เช็กเงื่อนไขโครงการรัฐบาล “ช้อปดีมีคืน 2566” รอบใหม่เฟส 4 หลังคณะรัฐมนตรีอนุมัติแล้วเมื่อวันอังคารที่ 20 ธันวาคม 2565 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้คนไทยจับจ่ายใช้สอยต้อนรับปีใหม่ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 ต้องซื้อสินค้าหรือบริการอะไรได้บ้าง จึงจะสามารถใช้ลดหย่อนภาษีสูงสุด 40,000 บาท สามารถเข้ามาตรวจสอบรายละเอียดได้ที่นี่
สำหรับโครงการ “ช้อปดีมีคืน 2566” เป็นหนึ่งในโครงการจากรัฐบาลระยะที่ 4 เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยมาตรการซื้อสินค้าหรือบริการจากร้านค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วในประเทศไทย โดยจะเริ่มครั้งแรกในวันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 รวมระยะเวลาโครงการฯทั้งสิ้น 46 วัน นอกจากนี้ยังสามารถนำใบเสร็จที่ได้จากการซื้อของหรือบริการในโครงการ ช้อปดีมีคืน เฟส 4 ที่ตรงตามเงื่อนไขที่กำหนด นำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย
ทั้งนี้ทีมงาน The Thaiger ได้สรุปรายละเอียดมาตรการโครงการ ช้อปดีมีคืน 2566 ที่กำลังจะเริ่มต้นในปีหน้า ว่ามีข้อกำหนดใดที่ควรทราบบ้าง โดยมีรายละเอียดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
ช้อปดีมีคืน 2566 ซื้ออะไรได้บ้าง
สรุปมาให้แล้วสำหรับโครงการช้อปดีมีคืนเฟส 4 ที่จะเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ สามารถใช้จ่ายอะไรได้บ้างเพื่อนำมาลดหย่อนภาษี เข้ามาเช็กลิสต์ตามนี้ได้เลยครับ
สินค้าและบริการที่ใช้สิทธิช้อปดีมีคืนได้
- สินค้าแฟชั่น รองเท้า กระเป๋า นาฬิกา และเครื่องประดับ
- สินค้าเสริมสวย เครื่องสำอาง น้ำหอม ครีมหรือโลชั่นบำรุงผิว
- สินค้าสุขภัณฑ์ที่เสียภาษีมูลค่าพิ่ม ได้แก่ น้ำยาล้างจาน ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม สบู่ แชมพู ครีมนวดผม โฟมล้างหน้า แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ผ้าอนามัย ผ้าอ้อม กระดาษทิชชู
- นมประเภทอื่น ๆ ที่มีการแปรรูปมาแล้ว
- เฟอร์นิเจอร์ของตกแต่ง จะต้องใช้สิทธิได้ถ้ามีใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป หรือกรณีเป็นสินค้า OTOP ต้องมีใบเสร็จรับเงิน
- ร้านอาหาร-คาเฟ่ ที่จดVAT และออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปได้ สามารถใช้สิทธิช้อปดีมีคืนได้ แต่จะไม่รวมการซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่
- การใช้บริการซ่อมรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง หรือซื้ออุปกรณ์ตกแต่ง จะสามารถใช้สิทธิฯได้ แต่ต้องซ่อมรถ เข้าศูนย์ตรวจเช็กสภาพรถ ต้องรับบริการและซ่อมแล้วเสร็จในช่วงวันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2566 เท่านั้น
- ประกันชีวิตทั่วไป ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
- ประกันชีวิตบำนาญ ลดหย่อนได้ 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
- ระกันสุขภาพตัวเอง ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 25,000 บาทต่อปี แต่เมื่อรวมเบี้ยประกันชีวิตและเงินฝากสงเคราะห์ชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
- ประกันสุขภาพบิดา-มารดา ลดหย่อนได้ตามจริง ต้องไม่เกิน 15,000 บาท
- ตัดแว่น
- ซื้อยาหรืออาหารเสริม กรณีเป็นานที่จด VAT และออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปได้ก็สามารถใช้สิทธิได้
- ซื้อบัตรหรือคูปองและใช้บริการภายในวันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2566 เท่านั้น
- การจ่ายค่าอาหารหรือเครื่องดื่มในโรงแรม จากร้านอาหารในโรงแรมที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถขอใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปมาใช้ลดหย่อนภาษีได้
- ซื้อของออนไลน์ สามารถซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ได้ โดยต้องซื้อและออกใบกำกับภาษีระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2566
- สามารถซื้อของเงินผ่อนหรือใชับัตรเครดิตได้
สินค้าที่ใช้สิทธิช้อปดีมีคืน 2566 ได้-ไม่ได้
