สรุปชัด ‘ปลุกพยนต์’ กับ ‘หุ่นพยนต์’ ต่างกันยังไง รู้ก่อนหนังฉายวันนี้
ผู้กำกับเคลียชัด ไขข้อสงสัย ‘ปลุกพยนต์’ กับ ‘หุ่นพยนต์’ ต่างกันอย่างไรบ้าง เผยระดับเรทความรุนแรง ความยาวภาพยนตร์ และรอบวันฉายทั้งสองเวอร์ชั่น
ทีมงาน Thaiger ชวนผู้อ่านเตรียมตัวดูภาพยนตร์ไทยสยองขวัญแห่งยุคกับเรื่อง ‘ปลุกพยนต์’ เข้าโรงฉายแล้ววันนี้ พุธที่ 12 เมษายน 2566 เนื้อเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อ ของขลัง และศรัทธาของหมู่บ้าน ดอนสิงธรรม ที่มีความเชื่อว่าหากใครเสียชีวิตให้นำกระดูกมาใส่ไว้ในหุ่นเพื่อให้คนที่นี่ได้กราบไหว้บูชา เพราะเชื่อกันว่าจะหุ่นพยนต์จะคอยปกปักรักษาคุ้มครองให้อยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข จนกระทั่งได้เกิดเหตุการณ์แปลกประหลาด เมื่อพี่ชายของ ธาม ได้มาบวชศึกษาพระธรรมก่อนที่จะหายสาบสูญ การค้นหาจึงเริ่มต้นขึ้น พร้อมกับเรื่องราวชวนสยองกับความลับพิธีกรรมโบราณที่ค่อย ๆ ถูกเปิดเผยออกมา
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ได้มีประเด็นดราม่าเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนแก้ไขตัวบทหนัง รวมไปถึงกำหนดการเข้าฉายอย่างเป็นทางการ เนื่องจากว่าภาพยนตร์ในชื่อเดิมว่า “หุ่นพยนต์” ไม่ผ่านกองเซ็นเซอร์ในด้านเรทความรุนแรง จนสุดท้ายต้องทำออกมาเป็นเวอร์ชั่น “ปลุกพยนต์” ที่เข้าฉายแล้วในวันพุธที่ 12 เมษายน 2566 ต้อนรับเทศกาลวันสงกรานต์ 2566 ปีนี้
อ่านข่าวหนังใหม่เพิ่มเติมได้ที่นี่
“ปลุกพยนต์” ต่างกับ “หุ่นพยนต์” ยังไง?
สำหรับภาพยนตร์เรื่อง หุ่นพยนต์ และ ปลุกพยนต์ สิ่งหนึ่งที่เราเห็นความแตกต่างชัดเจนก็คือ เรทการฉายของหนังที่มีทั้ง ฉ.20- ที่ต้องตรวจบัตรประชาชนของ หุ่นพยนต์ และเรท น.18+ ไม่ตรวจบัตรประชาชนของ ปลุกพยนต์ ซึ่งถ้าสังเกตตัวความยาวของหนังแล้ว ฉบับหลังมีความยาวมากกว่าประมาณ 4 นาที งานนี้จึงอดคิดไม่ได้ว่า ความต่างกันนี้หากเลือกดูเพียงเรื่องเดียวจะทำให้ได้รับอรรถรสไม่ครบถ้วนหรือไม่?
ทางด้านผู้กำกับภาพยนตร์ ไมค์ ภณธฤต ได้ออกมาเคลียร์ชัด พร้อมอธิบายความแตกต่างของภาพยนตร์ทั้ง 2 เวอร์ชั่นว่า ในฉบับ น.18+ (ปลุกพยนต์) ได้มีการใส่คำอธิบายทั้งเหตุและผลของการกระทำที่มีความชัดเจนกว่าฉบับ ฉ.20- (หุ่นพยนต์) โดยที่เนื้อเรื่อง หรือใจความหลักของภาพยนตร์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่แต่อย่างใด
สรุปแล้วความแตกต่างระหว่าง ปลุกพยนต์ และ หุ่นพยนต์ ไม่ว่าจะเลือกดูเวอร์ชั่นไหน ทุกคนก็สามารถที่จะได้รับสิ่งที่ตัวหนังต้องการนำเสนอครบถ้วน เพียงแค่ในฉบับ น.18+ จะสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายกว่าเท่านั้นเอง
นอกจากนี้แล้วยังมีการให้คำแนะนำถึง คุณพ่อคุณแม่ที่อยากจะพาลูก ๆ ไปดูภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยกันในโรงภาพยนตร์ ในกรณีที่อายุของเด็ก ๆ อาจจะไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ผู้กำกับก็แนะนำให้ดู ปลุกพยนต์ ก็สามารถสนุกสนาน ได้รับข้อคิด และความบันเทิงที่ไม่แตกต่างกัน ส่วนถ้าใครอยากจะดูภาพยนตร์ในฉบับที่เปิดกว้างให้สามารถตีความเรื่องราวบางส่วนได้ตามแต่วิจารณญาณของตนก็คงต้องเป็นเวอร์ชั่น หุ่นพยนต์ แทน
ตารางเทียบความต่างของ “หุ่นพยนต์” และ “ปลุกพยนต์”
สำหรับการเทียบความแตกต่างของทั้งสองเวอร์ชั่นจาก “หุ่นพยนต์” และ “ปลุกพยนต์” จะแบ่งออกเป็นเรทอายุการเข้ารับชม, เนื้อหา, ความยาวหนัง และผลตรวจ โดยมีรายละเอียดดังนี้
หุ่นพยนต์
- เรทอายุการเข้าขม : สำหรับอายุ 20 ปี ขึ้นไป (ต้องตรวจบัตรประชาชน)
- ความยาวหนัง : 1:47 ขั่วโมง
- เนื้อหา : เล่าหมดทุกประเด็นไม่มีกั๊ก
- ผลการตรวจ : 7 มีนาคม 2566
- วันเข้าฉาย : 12 เมษายน 2566
ปลุกพยนต์
- เรทอายุการเข้าขม : เหมาะสำหรับผู้ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป และต้องได้รับคำแนะนำจากผู้ปกครอง
- ความยาวหนัง : 1:51 ขั่วโมง
- เนื้อหา : เพิ่มฉากเคลียร์ทุกปมประเด็น
- ผลการตรวจ : 27 มีนาคม 2566
- วันเข้าฉาย : 12 เมษายน 2566
อ้างอิง : 1