ “ไวรัส แลงยา” จากองค์การอนามัยโลก

องค์การอนามัยโลก และนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกคาดคะเนว่าภัยคุกคามโรคติดเชื้อที่จะระบาดไปทั่วโลก (Pandemic) กับมนุษยชาติครั้งต่อไปนอกเหนือจากไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่หรือไวรัสไข้หวัดนกแล้ว อาจเป็นกลุ่มไวรัสเฮนนิปา อันประกอบไปด้วยไวรัส แลงยา (Langya) โม่เจียง (Mòjiāng) นิปาห์ (Nipah) และเฮนดรา (Hendra) ฯลฯ ซึ่งจัดอยู่ในตระกูล Paramyxoviridae

ไวรัสแลงยา

ไวรัสแลงยา เป็นเชื้อโรคไวรัสติดต่อจากสัตว์มาสู่คน พบครั้งแรกในชาวไร่จำนวน 35 คนในมณฑลซานตงและเหอหนานของประเทศจีน ในปี พ.ศ. 2565

  • ตระกูล: Paramyxoviridae
  • สกุล: Henipavirus
  • การแพร่เชื้อ: สัมผัสกับสัตว์คล้ายหนูขนาดเล็ก (shew)
  • อาการ: อาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น มีไข้ ไอ และอ่อนเพลีย
  • อัตราการเสียชีวิต: ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต

ไวรัสโม่เจียง

ไวรัสโม่เจียง ที่ถูกค้นพบในปี 2555 ในหนูในเหมือง Tongguan ในเมืองโม่เจียง ประเทศจีน คนงานเหมืองหกคนป่วยด้วยอาการคล้ายโควิด และสามคนเสียชีวิต ที่น่าแปลกคือพบไวรัสโคโรนาจากค้างคาวที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 อยู่ในเหมืองนั้นด้วย

  • ตระกูล: Paramyxoviridae
  • สกุล: Henipavirus
  • การแพร่เชื้อ: สัมผัสกับค้างคาวในถ้ำ
  • อาการ: อาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น มีไข้ ไอ และอ่อนเพลีย
  • อัตราการเสียชีวิต: 50%

ไวรัสนิปาห์

ไวรัสนิปาห์ เกิดขึ้นในมาเลเซียและสิงคโปร์ในปี 2542 ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อเกือบ 300 รายและเสียชีวิตมากกว่า 100 ราย มีการบันทึกการระบาดเกือบทุกปีในบางส่วนของเอเชียตั้งแต่นั้นมา ส่วนใหญ่ในบังกลาเทศและอินเดีย

  • ตระกูล: Paramyxoviridae
  • สกุล: Henipavirus
  • การแพร่เชื้อ: สัมผัสกับของเหลวจากค้างคาวหรือหมูที่ติดเชื้อ
  • อาการ: มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ อาเจียน กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลัน
  • อัตราการเสียชีวิต: 40-75%
  • การระบาดครั้งแรกของไวรัสนิปาห์เกิดขึ้นในมาเลเซียและสิงคโปร์ในปี พ.ศ. 2542 ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อเกือบ 300 รายและเสียชีวิตมากกว่า 100 ราย มีการบันทึกการระบาดเกือบทุกปีในบางส่วนของเอเชียตั้งแต่นั้นมา ส่วนใหญ่ในบังกลาเทศและอินเดีย

ไวรัสเฮนดรา

ไวรัสเฮนดรา พบการระบาดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537 ในเมืองเฮนดรา ชานเมืองบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งมีม้า 13 ตัวและครูฝึกเสียชีวิต 1 คน

  • ตระกูล: Paramyxoviridae
  • สกุล: Henipavirus
  • การแพร่เชื้อ: สัมผัสกับของเหลวจากม้าติดเชื้อ มีรังโรคอยู่ในค้างคาว
  • อาการ: มีไข้ ไอ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ เวียนศีรษะ
  • อัตราการเสียชีวิต: 60-75%
  • การระบาดครั้งแรกของไวรัสเฮนดราเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2537 ในเมืองเฮนดรา ชานเมืองบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งมีม้า 13 ตัวและครูฝึกเสียชีวิต 1 คน

ไวรัส SARS-CoV-2 (โควิด-19)

โรคโควิด 19 คือโรคติดต่อ เกิดจากไวรัสโคโรนาชนิดที่มีการ ค้นพบล่าสุด เริ่มต้นการระบาดที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน เมื่อเดือนธันวาคมปี ค.ศ. 2019 โดยขณะนี้ โรคโควิด19 มีการระบาดใหญ่ไปทั่วโลก ส่งผลกระทบแก่หลายประเทศ

องค์การอนามัยโลก และกรมควบคุมโรค สหรัฐอเมริกา มีรายงานผู้ป่วยโควิด-19 รายแรกในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ในเดือนธันวาคม 2562 ไวรัสแพร่กระจายอย่างรวดเร็วไปยังส่วนอื่น ๆ ของจีน ซึ่งนำไปสู่การแพร่ระบาดไปทั่วโลก (Pandemic) ตั้งแต่นั้นมา ผู้คนนับล้านทั่วโลกเสียชีวิตจากโควิด-19 โดยมีรายงานจำนวนผู้เสียชีวิตสูงสุดในสหรัฐอเมริกา บราซิล อินเดีย และเม็กซิโก

  • วงตระกูล: Coronaviridae
  • สกุล: Betacoronavirus
  • การแพร่เชื้อ: ละอองทางการหายใจ, การสัมผัสใกล้ชิด
  • อาการ: มีไข้ ไอ หายใจถี่ สูญเสียการรับรสหรือได้กลิ่น
  • อัตราการเสียชีวิต: แตกต่างกันไปตามอายุและสภาวะสุขภาพพื้นฐาน แต่คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 1-2% จากรายงานจาก