ในส่วนของสินค้าและบริการที่ไม่สามารถใช้สิทธิ์ช้อปดีมีคืน ลดหย่อนภาษี 2566 ประกอบด้วย 11 อย่าง ได้แก่
- สุรา เบียร์ และไวน์
- บุหรี่ ยาสูบ
- รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
- หนังสือพิมพ์และนิตยสาร และค่าบริการหนังสือพิมพ์และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูล
- อิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
- บริการจัดนำเที่ยวที่จ่ายให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
- ค่าที่พักในโรงแรม
- ค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเทอร์เน็ต
- ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย เช่น ประกันรถยนต์ ประกันอัคคีภัย
- ค่าเบี้ยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ เพราะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีในหมวดประกันได้
- ค่าบริการระยะยาวที่เริ่มต้นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2566 หรือสิ้นสุดหลังวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566
- สินค้าหรือบริการที่ไม่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% อยู่แล้ว เช่น ผัก-ผลไม้สดที่ยังไม่ได้แปรรูป
- เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อปลา นมจืด ทองคำแท่ง ค่ารักษาพยาบาล ค่าทำศัลยกรรม
สรุปว่าสินค้าหรือบริการที่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีในโครงการ ช้อปดีมีคืนได้นั้น จะต้องเป็นสินค้าหรือบริการที่ทำการจดทะเบียนร้านค้าในประเทศและอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หรือก็คือหากไปซื้อของที่ไหนต้องสามารถขอใบกำกับภาษีแบบกระดาษตัวเต็มได้นั่นเอง นอกจากนี้หนังสือที่เป็นรูปเล่มหรือ อี-บุ๊ค ก็สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้เหมือนกัน
ส่วนสินค้าโอทอป (OTOP) ต้องเป็นสินค้าประเภทหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว และมีหลักฐานเป็นใบเสร็จรับเงิน หรือใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปที่ระบุว่าเป็นรายการซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ครับ
เงื่อนไขการรับสิทธิ “ช้อปดีมีคืน 2566”
อย่างไรก็ตามโครงการ “ช้อปดีมีคืน 2566” ไม่ได้จะรับสิทธิกันหมดทุกคน ทั้งนี้หากบุคคลใดมีเงื่อนไขตรงตามที่กำหนดไว้ ก็จะสามารถใช้สิทธิ ช้อปดีมีคืน ประจำปี 2566 ทั้งหมด 2 ข้อดังนี้
- ต้องเป็นบุคคลธรรมดาที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา พ.ศ. 2566 และต้องการนำค่าใช้จ่ายจากโครงการนี้ไปใช้ลดหย่อนภาษี พ.ศ. 2566 ที่จะยื่นแบบในต้นปี พ.ศ. 2567
- สำหรับผู้ที่ไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี หรือมีรายได้ถึงเกณฑ์เสียภาษี แต่มีค่าลดหย่อนอื่น ๆ ที่ทำให้ไม่ต้องเสียภาษี จะไม่ได้รับประโยชน์จากมาตรการนี้ เนื่องจากไม่ได้เข้าข่ายที่ต้องจ่ายภาษีอยู่แล้วนั่นเอง จึงไม่สามารถนำค่าใช้จ่ายจากช้อปดีมีคืนไปหักภาษีได้
วิธีการลงทะเบียน ช้อปดีมีคืน 2566
สำหรับโครงการช้อปดีมีคืน 2566 ไม่ต้องลงทะเบียนหรือสมัครการใช้งานแต่อย่างใด เพราะหากต้องการใช้สิทธิก็ให้เลือกซื้อสินค้าหรือบริการตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ แต่ต้องไม่ลืมขอใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบจากร้านค้า เพื่อนำมาใช้ประกอบการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2566 สำหรับการหักลดหย่อนภาษีเงินได้ตามปกติ
ช้อปดีมีคืน 2566 เกณฑ์การลดหย่อนภาษี
อย่างที่ทราบกันดีว่าโครงการช้อปดีมีคืน ประจำปี 2566 สามารถนำใบเสร็จสินค้าหรือบริการนำมาใช้ลดหย่อนภาษีไม่เกิน 40,000 บาท แต่ต้องมีเงื่อนไขตามเกณฑ์ที่กำหนดดังนี้ครับ
- ทั้งนี้ สินค้าและบริการที่จะใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ต้องเป็นสินค้าและบริการที่เสียภาษี VAT หากเป็นสินค้าที่ได้รับการยกเว้นภาษี VAT จะไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
