การเงิน

เงินกลุ่มเปราะบาง กุมภาพันธ์ 2566 โอนเข้าบัญชี 3 กลุ่ม เช็กกำหนดการที่นี่

เช็กปฏิทินโครงการัฐบาล “เงินเยียวยากลุ่มเปราะบางกุมภาพันธ์ 2566” เริ่มโอนเข้าบัญชีวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 ตรวจสอบรายละเอียดเงินเยียวยา อุดหนุนบุตร เบี้ยความพิการ และเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ มีเงื่อนไขอะไรบ้าง

อัปเดตความคืบหน้า “เงินเยียวยากลุ่มเปราะบางประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566″ ทั้งหมด 3 กลุ่ม โอนเข้าบัญชีในวันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 ได้แก่เงินอุดหนุ่นบุตร จำนวน 600 บาท เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จำนวน 600 , 700 , 800 , 1,000 บาท และเบี้ยความพิการ จำนวน 800 และ 1,000 บาท พร้อมตรวจสอบเงื่อนไขการโอนเงินเยียวยาเข้าบัญชีกลุ่มเปราะบาง ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร ได้รับเงินจำนวนเท่าไหร่บ้าง สามารถเช็กรายละเอียดได้เลยที่นี่

Advertisements

เงินเยียวยาเงินอุดหนุนบุตร

กลุ่มเปราะบางรับเงินอุดหนุนบุตร จำนวน 600 บาทต่อเดือน สำหรับผู้ที่มีรายได้เฉลี่ยต่อครอบครัวไม่เกิน 1 แสนบาทต่อปีและมีลูกในวัยแรกเกิดไปจนถึงอายุ 6 ขวบ สามารถลงทะเบียนได้ตามพิกัดดังต่อไปนี้

  1. สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร
  2. ศาลาว่าการเมืองพัทยา
  3. องค์กรบริหารส่วนตำบล หรือเทศบาล

เงื่อนไขเด็กแรกเกิดรับสิทธิเงินอุดหนุนบุตร

  1. เป็นเด็กแรกเกิดจนถึงอายุครบ 6 ปี
  2. เด็กแรกเกิดต้องอาศัยอยู่กับผู้ปกครองที่อยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้น้อย
  3. ไม่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน

เงื่อนไขผู้ปกครองรับเงินอุดหนุนบุตร

  1. เป็นบิดา-มารดาหรือบุคคลอื่นที่เป็นผู้เลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
  2. เด็กแรกเกิดต้องอาศัยรวมอยู่ด้วย
  3. สมาชิกในครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาทต่อคนต่อปี
  4. ผู้ปกครองรับเงินผ่านบัญชีที่ผูกบริการพร้อมเพย์ด้วยเลขบัตรประจำตัวประชาชน

วิธีตรวจสอบสถานะผู้รับสิทธิเงินอุดหนุนบุตร

  1. ผ่านเว็บลิงค์ เว็บไซต์กรมกิจการเด็กและเยาวชน
  2. ผ่านแอปพลิเคชัน “เงินเด็ก” ได้ที่ AppStore และ PlayStore

ขั้นตอนตรวจสอบ เช็คเงินอุดหนุนบุตร 2565

  1. เข้าไปที่แอปพลิเคชัน “เงินเด็ก”
  2. ระบุเลขประจำตัวประชาชนผู้ลงทะเบียน
  3. ระบุเลขประจำตัวประชาชนเด็กแรกเกิด
  4. ระบุรหัสยืนยันรูปภาพ
  5. กดค้นหาข้อมูล

เบี้ยความพิการสำหรับผู้พิการ

ในกรณีของผู้พิการที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี จะได้รับเบี้ยความพิการ 1,000 บาทต่อเดือน ส่วนผู้พิการที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ได้รับเบี้ยความพิการเดือนละ 800 บาท

คุณสมบัติผู้ได้รับเงินผู้พิการ

  1. มีสัญชาติไทยและมีภูมิลำเนาอยู่ตามทะเบียนบ้าน
  2. มีบัตรประจำตัวผู้พิการ
  3. ไม่เป็นบุคคลซึ่งอยู่ในความอุปการะของสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือ สถานสงเคราะห์ของเอกชนที่ได้รับเงินอุดหนุนส่วนใหญ่ของรัฐ หรือ ถูกขังในเรือนจำตามหมายจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และให้ความหมายรวมถึงบุคคลซึ่งถูกขังไว้ตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้ลงโทษด้วย

