ดูดวงไลฟ์สไตล์

ตัดเล็บวันไหนดี 2567 ทั้งผู้ชาย ผู้หญิง ตัดเล็บวันไหนให้โชค-ทำดวงตก

เด็กเจน Z หลายคนน่าจะสงสัย เวลาคุณยาย พ่อแม่ห้ามตัดเล็บตอนกลางคืน บอกว่าจะโชคร้าย มันเกี่ยวกันยังไงหว่า หรือทำไมบางคนถึงเลือกวันตัดเล็บอย่างพิถีพิถัน? ห้ามตัดเล็บวันพุธ ความเชื่อเรื่องการตัดเล็บนั้นฝังรากลึกในวัฒนธรรมไทยมาอย่างยาวนาน และยังคงมีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของคนไทยจำนวนไม่น้อยจนถึงปัจจุบัน มาร่วมไขปริศนาความเชื่อนี้ไปพร้อมกัน และค้นหาว่าในปี 2567 นี้ วันไหนคือวันที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการตัดเล็บให้โชคดี

ที่มาของความเชื่อเรื่องการตัดเล็บ จากอดีตสู่ปัจจุบัน

ความเชื่อเรื่องการตัดเล็บในสังคมไทยนั้นมีรากฐานมาจากคติความเชื่อทางพุทธศาสนาและพราหมณ์-ฮินดู ผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น บรรพบุรุษของเราเชื่อว่าเล็บเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายที่มีความสำคัญ การตัดเล็บจึงต้องทำด้วยความระมัดระวังและเลือกวันเวลาที่เหมาะสม หากทำให้เวลาไม่สมควรจะทำให้นำโชคร้าย ดวงซวยมาสู่ผู้ละเมิด

Advertisements

ความเชื่อเรื่องการตัดเล็บไม่ได้มีเฉพาะในประเทศไทย แต่พบได้ในหลายวัฒนธรรมทั่วโลก เช่น ญี่ปุ่นเชื่อว่าการตัดเล็บตอนกลางคืนจะทำให้ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ตอนแก่ และเป็นการเรียนวิญญาณมาตอมพลังชีวิตเรา, อินเดีย มีการกำหนดวันตัดเล็บตามโหราศาสตร์อย่างละเอียด และตะวันออกกลาง เชื่อว่าไม่ควรตัดเล็บในวันศุกร์ซึ่งเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น

วันมงคลสำหรับการตัดเล็บในปี 2567

ผู้ชาย

  1. วันอาทิตย์ ตัดเล็บแล้วช่วยเสริมบารมี เพิ่มพลังอำนาจ
  2. วันอังคาร ตัดเพื่อช่วยเสริมความกล้าหาญ ชัยชนะ
  3. วันพฤหัสบดี จะเสริมปัญญา การงาน การเงิน

ผู้หญิง

  1. วันจันทร์ เสริมเสน่ห์ ความอ่อนโยน
  2. วันพุธ เสริมไหวพริบ การสื่อสาร
  3. วันศุกร์ เสริมความรัก ความสัมพันธ์

หมายเหตุ: วันเสาร์ถือเป็นวันกลาง สามารถตัดเล็บได้ทั้งชายและหญิง แต่ควรเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสม

วันที่ควรหลีกเลี่ยงการตัดเล็บ

  1. วันขึ้น 8 ค่ำ และแรม 8 ค่ำ เชื่อว่าจะทำให้เกิดอุปสรรคในชีวิต
  2. วันพระ ถือเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ ควรทำบุญมากกว่า ถ้าจะตัดเลี่ยงไปตัดเล็บวันโกน ก่อนหน้าวันพระ 1 วันแทน
  3. วันเกิดของตนเอง อาจส่งผลให้โชคลาภเสื่อมถอย