- ต้องซื้อสินค้าหรือใช้บริการจากร้านที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และสามารถออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปให้ได้เท่านั้น ยกเว้นการซื้อสินค้าโอทอป (OTOP) และหนังสือหรือ E-book ที่ใช้ใบเสร็จรับเงินได้ โดยระบุชื่อ-นามสกุลให้ชัดเจน
- หากใครใช้จ่ายค่าสินค้าในปี 2565 แต่ไปใช้บริการในวันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2566 จะไม่สามารถใช้สิทธิช้อปดีมีคืนได้ เพราะถือว่าไม่ได้ใช้จ่ายในช่วงเวลาที่กำหนด
- ต้องซื้อสินค้าหรือรับบริการ และจ่ายค่าสินค้าหรือค่าบริการนั้น ในระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2566
ผู้ที่ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากโครงการช้อปดีมีคืน 2566 จะต้องลดหย่อนภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริง ไม่เกิน 40,000 บาท โดยแบ่งเป็น 2 แบบ ประกอบด้วย
1. ซื้อสินค้าหรือบริการ 30,000 บาทแรก
ให้ออกใบกำกับภาษีแบบกระดาษ หรือใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ออกผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) ของกรมสรรพากร
2. ซื้อสินค้าหรือบริการ อีกจำนวน 10,000 บาท
เลือกเฉพาะใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ออกผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) ของกรมสรรพากรเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม หากใช้จ่ายเกินกำหนด จะสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามวงเงินสูงสุดเท่านั้น ตัวอย่างเช่น กรณีซื้อสินค้าหรือบริการรวมได้ 35,000 บาท แล้วได้รับใบกำกับภาษีแบบกระดาษทั้งหมด จะสามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้เพียง 30,000 บาท เท่านั้น
กรณีซื้อสินค้าหรือบริการ 40,000 บาท จะได้ลดหย่อนภาษีตามฐานภาษีของตัวเองครับ โดยต้องคำนวณจากเงินได้สุทธิที่เหลืออยู่ ตามข้อมูลดังนี้
- เงินได้สุทธิ 0-150,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษีอยู่แล้ว ไม่ได้ประโยชน์จากโครงการ “ช้อปดีมีคืน”
- เงินได้สุทธิ 150,001-300,000 บาท อัตราภาษี 5% ช้อปเต็มจำนวน 40,000 บาท มีสิทธิ์คืนภาษีสูงสุด 2,000 บาท
- เงินได้สุทธิ 300,001-500,000 บาท อัตราภาษี 10% ช้อปเต็มจำนวน 40,000 บาท มีสิทธิ์ได้คืนภาษีสูงสุด 4,000 บาท
- เงินได้สุทธิ 500,001-750,000 บาท อัตราภาษี 15% ช้อปเต็มจำนวน 40,000 บาท มีสิทธิ์ได้คืนภาษีสูงสุด 6,000 บาท
- เงินได้สุทธิ 750,001-1,000,000 บาท อัตราภาษี 20% ช้อปเต็มจำนวน 40,000 บาท มีสิทธิ์ได้คืนภาษีสูงสุด 8,000 บาท
- เงินได้สุทธิ 1,000,001-2,000,000 บาท อัตราภาษี 25% ช้อปเต็มจำนวน 40,000 บาท มีสิทธิ์ได้คืนภาษีสูงสุด 10,000 บาท
- เงินได้สุทธิ 2,000,001-5,000,000 บาท อัตราภาษี 30% ช้อปเต็มจำนวน 40,000 บาท มีสิทธิ์ได้คืนภาษีสูงสุด 12,000 บาท
- เงินได้สุทธิตั้งแต่ 5,000,001 บาทขึ้นไป อัตราภาษี 35% ช้อปเต็มจำนวน 40,000 บาท มีสิทธิ์ได้คืนภาษีสูงสุด 14,000 บาท
หลักฐานในการลดหย่อนภาษี
ผู้ที่ต้องการลดหย่อนภาษีจากโครงการช้อปดีมีคืน 2566 จะต้องใช้หลักฐาน ทั้งหมด 3 อย่าง ประกอบด้วย
- ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบกระดาษ สำหรับการซื้อสินค้าจากร้านค้าที่จดทะเบียน VAT โดยใช้ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30,000 บาท
- ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ จากร้านค้าทั่วไป หรือร้านค้าออนไลน์ก็ได้ แต่ร้านค้านั้นจะต้องออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) ที่ออกผ่านระบบของกรมสรรพากร
- ใบเสร็จรับเงิน สำหรับการซื้อหนังสือ รวมทั้งสินค้า OTOP ที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว โดยกรณีเป็นสินค้า OTOP ต้องระบุชื่อ-นามสกุลของผู้มีเงินได้ และระบุว่าสินค้านั้นเป็นสินค้า OTOP ไว้ในใบเสร็จ หรือประทับตรายางที่มีชื่อการค้า หรือเครื่องหมายที่ระบุข้อความว่า “สินค้าทุกรายการเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์” หรือข้อความอื่น ๆ ในลักษณะทำนองเดียวกัน ไว้บนใบเสร็จ
อ้างอิง : 1