ข้อควรรู้ ลดหย่อนภาษี 2565 รายการไหนลดหย่อนได้ เข้าใจง่าย ไม่มีงง
เตรียมตัวก่อนยื่น ลดหย่อนภาษี 2565 ตอบทุกคำถาม รายจ่ายรายการไหนใช้ลดหย่อนภาษีได้บ้าง ผู้มีรายได้ต้องอ่าน ก่อนยื่นภาษีต้นปี 2566
เรื่องภาษีไม่ยาก เช็ก 5 ข้อเท็จจริงการลดหย่อนภาษี 2565 สิ่งที่คุณเข้าใจถูกหรือเปล่า รายการอะไรบ้างที่สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ รายการละกี่บาท ผู้มีรายได้ไม่ควรมองข้าม พร้อมเช็กอัตราเงินเดือน มีรายได้เท่านี้ต้องเสียภาษีเท่าไหร่
ก่อนอื่นขอชวนคุณมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการลดหย่อนภาษีกันสักนิดว่าคืออะไร ค่าลดหย่อนภาษี เป็นเงื่อนไขที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เสียภาษีโดยตรง ช่วยให้ผู้เสียภาษีเสียภาษีน้อยลงจากอัตราเดิมที่ต้องจ่าย โดยคิดคำนวณจากรายจ่ายต่าง ๆ ตามเงื่อนไข
รายการลดหย่อนภาษี 2565 พร้อมอัตราการลดหย่อนแต่ละรายการ
ในฐานะประชาชนผู้มีรายได้ การเสียเงินภาษีถือเป็นหน้าที่สำคัญ เพราะเงินภาษีเหล่านี้จะถูกนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในประเทศ หลายคนอาจจะรู้สึกว่าปกติเราเองก็มีรายจ่ายเยอะพอสมควรแล้ว ยิ่งต้องจ่ายภาษีในอัตราที่สูงก็ยิ่งไม่มีเงินเหลือเก็บ
ดังนั้นกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง จึงมีการลดหย่อนภาษีมาเป็นตัวช่วยให้ผู้ที่ต้องเสียภาษีนั่นเองค่ะ โดยมีรายการลดหย่อนสำหรับบุคคลธรรมดา ภงด. 90 และ ภงด.91 ดังนี้
1. สำหรับผู้มีเงินได้ ลดหย่อนได้ 60,000 บาท
2. สำหรับคู่สมรส ลดหย่อนได้ 60,000 บาท
3. สำหรับบุตร ลดหย่อนได้ 30,000 บาท/คน
- บุตรที่ชอบด้วยไม่จำกัดจำนวนบุตร
- บุตรบุญธรรมสามารถนำมารวมได้ แต่เมื่อรวมกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ต้องไม่เกิน 3 คน
4. ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูบิดามารดา ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท
5. ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูคนพิการหรือทุพพลภาพ ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
6. ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา ลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
7. เบี้ยประกันชีวิต ลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
8. เงินสะสมจ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กองทุนการออมแห่งชาติ / เงินสะสมกบข. ลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
9. ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อย 30 ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และเมื่อรวมกับข้อ 8 แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
10. เงินสะสมกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
11. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อย 15 ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และเมื่อรวมกับข้อ 8 และข้อ 10 แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
12. ผู้มีเงินได้ที่เป็นคนพิการที่อยู่ในประเทศไทย และมีอายุไม่เกิน 65 ปี ลดหย่อนได้ตามจำนวนเงินได้ แต่ไม่เกิน 190,000 บาท
13. ผู้มีเงินได้ที่อยู่ในประเทศไทย และมีอายุ 65 ปีขึ้นไป ลดหย่อนได้ตามจำนวนเงินได้ แต่ไม่เกิน 190,000 บาท
14. ค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานและตามกฎหมายพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ลดหย่อนได้ตามจำนวนเงินได้ 300 วันสุดท้ายของการทำงาน แต่ไม่เกิน 300,000 บาท
15. ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง ไม่เกินร้อย 15 ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
16. ดอกเบี้ยบ้าน เงินกู้ยืมเพื่อการมีที่อยู่อาศัย ลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
17. เงินได้จากการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุดนั้น ลดหย่อนได้ตามจำนวนค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ฯ มูลค่าไม่เกิน 3,000,000 บาท และไม่เกินร้อยละ 20 ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์
18. เงินสมทบที่จ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม ลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 9,000 บาท
19. เงินบริจาคเพื่อการศึกษา / กีฬา / พัฒนาสังคม ลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนที่บริจาคจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้
20. เงินบริจาคทั่วไป / เงินช่วยเหลือผู้ประสบอุกทภัย ลดหย่อนได้ 1.5 เท่าของจำนวนที่บริจาคจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้
21. เงินบริจาคพรรคการเมือง ลดหย่อนได้ตามจำนวนที่บริจาคจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
22. โครงการ ช้อปดีมีคืน 2565 ลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท
23. เงินลงทุนธุรกิจวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
โปรแกรมคำนวณภาษี 2565
หลังจากตรวจสอบรายการค่าลดหย่อนภาษีเรียบร้อยแล้ว ทุกคนสามารถลองคำนวณรายการที่ต้องเสียภาษีทั้งหมดได้ โดยนำเงินรายได้ทั้งหมด มาหักลบกับอัตราภาษี 5 – 35 เปอร์เซ็นต์ ก็จะทราบจำนวนภาษีที่ต้องชำระ โดยสามารถตรวจสอบได้จากตารางด้านล่างนี้
หรือจะใช้โปรแกรมคำนวณภาษีก็ได้ ปัจจุบันมีเว็บไซต์ที่รองรับการคำนวณภาษีให้เลือกใช้มากมายเลยค่ะ
ผู้ที่มีรายได้รวมเกิน 150,000 บาทขึ้นไป อย่าลืมเตรียมตัวให้ดีเพื่อยื่นภาษีช่วงต้นปี 2566 กันด้วยนะคะ ทำหน้าที่ของคนไทยด้วยการไม่หลีกเลี่ยงการเสียภาษี เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพบ้านเมืองของเราต่อไปค่ะ.
สนใจลงโฆษณา บทความ Backlink กับ Thaiger ติดต่อคุณโอ๋ orakarn@thethaiger.com