ธ.ก.ส. โอนเงินเยียวยาเกษตรกร ประกันรายได้ข้าว เข้าบัญชีชาวนาผู้ปลูกข้าว ปี 2565/2566 งวดที่ 9 จำนวน 150.35 ล้านบาทต่อ 48,336 ครัวเรือน เช็กสิทธิเงินเข้าใครได้บ้าง
วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม 2565 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) แจ้งโอนเงินส่วนต่างระหว่างราคาประกันรายได้กับราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง (งวดที่ 9 และงวดที่ 1 – 8 เพิ่มเติม) เพื่อเยียวยาเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ประจำปี 2565/2566 โอนเข้าบัญชีเกษตรกรเกษตรกรที่ลงทะเบียนประกันรายได้ข้าว 65/66 จำนวนกว่า 48,336 ครัวเรือน เป็นจำนวนเงิน 150.35 ล้านบาท
ทั้งนี้ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว และป้องกันความเสี่ยงด้านราคา ไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุด ลดภาระค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ โดยที่กลไกตลาดยังคงทำงานเป็นปกติ สำหรับในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ประมาณ 4.68 ล้านครัวเรือน
เกษตรกรที่ลงทะเบียนรับสิทธิเงินเยียวยาประกันรายได้ผู้ปลูกข้าว 2565/2566 สามารถตรวจสอบผลการโอนเงินได้ทางแอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile และ A-Mobile Plus ตลอด 24 ชั่วโมง ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
วิธีเช็กสิทธิเงินเยียวยาเกษตรกร 2565/66
- เข้าเว็บไซต์ chongkho.inbaac.com ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
- ระบุเลขประจำตัวประชาชน เพื่อใช้ในการเช็ค “เงินเยียวยาเกษตรกร”
- จากนั้นจะปรากฏรายละเอียดของบัญชี จำนวนเงิน และโครงการของเงินช่วยเหลือที่ได้รับ
- ตรวจสอบข้อมูลในแอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile หลังจากตรวจสอบในเว็บไซต์แล้วเรียบร้อย
- หากมีข้อมูลขึ้นว่าได้รับเงินโอน สามารถเข้าไปตรวจสอบยอดเงินได้ด้วยตัวเอง
สำหรับ โครงการประกันรายได้ข้าวให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว มีข้าวที่ระบุตามเกณฑ์ที่กำหนดทั้งหมด 5 ชนิด ประกอบด้วย
1. ข้าวเปลือกหอมมะลิ
- ราคาประกันรายได้ 15,000 บาท/ตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน
2. ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่
- ราคาประกันรายได้ 14,000 บาท/ตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
3. ข้าวเปลือกปทุมธานี
- ราคาประกันรายได้ 11,000 บาท/ตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน
4. ข้าวเปลือกเจ้า
- ราคาประกันรายได้ 10,000 บาท/ตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน
5. ข้าวเปลือกเหนียว
- ราคาประกันรายได้ 12,000 บาท/ตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ได้รับสิทธิเงินเยียวยาประกันรายได้ข้าว จะต้องเป็นเกษตรกรจะต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2565/66 กับกรมส่งเสริมการเกษตร และต้องแจ้งวันที่คาดว่าจะเก็บเกี่ยว
เพื่อใช้เป็นข้อมูลช่วงเวลาที่เกษตรกรจะได้รับสิทธิชดเชย โดยกรมส่งเสริมการเกษตร จะจัดส่งข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว จำแนกตามช่วงเวลาที่เก็บเกี่ยว และคำนวณปริมาณผลผลิต
ต้องใช้พื้นที่ทั้งหมดที่ขึ้นทะเบียนปลูกข้าวแต่ละชนิด คูณผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ เป็นปริมาณผลผลิตที่ต้องชดเชย ส่งให้กับธ.ก.ส. เพื่อประมวลผลและดำเนินการจ่ายเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรงภายใน 3 วัน นับจากวันที่ได้รับราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงในแต่ละรอบ จากคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว