ไลฟ์สไตล์

31 ธันวาคม ‘วันสิ้นปี’ ส่งท้ายปีเก่า เคานต์ดาวน์ต้อนรับปีใหม่

ก่อนจะถึงวันปีใหม่ก็ต้องเป็น “วันสิ้นปี” หรือที่เรียกกันในภาษาอังกฤษว่า “New Year’s Eve” กันเสียก่อน โดยวันสุดท้ายของปีในปีนี้จะตรงกับวันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม 2565 เป็นวันที่หลายคนต่างเฝ้ารอคอยมาทั้งปี เพื่อที่จะได้เฉลิมฉลองเข้าสู่ช่วงเทศกาลวันปีใหม่ในวันที่ 1 มกราคม 2566

สำหรับการนับวันสิ้นปี 31 ธันวาคม เป็นการนับวันตามแบบปฏิทินเกรโกเรียน (Gregorian Calendar) ซึ่งเป็นปฏิทินที่ชาวยุโรปใช้กันอย่างแพร่หลาย มีการดัดแปลงมาจากปฏิทินจูเลียน ประกาศใช้ครั้งแรกโดยสมเด็จพระสันตะปาปาเกรโกรีที่ 13 เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1582 โดยกำหนดให้ 1 ปีมี 365 วัน

ประวัติ ‘วันสินปี 31 ธันวาคม’ ในระดับสากลและประเทศไทย

แม้จะไม่ปรากฏที่มาของการนับเดือนมกราคมเป็นเดือนแรกของปี และเดือนธันวาคมเป็นเดือนสุดท้ายของปี แต่ในระดับสากลทั่วโลกก็ยึดให้วันที่ 31 ธันวาคม เป็นวันสุดท้ายหรือวันสิ้นปี และวันที่ 1 มกราคม เป็นวันแรกของปีหรือวันปีใหม่

สำหรับในประเทศไทย มีการเปลี่ยนมาใช้ปฏิทินสุริยคติแบบสากลตามปฏิทินเกรโกเรียนแทนปฏิทินจันทรคติที่ใช้มาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี โดยกำนหดให้ 1 ปีมี 12 เดือน เช่เดียวกับประเทศอื่น ๆ โดยตั้งชื่อเดือนแรกของปีว่า เมษายน และเดือนสุดท้ายของปีคือ มีนาคม

ต่อมาในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเดือนในปฏิทินอีกครั้ง โดยนับวันที่ 1 มกราคม เป็นวันแรกของปีหรือ วันปีใหม่ ตามแบบที่หลาย ๆ ประเทศทั่วโลกกำหนดไว้ ทั้งนี้วันปีใหม่ที่ใช้แทนรูปแบบเดิมถูกกำหนดให้เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2484 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

31 ธันวาคม วันสิ้นปี

กิจกรรม ‘เคานต์ดาวน์ปีใหม่’ นับถอยหลังส่งท้ายปี

แม้จะไม่มีหลักฐานบ่งบอกว่ากิจกรรมนับถอยหลังปีใหม่ หรือที่เรียกว่า “เคานต์ดาวน์ปีใหม่” (Countdown) มีที่มาอย่างไร แต่สำหรับการเคานต์ดาวน์ปีใหม่จะเริ่มนับในหน่วยวินาที โดยเริ่มตั้งแต่ 5 วินาทีสุดท้ายของช่วงเวลาที่จะผ่านพ้นวันสุดท้ายในปีเก่าสู่วันแรกของปีใหม่ คือจากเวลา 00.00 ของวันที่ 31 ธันวาคม ไปสู่เวลา 00.01 ของวันที่ 1 มกราคม

หลังจากที่การเคานต์ดาวน์จบลงก็จะมีการกล่าว “สวัสดีปีใหม่” หรือ “Happy New Year” พร้อมด้วยการจุดพลุยิ่งใหญ่อลังการฉลองวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งในวันสิ้นปี 31 ธันวาคม 2565 นี้เองก็ได้มีการจัดงานเคานต์ดาวน์ทั้งในกรุงเทพมหานครและในต่างจังหวัดเหมือนอย่างที่ผ่านมาในทุก ๆ ปี แต่ด้วยสถานการณ์การประชวรของสมเด็จเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ จึงทำให้หลายสถานที่งดจัดงานรื่นเริงช่วงปีใหม่ หรือบางที่ก็งดการจุดพลุดฉลองปีใหม่

นอกจากนี้อีกหนึ่งกิจกรรมที่ฮอตฮิตไม่แพ้กันสำหรับการนับถอยหลังฉลองเข้าสู่ปีใหม่คือการ “สวดมนต์ข้ามปี” นับว่าเป็นกิจกรรมที่เหล่าชาวพุทธในประเทศไทยมักจะทำกันในวันสิ้นปีข้ามไปจนถึงวันปีใหม่เพื่อความเป็นสิริมงคลของชีวิต โดยถือว่าการเริ่มต้นวันแรกของปีด้วยการสวดสรรเสริญพระรัตนตรัยย่อมทำให้ชีวิตพบเจอแต่ความสุขความเจริญ

วันสุดท้ายของปี

ทั้งนี้ไม่ว่าใครจะฉลองวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่กันด้วยกิจกรรมรูปแบบไหนก็ตาม อย่าลืมปฏิบัติตนตามมาตรการความปลอดภัยที่แต่ละหน่วยงานกำหนดขึ้นอย่างเคร่งครัด เพื่อให้การเฉลิมฉลองช่วงเวลาแห่งความสุขเป็นไปอย่างราบรื่นและปลอดภัย สวัสดีปีใหม่!

Mothana

นักเขียนข่าวที่ Thaiger การศึกษาทางด้านภาษา จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความเชี่ยวชาญด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จึงรับหน้าที่เขียนบทความไลฟ์สไตล์บันเทิง เศรษฐกิจ อยากเป็นสื่อกลางคอยขุดคุ้ยประเด็นตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงใหญ่โตมาเขียนให้ทุกคนได้อ่าน เพราะมีความเชื่อว่าสื่อที่ดีย่อมเป็นหนทางนำผู้อ่านไปสู่งานเขียนที่ดีได้ ติดต่อได้ทาง tangmo@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button