ข่าว

เช็กอาการ โควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB 1.16 ร้ายแรงแค่ไหน หวั่น ติดง่ายกว่าเดิม 2 เท่า

อาการโควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB 1.16 ร้ายแรงแค่ไหน กรมควบคุมโรค เตือนคนไทยอย่าชะล่าใจ หลังพบผู้ป่วยโควิดรายใหม่เพิ่มขึ้น 2.5 เท่าของสัปดาห์ก่อนหน้า

เป็นข้อสงสัยที่หลายคนกำลังต้องการความชัดเจน กรณีพบการแพร่ระบาดขอไวรัสสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16 หลังจาก กรมควบคุมโรค พบผู้ป่วยโควิดรายใหม่เพิ่มขึ้น 2.5 เท่าของสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเป็นผู้ป่วยอาการหนักต้องใส่เครื่องช่วยหายใจเพิ่มขึ้นร้อยละ 36

Advertisements

โดยประเด็นคำถามซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับความกังวลตัวเลขการแพร่ระบาดของเจ้า XBB.1.16 ที่คาดว่าจะสูงขึ้นหลังสงกรานต์ ที่ ณ เวลานี้มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจากโควิดเชื้อโอมิครอนลูกผสม สายพันธุ์ XBB.1.16 ซึ่งติดเชื้อได้ง่ายดายกว่าเดิม 2 เท่าในประเทศไทยพบผู้ป่วยแล้ว ทั้งสิ้น 6 ราย

โควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB 1.16 อาการ
ภาพ @chulalongkornhospital.go.th

คำถาม คือ โควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB 1.16 ร้ายแรงแค่ไหน อาการเป็นยังไง ติดแล้วกี่วันหาย ?

อ้างอิงข้อมูลจาก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระบุ ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์ XBB คือ สายพันธุ์ที่อาจจะระบาดเพิ่มสูงขึ้นในประเทศไทยในปี 2566 นี้ โดยไวรัสดังกล่าวเป็นลูกผสมสายพันธุ์ย่อยที่มีต้นตระกูล จาก Omicron BA.2

คาดว่าไวรัส XBB ก็อาจมีการกลายพันธุ์ เกิดเป็นสายพันธุ์ย่อยต่อไปได้อีกอย่างรวดเร็ว โดยผู้ป่วยมีอาการเยื่อบุตาอักเสบ หากอยู่ในพื้นที่มีฝุ่น PM 2.5 หนาแน่นจะทำให้มีอาการหนักเพิ่มขึ้น

ที่สำคัญ *คนที่ไม่เคยติดโควิดมาก่อน จะมีความรุนแรงของโรค หนักกว่าคนที่เคยเป็นโควิดมาแล้ว

อาการโควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16

  • มีไข้สูง
  • ไอ
  • จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส
  • เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง ลักษณะคล้ายตาแดง มีผื่นคัน (ผู้ที่มีโรคประจำตัวเช่น เยื่อบุตาอักเสบ ภูมิแพ้ ควรระมัดระวัง)

คุณสมบัติของ COVID-19 สายพันธุ์ XBB

Advertisements
  • ติดต่อง่ายขึ้น
  • หลบหลีกภูมิคุ้มกันได้ดี ไม่ว่าจะจากการฉีดวัคซีนหรือภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (LAAB)
  • เกิดการติดเชื้อซ้ำได้ง่ายขึ้น

คำแนะนำจากแพทย์

ทั้งนี้ จากรายงานการระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอนลูกผสมใหม่ดังกล่าว “ยังไม่พบว่ามีความรุนแรง” และเสียชีวิตสูงเหมือนสายพันธุ์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะในผู้ที่ได้รับวัคซีน mRNA เข็มกระตุ้นแล้ว ซึ่งช่วยลดโอกาสเกิดโรครุนแรงได้มาก ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง จึงควรเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นเพิ่มเติม โดยเฉพาะช่วงที่มีการระบาดสูง.

สถานการณ์โควิดรอบสัปดาห์ในไทย กรมควบคุมโรค
ภาพ @กรมควบคุมโรค

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button