ยานยนต์ไลฟ์สไตล์

‘รถสองแถว’ ขึ้นทางด่วน-มอเตอร์เวย์ ได้ไหม? ไขข้อข้องใจ เพื่อความปลอยภัย

กลายเป็นดราม่าในโลกออนไลน์ หลังผู้ใช้เฟสบุ๊กรายหนึ่งได้โพสภาพ รถสองแถว บรรทุกนักเรียนและครู จากโรงเรียนมุสลิมแห่งหนึ่ง พาขึ้นทางด่วนพิเศษ (มอร์เตอร์เวย์) แถมพามากันเป็นคาราวาน 8-9 คัน เล่นเอาคนใช้ถนนงงไปตาม ๆ กันว่าแบบนี้ก็ได้หรอ

งานนี้หลายคนถึงกับตั้งคำถามว่า รถสองแถว สรุปแล้ว ขึ้นทางด่วน หรือมอร์เตอร์เวย์ได้หรือไม่ ? ทาง The Thaiger ก็ไม่ปล่อยให้งงนาน ไขข้อสงสัยและข้อกฎหมายมากระจ่างแล้ว เพื่อเพิ่ม Safety Awareness ให้กับประเทศไทย โดยเฉพาะผู้ใช้รถใช้ถนน

Advertisements

ทางด่วน คืออะไร ?

ทางด่วน คือ ทางพิเศษ ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยเพิ่มความคล่องตัว แก้ปัญหาการจราจรที่ติดขัดบนถนนแบบปกติ และช่วยให้การเดินทางไปยังจุดหมายต่าง ๆ มีความรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยจะมีการคิดค่าใช้จ่ายตามระยะทางที่แตกต่างกันออกไป

ตามประกาศล่าสุดของ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย หรือ กทพ. เมื่อวันที่ 9 ก.พ.65 ได้มีกำหนดรถ 12 ชนิดที่ ห้ามขับขี่บนทางพิเศษ (ทางด่วน-มอร์เตอร์เวย์) มีดังนี้

1️. รถจักรยาน

2️. รถล้อเลื่อน

Advertisements

3️. รถจักรยานยนต์

4️. รถยนต์สามล้อ

5️. รถแทรกเตอร์และรถบดถนน

6️. รถฝึกหัดขับหรือทดลองเครื่อง

7️. รถที่ใช้เฉพาะเพื่อการโฆษณา

8️. รถที่มีความสูง/กว้างรวมสิ่งของเกินกำหนด

9️. รถกระบะที่มีคนนั่งท้ายโดยไม่มีหลังคาปิด

10. รถบรรทุกสัตว์ สิ่งของ โดยไม่ผูกมัดให้มั่นคงแข็งแรง

1️1. รถบรรทุกวัตถุอันตราย

1️2. รถบรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรวมเกิน 4,000 กิโลกรัม

*ยกเว้นรถของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานบนทางพิเศษ*

รถสองแถว ขึ้นทางด่วน
Twitter: @ExatWebmaster

รถสองแถว ขึ้นทางด่วน ได้ไหม ?

สำหรับกรณีของ รถสองแถว ถูกจัดให้อยู่ในรถที่ สามารถขึ้นทางด่วนได้ เพราะนับเป็นรถกระบะที่มีหลังคาปิด แต่ใช้ได้แค่ในกรณีที่ไม่มีผู้โดยสาร หรือการบันทุกสิ่งของหลังกระบะเท่านั้น

เมื่อใดที่บริเวณหลังกระบะของรถสองแถวมีผู้โดยสาร หรือบรรทุกสิ่งของ จะกลายเป็นรถในจำพวก ห้ามขับขี่บนทางด่วน ในทันทีตามกฎของรถประเภทที่ 10 รถบรรทุกสัตว์ สิ่งของ โดยไม่ผูกมัดให้มั่นคงแข็งแรง โดยแบ่งได้ดังนี้

  • รถกระบะบรรทุกสิ่งของ

เพราะการบรรทุกสิ่งเหล่านี้โดยไม่มีการผูกมัดให้มีความแข็งแรงมั่นคงจะทำให้สิ่งของที่บรรทุกต่าง ๆ เกิดอันตรายต่อผู้อื่น เช่น มีการตกหล่นของสิ่งของ หรือมีบางส่วนที่ปลิวออกไปและไปทำอันตรายต่อรถคันหลัง

  • รถกระบะบรรทุกสัตว์

การบรรทุกสัตว์ทั้งเล็ก/ใหญ่ โดยปกติจะไม่มีการปกปิดให้มิดชิด จึงเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อทรัพย์สิน และชีวิตของผู้ขับขี่คนอื่น เพราะสัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการเคลื่อนที่ได้ด้วยตัวเอง หากว่าไม่มีการผูกมัด และปกปิดที่ดีอาจทำให้สัตว์ตกใจต่อรถที่วิ่งเร็ว เกิดเหตุการณ์สัตว์หลุด หรือตกหล่น และไปสร้างอันตรายต่อชีวิตผู้อื่นได้

  • รถกระบะบรรทุกคน

การบรรทุกคนนั่งท้ายกระบะแบบไม่มีหลังคาปิด และไม่ใช่ช่วงเทศกาล มีกฏหมายข้อบังคับนี้ออกมาในช่วงปี พ.ศ.2559 โดยระบุไว้ว่า ห้ามให้รถกระบะบรรทุกผู้โดยสารขึ้นทางด่วนเด็ดขาด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ

หากพบว่ามีการฝ่าฝืนจะถูกดำเนินคดีและปรับตามกฏหมาย หากต้องการบรรทุกผู้โดยสารจะต้องเป็นรถที่มีหลังคา หรือมีการดัดแปลงรถให้มีที่นั่งที่ปลอดภัย และมีการจดทะเบียนรถเป็นรถนั่งเท่านั้น

รถสองแถว ขึ้นทางด่วน
wikipedia

สำหรับหลายคนที่สงสัยว่า แล้วรถสองแถมก็มีหลังคาตามที่กำหนด แล้วทำไมยังผิดกฎหมาย อย่าลืมว่าการโดยสารรถสองแถวของไทย ไม่ได้มีแค่คนนั่งเท่านั้น ยังมีคนที่โหนรถสองแถว รวมไปถึงยืนบริเวณนอกตัวรถอีกด้วย ซึ่งเป็นอันตรายมาก ๆ บนถนนที่ต้องใช้ความเร็วในการขับขี่นั่นเอง

ขอบคุณข้อมูล – 1

baesittichot

นักเขียนสายฮาอารมณ์ดี ไลฟ์สไตล์ เรื่องน่ารู้ทั่วไป ตามติดเทรนด์ฮิตที่ห้ามพลาด อัปเดตข่าวเศรษฐกิจ การเงิน ประสบการณ์งานเขียนมากกว่า 1 ปี ชอบเม้าท์มอย ส่งต่อเรื่องราวน่าสนใจผ่านตัวอักษร ผลงานทุกชิ้นจึงเป็นเหมือน 'เพื่อน' ที่อยากเล่าสิ่ง ๆ ต่างให้คุณได้รู้เป็นคนแรกเสมอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button