ยื่นภาษี 2565 แบบกระดาษและออนไลน์ ยื่นได้ถึงเมื่อไหร่ เช็กวันหมดเขตที่นี่
เตือนความจำ ยื่นภาษี 2565 หมดเขตเมื่อไหร่ หมดเขตวันไหน ทั้งยื่นภาษีออนไลน์ ภ.ง.ด. 91 บุคคลธรรมดา อย่าลืมเตรียมตัวให้พร้อม
ฤดูกาลเสียภาษีมาถึงแล้ว มาตรวจสอบวันกันให้ดีว่ายื่นภาษีประจำปี 2565 ภายในพ.ศ. 2566 หมดเขตวันไหน ทั้งการยื่นภาษีแบบเอกสารและการยื่นแบบออนไลน์ มีระยะเวลาที่ต่างกันอย่างไร จะได้ไม่พลาดทำหน้าที่พลเมืองของไทย ไทยเกอร์เตรียมคำตอบมาให้คุณแล้วที่นี่
โดยทางกรมสรรพากรได้กำหนดระยะเวลาการยื่นภาษี 2565 ไว้ 2 รูปแบบ ดังนี้
- ยื่นภาษีแบบกระดาษ สามารถทำได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – วันที่ 31 มีนาคม 2566
- ยื่นภาษีแบบออนไลน์ สามารถทำได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – วันที่ 8 เมษายน 2566
สำหรับผู้ที่ต้องเสียภาษีประจำปี 2565 จะต้องเตรียมเอกสารให้พร้อม โดยการเสียภาษีจะมีทั้ง ภ.ง.ด. 91 สำหรับผู้ที่มีรายได้จากเงินเดือนเพียงอย่างเดียว และ ภ.ง.ด. 90 สำหรับผู้ที่มีรายได้จากเงินเดือนและรายได้ประเภทอื่น
ปัจจุบันนี้การเสียภาษีแบบออนไลน์เป็นที่นิยมมากขึ้น เพราะสะดวกและช่วยประหยัดเวลามากกว่าการเดินทางไปยังกรมสรรพากรเพื่อยื่นแบบภาษีด้วยตนเอง โดยมีขั้นตอนในการยื่นภาษีออนไลน์ ดังนี้
- เข้าเว็บไซต์ efiling.rd.go.th ผู้ที่มีบัญชีใช้งานอยู่แล้ว ให้กรอกเลขประจำตัวประชาชนและรหัสผ่าน เพื่อเข้าสู่ระบบ ส่วนผู้ที่ยังไม่มีบัญชีให้เลือก สมัครสมาชิก
2. เมื่อเข้าสู่ระบบแล้วจะปรากฏหน้าต่างนี้ ให้เลือก ภ.ง.ด. 90/91 แล้วคลิก “ยื่นแบบ”
3. หน้าต่างจะแสดงข้อมูลผู้มีเงินได้ขึ้นมา (หากเคยยื่นภาษีแล้ว) สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยยื่น ให้ทำการกรอกข้อมูล ชื่อ-นามสกุล วันเดือนปีเกิด สถานที่ติดต่อ รวมถึงสถานะ และกิจการส่วนตัว (ถ้ามี)
4. หน้าต่างถัดมาผู้เสียภาษีต้องกรอกรายการเงินได้ทั้งหมดที่ผ่านมาในปี 2565
5. หน้าต่างถัดมาผู้เสียภาษีต้องกรอกค่าลดหย่อนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว, ค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว, ค่าลดหย่อน/ยกเว้น จากสินทรัพย์และมาตรการนโยบายภาครัฐ, เงินบริจาคและภาษีที่ได้ชำระไว้แล้ว โดยควรตรวจสอบความถูกต้องให้แน่ชัด
6. จากนั้นจะปรากฏหน้าต่างให้ตรวจสอบข้อมูลทั้งหมด หากถูกต้องให้กด “ถัดไป”
7. ขั้นตอนสุดท้ายคือยืนยันการยื่นแบบภาษีออนไลน์ หากข้อมูลทั้งหมดถูกต้องสมบูรณ์แล้วให้กด “ยืนยันการยื่นแบบ” เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
อย่าลืมยื่นแบบภาษีก่อนหมดเขตตามวันที่ทางกรมสรรพากรระบุไว้ และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนกดยืนยัน เพื่อประโยชน์สูงสุดของตัวท่านเอง.
ขอบคุณข้อมูลจาก : 1.