ตัดเล็บวันไหนดี 2567

ห้ามตัดเล็บวันพุธจริงหรือ

ทีมข่าวไทยเกอร์ไปค้นข้อมูลจากตำราโบราณมา ไม่ปรากฎว่าห้ามตัดเล็บวันพุธ ที่คนจำว่า ตัดเล็บวันพุธจะทำให้ป่วยไข้ น่าจะสับสันกับความเชื่อเรื่อง “ห้ามตัดผมวันพุธ” ที่เชื่อว่าเป็นวันไม่มงคล แท้จริงมาจากสมัยโบราณที่วันนั้น พระเจ้าแผ่นดินและขุนนางจะตัดผม ได้เรียกช่างทั้งหมดเข้าวัง หากสามัญชนคนใด ตัดผมวันเดียวกัน เท่ากับตีตนเสมอเจ้า ขี้กลากจะกินหัว

มองความเชื่อการตัดเล็บผ่านแว่นวิทยาศาสตร์ มีเหตุผลซ่อนอยู่เบื้องหลัง

แม้ว่าวิทยาศาสตร์จะไม่สามารถพิสูจน์ความเชื่อเรื่องการตัดเล็บในแง่ของโชคลางได้ แต่เมื่อมองลึกลงไปในรากฐานของความเชื่อเหล่านี้ เราจะพบว่ามีเหตุผลทางจิตวิทยาที่น่าสนใจแฝงอยู่

Advertisements

ในแง่ของสุขภาพจิต การเลือกวันตัดเล็บสามารถสร้างความรู้สึกว่าเราสามารถควบคุมชีวิตและโชคชะตาของตนเองได้ มีส่วนสำคัญในการลดความเครียดและเพิ่มความมั่นใจในการเผชิญหน้ากับความท้าทายในชีวิต ทั้งการใส่ใจกับเรื่องเล็กน้อยอย่างการตัดเล็บยังอาจช่วยให้เราตระหนักถึงการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลมากขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวม

กุศโลบายคนไทยที่ห้ามตัดเล็บตอนกลางคืน เป็นเพราะในสมัยโบราณก่อนที่จะมีไฟฟ้าใช้ ผู้คนต้องพึ่งพาแสงสว่างจากตะเกียงหรือการจุดไต้ ซึ่งให้แสงสว่างไม่เพียงพอสำหรับการตัดเล็บอย่างปลอดภัย การตัดเล็บในสภาพแสงน้อยเช่นนี้เพิ่มความเสี่ยงที่จะตัดพลาด ทำให้บาดเนื้อ หรือตัดเล็บสั้นเกินไปจนกินเนื้อ สร้างความเจ็บปวด อาจนำไปสู่การติดเชื้อ กระทบต่อการทำงานหาเลี้ยงปากท้อง ดังนั้น การสร้างความเชื่อว่าการตัดเล็บตอนกลางคืนจะนำโชคร้ายมาให้ จึงเป็นวิธีที่ชาญฉลาดในการห้ามไม่ให้คนฝ่าฝืน

นอกจากนี้ ความเชื่อเรื่องการเลือกวันตัดเล็บยังอาจมีส่วนช่วยในการสร้างนิสัยการดูแลตนเองอย่างสม่ำเสมอ การกำหนดวันเฉพาะสำหรับการตัดเล็บอาจทำให้เกิดเป็นกิจวัตรที่ช่วยให้เราดูแลสุขอนามัยของมือและเท้าได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับเล็บ เช่น เล็บขบ หรือการติดเชื้อ

คนโบราณห้ามตัดเล็บตอนกลางคืน เพราะแสงสว่างไม่พอ เสี่ยงตัดโดนเนื้อเลือดออกได้

Aindravudh

นักเขียนประจำ Thaiger มีประสบการณ์เขียนข่าวมากกว่า 5 ปี จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความสนใจ ประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง เจาะประเด็นข่าวทางสังคม ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น หัวข้อที่เชียวชาญคือเรื่องไลฟ์สไตล์ เลขเด็ด หวยรัฐบาลไทย หวยลาว ช่องทางติดต่อ vajara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button