NARIT ชวนดูฝนดาวตก ‘โอไรออนิดส์’ เริ่ม 21 ต.ค. 65 ตั้งแต่ 5 ทุ่มเป็นต้นไป
รอชมเลย! ดูฝนดาวตกโอไรออนิดส์ กลุ่มดาวนายพราน ในคืนวันที่ 21 ตุลาคม 2565 ตั้งแต่เวลา 23.00 น. เป็นต้นไป สามารถมองเห็นได้ทั่วประเทศไทย ทางทิศตะวันออก ในคืนที่ไม่มีแสงจันทร์
สถานบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ NARIT แจ้งว่าสามารถชมมีปรากฏการณ์ฝนดาวตก “โอไรออนิดส์-กลุ่มดาวนายพราน” ในคืนวันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม 2565 ตั้งแต่เวลา 23.00 น. ไปจนถึงรุ่งเช้าของวันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม 2565 มีศูนย์กลางการกระจายอยู่ทางทิศตะวันออก บริเวณแขนของกลุ่มดาวนายพราน อัตราการตกสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 20 ดวงต่อชั่วโมง
ทั้งนี้ในคืนวันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม 2565 เป็นวันข้างขึ้น 4 ค่ำ ดวงจันทร์ตกลับขอบฟ้าเวลาประมาณ 22:00 น. ทำให้สามารถดูและสังเกตการณ์ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ได้ตลอดทั้งคืนจนถึงเช้าของวันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม 2565
หากต้องการมองเห็นฝนดาวตกโอไรออนิดส์แบบชัดเจน แนะนำว่าควรไปดูอยู่ในสถานที่ซึ่งห่างจากตัวเมืองหรือพื้นที่ที่มีแสงไฟส่องสว่างจำนวนมาก ส่วนการมองฝนดาวตกที่ดีที่สุดคือ นอนชมด้วยตาเปล่า ตามทิศทางการกระจายตัวของฝนดาวตก หากฟ้าใสไร้ฝนสามารถชมความสวยงามของดาวตกโอไรออนิดส์ได้ทั่วประเทศ
ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ เกิดจากอะไร
สำหรับปรากฏการณ์ฝนดาวตก “โอไรออนิดส์” เกิดจากการที่โลกเคลื่อนตัวตัดผ่านเส้นทางการโคจรของดาวหางฮัลเลย์ (1P/Halley) ที่หลงเหลือเศษฝุ่นและวัตถุขนาดเล็กจำนวนมากทิ้งไว้ในวงโคจรขณะเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์เมื่อปี 2529
ส่งผลให้แรงโน้มถ่วงของโลกจะดึงดูดเศษฝุ่นและวัตถุขนาดเล็กเข้ามาเสียดสีกับชั้นบรรยากาศโลก ดังนั้นจึงทำให้เกิดการลุกไหม้ เห็นเป็นแสงวาบคล้ายลูกไฟพุ่งกระจายตัวออกมาจากกลุ่มดาวนายพราน ส่องแสงเรืองรองระยิบระยับสวยงามจับใจ
วิธีสังเกตการณ์ฝนดาวตกโอไรออนิดส์
- นอนชมด้วยตาเปล่า เลือกสถานที่มืดสนิทให้มากที่สุด
- เตรียมดูฝนดาวตกโอไรออนิดส์ ทิศตะวันออก เวลา 23.00 น. เป็นต้นไป
- หากมีโอกาสแนะนำให้ถ่ายภาพฝนดาวตกโอไรออนิดส์เก็บไว้
เทคนิคการถ่ายภาพฝนดาวตกไรออนิดส์
ให้เตรียมพร้อมถ่ายภาพปรากฏการณ์ฝนดาวตกไรออนิดส์-กลุ่มดาวนายพรานตั้งแต่เวลา 23.00 น. หรือหลังเที่ยงคืน ในคืนวันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม 2565 จากนั้นให้ติดตั้งกล้องถ่ายภาพกับขาตั้งกล้องให้มั่นคง เพราะการถ่ายภาพในที่มืดจะต้องนิ่งที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
เปิดรูรับแสงให้กว้างตั้งแต่ f/1.4-f/2.8 หรือกว้างที่สุดเท่าที่กล้องจะสามารถปรับได้ จากนั้นให้เลือกสปีดชัตเตอร์ต่ำ ตั้งแต่ระดับ 1/30 ไปจนถึง Bulb
ให้ทำการถ่ายภาพต่อเนื่องขั้นต่ำ 1 ชั่วโมง แล้วนำภาพที่ถ่ายมารวมติดกันในโปรแกรม Star Stack ก็จะสามารถสร้างภาพฝนดาวตกได้อย่างสวยงามชัดเจนนั่นเอง
- นาซ่าเผยภาพใหม่ “เสาแห่งการก่อกำเนิด” เนบิวลาอินทรี จากกล้องเจมส์ เวบบ์.
- ฝนดาวตกอีต้า อควอริดส์ ห้ามพลาด ดูได้คืนนี้ 5 พ.ค. ถึงเช้า 6 พ.ค. 2565.
สนใจลงโฆษณา บทความ Backlink กับ Thaiger ติดต่อคุณโอ๋ orakarn@thethaiger.com