ข่าว

สำรวจความพร้อม รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ก่อนเปิดทดลองนั่งฟรี 1 เดือน 3 มิ.ย.นี้

รถไฟฟ้าสายสีเหลืองเปิดให้บริการ ทดลองนั่งฟรี 1 เดือน เริ่มวันที่ 3 มิถุนายนนี้ ก่อนประเมินเก็บค่าโดยสาร อำนวยความสะดวกประชาชน เชื่อมต่อรถไฟ-รถไฟฟ้า 4 สาย

คนขึ้นรถไฟฟ้า BTS เป็นประจำต้องรู้เดี๊ยวนี้ ! หลังจากวันที่ 29 พฤษภาคม 2566 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผย ถึงผลตรวจสอบและประเมินความพร้อมของงานโยธาตลอดจนงานระบบไฟฟ้าทั้งหมด ของโครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร (กม.) เสร็จเรียบร้อยแล้ว

เบื้องต้นจะเปิดให้บริการประชาชนในรูปแบบทดลองใช้บริการฟรี ตั้งแต่วันที่ 3 มิ.ย. 66 ไปก่อนประมาณ 1 เดือน จากนั้นจะประเมินเรื่องการเปิดให้บริการประชาชนเก็บค่าโดยสารเต็มรูปแบบอีกครั้ง

ทั้งนี้ ในช่วงการให้ทดลองใช้บริการฟรี อาจมีงานบางอย่างที่ไม่สมบูรณ์ 100% แต่ไม่เกี่ยวกับความไม่ปลอดภัย อาทิ รถอาจเคลื่อนจอดไม่ตรงประตูบ้าง เป็นต้น

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง

รายละเอียด โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง เป็นรถไฟฟ้าโมโนเรลสายแรกในประเทศไทย

  • 23 สถานี
  • ค่าโดยสารเริ่มต้น 15 บาท สูงสุด 45 บาท
  • ระยะแรกจะเปิดให้บริการ 4 ตู้ต่อขบวน รองรับผู้โดยสารได้ 17,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
  • รถไฟ 1 ขบวน รองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 1,000 คน

ทั้งนี้ สามารถเพิ่มตู้โดยสารได้สูงสุด 7 ตู้ต่อขบวน รองรับผู้โดยสารได้ 28,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ความเร็วในการให้บริการโดยเฉลี่ย นานเท่าไหร่ ?

สำหรับความเร็วในการให้บิรการ รถไฟฟ้าสายสีเหลืองจะใช้ความเร็วในการให้บริการเฉลี่ย 35 กม.ต่อ ชม. ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 80 กม.ต่อชม. มีแผนจัดรถให้บริการ 19 ขบวน (30 ขบวนในอนาคต) ใช้ความถี่การให้บริการ ช่วงเวลาเร่งด่วน 5 นาทีต่อขบวน และช่วงเวลาปกติ 10 นาทีต่อขบวน ใช้ระยะเวลา 45-50 นาทีต่อการเดินทาง

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีเหลือง

ไปดูเส้นทางวิ่ง ให้บบริการ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ?

ในส่วนของแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลือง เริ่มต้นที่แยกรัชดา-ลาดพร้าว วิ่งไปตามถนนลาดพร้าว จนถึงแยกบางกะปิ และเลี้ยวขวาไปตามถนนศรีนครินทร์

  • ผ่านแยกศรีนุช ศรีอุดม ศรีเอี่ยม จนถึงแยกศรีเทพา เลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนเทพารักษ์
  • สิ้นสุดที่จุดตัดถนนสุขุมวิท ที่สถานีสำโรง

ทั้งนี้ มี 4 สถานีเชื่อมต่อรถไฟ-รถไฟฟ้าสายหลัก เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้ประชาชน ได้แก่

  1. สถานีรัชดา เชื่อมต่อรถไฟฟ้า MRT สายเฉลิมรัชมงคล (สีน้ำเงิน)
  2. สถานีลำสาลี เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)
  3. สถานีพัฒนาการ เชื่อมต่อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รถไฟสายตะวันออก
  4. สถานีสำโรง เชื่อมต่อรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ

สำหรับข้อมูลที่หลายคนกำลังสงสัยหนัก เรื่องค่าโดยสารรถไฟสายสีเหลืองน้น ข่าสล่าสุดเกี่ยวกับอัตราค่าบริการ เบื้องต้น รฟม. เสนอกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาแล้ว หากเห็นชอบจะเข้าสู่ขั้นตอนประกาศในราชกิจจานุเบกษา และต้องประกาศล่วงหน้าให้ประชาชนทราบก่อนเก็บค่าโดยสาร 30 วัน สำหรับการเสนอเรื่องอัตราค่าโดยสารให้ ครม. พิจารณา ไม่จำเป็นต้องรอรัฐบาลชุดใหม่ เนื่องจากเรื่องดังกล่าวเป็นขั้นตอนตามกฎหมาย ไม่ได้เป็นภาระทางการเงินของรัฐบาลแต่อย่างใด

ทั้งนี้ หาก EBM สามารถเปิดให้บริการเดินรถได้อย่างเป็นทางการแล้ว รฟม. ต้องจ่ายเงินค่าสนับสนุนงานก่อสร้างปีละ 2,505 ล้านบาท ให้แก่ EBM เป็นระยะเวลา 10 ปีตามสัญญา รวมเป็นเงิน 25,050 ล้านบาทด้วย.

รถไฟฟ้าโมโนเรล สายสีเหลือง

 

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button