‘ดื่มน้ำเหล็กไหล’ รักษาโรคได้จริงไหม? หลังหลายพันคนแห่ดื่ม
กลายเป็นกระแสฮือฮาหลังนักแสดงรุ่นใหญ่อย่าง ‘เมฆ วินัย ไกรบุตร’ ที่กำลังป่วยด้วยโรคตุ่มน้ำพอง ยอมซด ‘น้ำเหล็กไหล’ จังหวัดกระบี่ เพราะเชื่อว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ สามารถรักษาโรคได้
งานนี้ทำเอาหลายคนตั้งคำถามกันเพียวว่า ดื่มน้ำหล็กไหล รักษาโรคได้จริงไหม ? The Thaiger ก็ไม่ปล่อยให้พลาด พาทุกคนมาทำความรู้จักกับเหล็กไหล ทั้งตามความเชื่อและหลักวิทยาศาสตร์ ไขความกระจ่างเรื่องของการดื่มน้ำเหล็กไหลรักษาโรค อย่างเพิ่มดื่ม ถ้ายังอ่านไม่จบ
ไขความจริง ‘ดื่มน้ำเหล็กไหล’ รักษาโรคได้จริงไหม? อย่างเพิ่งดื่มถ้ายังอ่านไม่จบ!
เหล็กไหล คืออะไร ?
เหล็กไหล ตามความเชื่อของไทย เป็นธาตุศักดิ์สิทธิ์ โดยทั่วไปเห็กไหลมักมีหลายชนิด แต่ที่เชื่อกันแพร่หลายที่สุดนั้นจะฝังตัวอยู่ในถ้ำมีลักษณะสีดำคล้ายนิล เมื่อนำไปลนไฟจะสามารถยืดได้
เชื่อกันว่าในการไปเอาเหล็กไหลนั้นจะต้องใช้น้ำผึ้งชโลมก้อนเหล็กไหลแล้วใช้ไฟลนเหล็กไหลถึงจะยืดออกมากินน้ำผึ้งไปพร้อมกับเล่นไฟด้วย แล้วก็ลนไฟไปกระทั่งทั้งเหล็กไหลยืดออกมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งบางเท่าเส้นด้ายถึงจะตัดขาด
เหล็กไหล กล่าวกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มากมักฝังไว้ตามตัวผู้ที่ครอบครอง ว่ากันว่าจะไม่มีอะไรที่ทำร้ายผู้ที่ครอบครองตัวเหล็กไหลได้ไม่ว่าจะเป็น มีด ปืน หรือระเบิดดินปืนทุกชนิด ก็ไม่สามารถจุดติดได้ในอาณาเขตที่มีเหล็กไหลอยู่
สำหรับความเชื่อนี้กล่าวอีกว่าเหล็กไหลยังแบ่งเป็นสามระดับ ได้แก่
- ตัวเหล็กไหลเอง แวววาว เป็นส่วนที่ลนไฟให้ยืดได้ เป็นส่วนที่มีอิทฤทธิ์มากที่สุด เช่น เหล็กไหลปีกแมลงทับหรือเหล็กไหลโกฐปี เหล็กไหลเงินยวงหรือเหล็กไหลชีปะขาว เหล็กไหลเพชรดำ เหล็กไหลท้องปลาไหล
- รังเหล็กไหล มีลักษณะแวววาวรองจากตัวเหล็กไหล ไม่สามารถลนไฟให้ยืดได้ เป็นส่วนที่ห่อหุ้มตัวเหล็กไหลไว้เป็นฐานรองเหล็กไหลแข็งแน่นติดกับผนังถ้ำ เช่น โคตรเหล็กไหล แร่เกาะล้าน แร่เม็ดมะขาม เหล็กไหลทรหด
- ขี้เหล็กไหล มีลักษณะคล้ายน้ำตาเทียน ดำด้าน แข็งแต่ทุบให้แตกได้ง่าย เกิดจากการที่เหล็กไหลเคลื่อนผ่านทางนั้นแล้วเกิดขี้เหล็กไหลขึ้นมากล่าวว่าแทบไม่มีฤทธิ์ใด ๆ
เหล็กไหล ในมุมวิทยาศาสตร์
ในแง่วิทยาศาสตร์ เหล็กไหลก็คือโลหะหรือวัสดุอื่นที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติเช่นอุกกาบาตจากนอกโลก ซิลิเกตจากใต้โลก และที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้น เช่น ปรอท แกลเลียม
ซึ่งสารต่าง ๆ ขึ้นต้น สามารถหลอมเหลวได้ในอุณหภูมิห้อง หรือโลหะผสมอื่น ๆ สีสันที่ดูเหมือนสีรุ้งเกิดขึ้นจากการแทรกสอดในฟิล์มบาง (thin-film interference) คือการแทรกสอดของแสงที่สะท้อนออกมาจากเนื้อวัตถุ
ดื่มน้ำเหล็กไหล รักษาโรคได้จริงไหม ?
ล่าสุดโลกโซเชียลต่างตั้งคำถามหลังเมื่อ 1 เดือนที่ผ่านมา มีชาวบ้านจำนวนมากนับพันคนแห่ไปขอ “น้ำเหล็กไหล” ที่บ้านของ นายริน รักษ์วงศ์ อายุ 43 ปี หลังจากที่เขานั้นค้นพบวัตถุบางอย่างที่คาดว่าจะเป็นเหล็กไหลตามความเชื่อของไทย
ในวันที่ 8 พ.ย.65 นพ.อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ถึงต้องออก มาเตือนประชาชนที่ดื่มน้ำดังกล่าว เนื่องจากอาจจะไม่ได้มาตรฐานของน้ำสำหรับการนำมาดื่ม
อาจะมีสารปนเปื้อนของสารเคมีที่ก่อให้เกิด เหล็กไหล หรือเชื้อโรคที่มาจากต้นทางการผลิต ซึ่งถ้าไม่มีความสะอาด ก็อาจจะมีเชื้อโรคต่างๆ เมื่อดื่มเข้าไปก็อาจจะเกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ เช่น ท้องเสีย เป็นต้น
ทั้งนี้ทาง นพ.อรรถพล ยังบอกอีกว่า “โดยทั่วไปน้ำต่างๆ คงไม่ได้มีสรรพคุณในการรักษาโรค เพียงแต่อาจจะเป็นความเชื่อ เหมือนบางคนมีความเชื่อเรื่องน้ำมนต์ อาจจะไม่ได้ช่วยเรื่องการรักษาจริง ๆ”
สรุป
น้ำเหล็กไหล เป็นเพียงแค่ความเชื่อของคนไทยสมัยก่อน ซึงโดยทั่วไปแล้ว “น้ำ” ไม่ได้มีสรรพคุณในการรักษาโรคแต่อย่างใด อีกทั้งการดื่มน้ำเหล็กไหล มีโอกาสสูงที่ผู้ดื่มจะได้รับสารพิษ หรือเชื้อโรคที่มากับน้ำ เพราะไม่ใช่น้ำดื่มมาตรฐาน อาจก่อนให้เกิดอาการ ท้องเสีย ท้องร่วง อาหารเป็นพิษได้ ซึ่งอาจมีผลเสียมากกว่าผลดีเป็นเท่าตัว