ประวัติ ‘คุณกานต์ญาดา’ จากเจ้าของร้านอาหาร สู่ช่างภาพ ‘จิบลิ (Ghibli)’
เมื่อพูดถึงอนิเมชั่นในดวงใจของใครหลาย ๆ ก็มักจะมีเรื่อง Spirited Away, Ponyo, My Neighbor Totoro หรือเคยเสียน้ำตากับเรื่อง Grave of the Fireflies ซึ่งล้วนเป็นผลงานจาก Studio Ghibli ที่นำทัพมาโดยโปรดิวเซอร์มือดีอย่าง อาจารย์โทชิโอะ ซูซูกิ (Toshio Suzuki)
การจะจะก้าวเข้ามาอยู่ในบริษัทที่มีรางวัลออสการ์การันตีความสำเร็จมาขนาดนี้ ต้องไม่ธรรมดาอย่างแน่นอน ซึ่งก็มีสาวไทยอย่าง คุณเมย์ กานต์ญาดา พระแท่น ในตำแหน่งช่างภาพด้วยเช่นกัน
แต่รู้หรือไม่ว่ากว่าที่คุณเมย์ กานต์ญาดา จะมาถึงจุดนี้ได้ไม่ธรรมดา เพราะเธอนั้นเคยเป็นถึงเจ้าของร้านอาหารย่านสุขุมวิท แถมชื่อของเธอ ยังเป็นแรงบัลดาลใจให้กับตัวละครในการ์ตูนจิบลิอีกด้วย วันนี้ Thaiger จะพาทุกคนไปเจาะลึกประวัติ ของ คุณเมย์ กานต์ญาดา คนนี้กัน
ประวัติ คุณกานต์ญาดา ช่างภาพสาวไทย พรวรรค์แห่ง จิบลิ (Ghibli)
คุณกานต์ญาดา พระแท่น ชื่อเล่น เมย์ ในอดีตเคยเปิดร้านอาหารไทยชื่อ May’s Garden House Restaurant ในซอยสุขุมวิท 29 โดยได้เงินทุนช่วยเหลือจาก โทชิโอะ ซูซูกิ (Toshio Suzuki) หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Studio Ghibli ก่อนจะปิดตัวลงในปี 2018
ความสัมพันธ์ของคุณการต์ญาดา กับ โทชิโอะ ซูซูกิ ทั้งสองพบกันหลายปีก่อน จากการที่เดินทางมาเที่ยวที่ประเทศไทย แล้วไปเที่ยวที่ร้านอาหารอีสานร้านหนึ่งใน อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นของฝ่ายหญิง และขณะคบหาดูในนั้น เขายังยกลิขสิทธิ์ตัวการ์ตูนจิบลิให้หญิงสาวมาใช้
นอกจากนี้ชื่อของ คุณเมย์ กานต์ญาดา เป็นแรงบันดาลใจให้กับ เมย์ ตัวละครน้องสาวจากเรื่อง My Neighbor Totoro อีกด้วย
ชื่อของคุณกานต์ญาดา เริ่มเป็นที่พูดถึงมากขึ้นในปี 2020 จากการที่ โทชิโอะ ซูซูกิ ได้สร้างให้เธอเป็นช่างภาพในชื่อ “กานต์ญาดา” ด้วยการตีพิมพ์ภาพถ่ายและบทกวีที่ระบุว่าเป็นฝีมือของเธอเป็นประจำทุกเดือนในชื่อ จากปักธงชัย ‘From Pak Thong Chai’ ลงใน Neppu จุลสารรายเดือนที่จัดพิมพ์โดยสตูดิโอจิบลิ
จากนั้น มอบหมายให้เธอถ่ายภาพพิพิธภัณฑ์จิบลิ พร้อมตีพิมพ์รวมเล่มในชื่อ Mitaka no Mori Ghibli Museum, The Tale of Ghibli Museum รวมถึงหนังสือภาพ “KANYADA”(Toseisha) ซึ่งเป็นการรวบรวมภาพทิวทัศน์ของปักธงชัย ประเทศไทย ตีพิมพ์ออกมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2022
โทชิโอะ ซูซูกิ ยังมีการจัดงานอีเว้นท์ นิทรรศภาพถ่าย ออกงานแจกลายเซ็นคู่กับเธอ เพื่อพยายามชูบทบาทและความสำคัญของหญิงไทยคนนี้อยู่ตลอด รวมถึงประเทศไทยเมื่อช่วงต้นปีพ.ศ. 2565 ในชื่อ My style, My ghibli ซึ่งเป็นการจัดร่วมกันระหว่าง ยูนิโคล่ ประเทศไทย กับ สตูดิโอจิบลิ