ทั้งนี้ ไวรัสโม่เจียง เฮนดรา และ นิปาห์ ผู้ติดเชื้อจะมีอัตราการตายสูงกว่า 40-70% เป็นไวรัสที่สายจีโนมเป็น “อาร์เอ็นเอ” เมื่อติดเชื้อจะทำให้เกิดไข้และอาการระบบทางเดินหายใจอักเสบรุนแรง และอาจนำไปสู่โรคปอดบวมถึงแก่ชีวิตได้ เช่นเดียวกับโควิด-19

รูปแบบการติดเชื้อของ “ไวรัสแลงยา”

ไวรัสแลงยาพบมีการติดเชื้อในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น มนุษย์ สุนัข แพะ และคาดว่าสัตว์รังโรคดั้งเดิมของมันคือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กคล้ายหนู มีปากยาวแหลม(shrews) ยังไม่มีรายงานการเสียชีวิตเนื่องจากไวรัสแลงยาเป็นไวรัสอุบัติใหม่และยังไม่พบว่าไวรัสแลงยาสามารถแพร่เชื้อติดต่อจากคนสู่คน

นักวิจัยเตือนว่าไม่ใช่ครั้งแรกที่ไวรัสแลงยาแพร่ระบาดมาสู่ผู้คน และมันจะไม่ใช่ครั้งสุดท้าย ไวรัสตัวนี้ค่อนข้างใหม่ (สำหรับมนุษย์) ที่อาจก่อให้เกิดภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพทั่วโลก และมีความคล้ายคลึงกันอย่างน่ากังวลเช่นเดียวกับไวรัสโคโรนาที่มีการระบาดในมนุษย์ไปทั่วโลก

ดร.เอเรียล ไอแซกส์ และทีมวิจัยได้ค้นพบโครงสร้างของโปรตีนบนหนามของไวรัสที่เรียกว่า “ฟิวชันโปรตีน” หน้าที่ของฟิวชันโปรตีนคือทำหน้าที่เสมือนเป็นสะพานนำพาไวรัสแลงยาเข้าสู่เซลล์ โดยหลอมรวมผนังหุ้มของไวรัสเข้ากับเยื่อหุ้มเซลล์ของผู้ติดเชื้อ ทำให้ไวรัสสามารถเข้าไปภายในเซลล์และเริ่มการแบ่งตัวภายในเซลล์ติดเชื้อได้

ทีมวิจัยได้ศึกษาโครงสร้างฟิวชันโปรตีนในระดับอะตอมโดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไครโอเจนิกของศูนย์จุลทรรศน์และการวิเคราะห์อนุภาคไวรัสของมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย

การเข้าใจโครงสร้างและวิธีการเข้าสู่เซลล์ของไวรัสแลงยาถือเป็นขั้นตอนสำคัญของการพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันและยาต้านไวรัสเพื่อการรักษาต่อสู้กับการติดเชื้อไวรัสแลงยา ไวรัสโม่เจียง ไวรัสนิปาห์ และไวรัสเฮนดรา ในตระกูลของ Paramyxoviridae

“ขณะนี้ยังไม่มีการรักษาหรือวัคซีนสำหรับไวรัสกลุ่มนี้ และพวกมันมีศักยภาพสูงที่องค์การอนามัยโลกให้เฝ้าติดตามการระบาดในวงกว้าง”

ศาสตราจารย์ แดเนียล วัตเตอร์สัน (Daniel Watterson) นักวิจัยอาวุโสในโครงการ กล่าวว่าพวกเขาพบว่าโครงสร้างฟิวชันโปรตีนในส่วนหนามของไวรัสแลงยา เหมือนกับไวรัสโม่เจียง และคล้ายคลึงกับไวรัสเฮนดราและไวรัสนิปาห์ แต่มีความแตกต่างกันในแง่ของแอนติเจนกับไวรัสเฮนดราและไวรัสนิปาห์ ทำให้วัคซีนที่พัฒนาต่อไวรัสแลงยาอาจไม่ครอบคลุมป้องกันการติดเชื้อไวรัสเฮนดรา และไวรัสนิปาห์ได้

“ไวรัสเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดโรคร้ายแรงที่มีโอกาสที่จะควบคุมไม่ได้หากเราไม่เตรียมพร้อมอย่างเหมาะสม” ดร. วัตเตอร์สันกล่าว

“เราได้เห็นว่าโลกไม่ได้เตรียมตัวอย่างไรสำหรับการระบาดของไวรัสโควิด-19 ดังนั้นเราต้องเตรียมพร้อมมากกว่านี้สำหรับการระบาดครั้งต่อไปของโรคอุบัติใหม่”

ในตอนนี้ทีมวิจัยเร่งศึกษาส่วนหนามเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาวัคซีนที่สามารถใช้ฉีดป้องกันไวรัสสายพันธุ์ย่อยได้ทั้งหมด (broad-spectrum vaccine) รวมทั้งการพัฒนายาต้านไวรัสเพื่อการรักษาโรคติดเชื้อไวรัส แลงยา, โม่เจียง, นิปาห์, และเฮนดราของตระกูล Paramyxoviridae

สามารถศึกษางานวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Communications ได้ที่ลิงก์นี้ : https://www.nature.com/articles/s41467-023-39278-8

อ้างอิง : 1

แลงยาไวรัส คืออะไร

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button