ทั้งนี้ ผู้พิการอายุ 18 ปีขึ้นไป รับเบี้ยความพิการ จำนวน 800 บาท ส่วนผู้พิการอายุต่ำกว่า 18 ปี รับเบี้ยความพิการ จำนวน 1,000 บาท เงินผู้พิการยังได้เพิ่มเติมอีกก้อนจากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โอนเงินเข้าทุกวันที่ 22 ของเดือน 200 บาทต่อเดือน ถอนเป็นเงินสดได้ สะสมในเดือนถัดไปได้

การลงทะเบียนคนพิการ 2566

คนพิการทุกคนที่ไม่เคยขึ้นทะเบียนและรับเงินเบี้ยความพิการมาก่อน มีสิทธิ์ลงทะเบียนขอรับ “เบี้ยความพิการ” ที่สำนักงานเขตที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ส่วนต่างจังหวัดยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานเทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)

Advertisements

กลุ่มเปราะบางรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

สุดท้ายคือกลุ่มเปราะบางรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุสูงสุด ที่มีอายุตั้งแต่ 60 จนถึงผู้ที่มีอายุเกิน 90 ปี แบ่งตามเกณฑ์ออกทั้งหมด 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่

  1. อายุ 60 -69 ปี รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 600 บาทต่อเดือน
  2. อายุ 70 -79 ปี รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 700 บาทต่อเดือน
  3. อายุ 80 -89 ปี รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 800 บาทต่อเดือน
  4. อายุ 90 ปีขึ้นไป รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 1,000 บาทต่อเดือน

หลักฐานลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่าย
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3. สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์
4. หนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจพร้อมรับรองสำเนา (ในกรณีผู้สูงอายุไม่สามารถมาลงทะเบียนได้ด้วยตนเอง)

เงื่อนไขการรับสิทธิเบี้ยผู้สูงอายุ

  1. มีสัญชาติไทย และมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามทะเบียนบ้าน
  2. มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ที่ยังไม่เคยลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ หรือถ้าเคยลงทะเบียนมาก่อนแต่ย้ายภูมิลำเนาใหม่ จะต้องมาลงทะเบียนใหม่ที่สำนักงานเขตตามทะเบียนบ้านใหม่
  3. ผู้สูงอายุที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ในปีงบประมาณ พ.ศ.2567 (เกิดก่อนวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2507)
  4. ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ผู้รับบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ที่ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐ หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดให้เป็นประจำ ยกเว้นผู้พิการและผู้ป่วยเอดส์ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยและระเบียบกรุงเทพมหานคร

อย่างไรก็ตาม ประชาชนสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับเงินเยียวยากลุ่มเปราะบางไม่ว่าจะเป็นเงินอุดหนุนบุตร เบียยังชีพผู้สูงอายุ และเบี้ยความพิการ ผ่านหน่วยงานภาครัฐตามข้อมูลการติดต่อที่ให้ไว้ได้เลยครับ

เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ – ติดต่อได้ที่เบอร์โทร 0 2642 4336-9 หรือกรมกิจการผู้สูงอายุ อาคารมหานครยิบซั่ม ชั้น 20 โซน B

เงินอุดหนุนบุตร – สามารถโทร. 0 2651 6534, 0 2651 6902, 0 2651 6920 หรือ 0 2255 5850-7 ต่อ 121, 122, 123, 133, 147, 152, 231 หรือเดินทางไปยังกรมกิจการเด็กและเยาวชน ศูนย์ปฏิบัติการโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด (ศดร.)

เบี้ยความพิการ – สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เลขที่ 255 อาคาร 60 ปี กรมประชาสงเคราะห์ หรือโทรศัพท์ 1479 หรือ โทร. 0 2354 3388 ต่อ 311 หรือ 313

นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเงินเยียวยากลุ่มเปราะบางทั้ง 3 กลุ่มผ่านเบอร์โทรสายด่วน พม. 1300 ได้ตลอดทั้งวันครับ

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button