อีเว้นท์ไลฟ์สไตล์

ประวัติ เทศกาลดิวาลี ตำนานวันแห่งแสง ขอพรพระแม่ลักษมี

เปิดตำนานวันแห่งแสง “เทศกาลดิวาลี” คือประเพณีปีใหม่ของชาวฮินดู มีประวัติความเป็นมาอย่างไร เกี่ยวข้องอะไรกับพระแม่ลักษมีและพระพิฆเนศบ้าง พร้อมแนะนำเรื่องราวน่าสนใจเกี่ยวกับเทศกาลแห่งแสงประจำวันที่ 28 ตุลาคม – 3 พฤศจิกายน 2567

สำรวจประเพณีเก่าแก่ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ในเทศกาลดิวาลี (diwali) หรือ “ดีปาวลี” หมายถึง เทศกาลแห่งแสงสว่าง จัดขึ้นเพื่อทำการบูชาขอพรพระแม่ลักษมี เทวีแห่งโชคลาภ ทรัพย์สินเงินทอง และพระพิฆเนศ เทพเจ้าแห่งความสำเร็จ ซึ่งเทศกาลดิวาลีเป็นหนึ่งในงานเฉลิมฉลองปีใหม่ของชาวฮินดูเชื้อสายอินเดียที่เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยในปีนี้วันดิวาลีจะตรงกับ28 ตุลาคม – 3 พฤศจิกายน 2567 รวมทั้งหมด 5 วัน ตามปฏิทินฮินดู คือ เดือนแก่งอัศวินันท์ หรือกฤษณปักษ์ ที่จัดต่อเนื่องตลอด 5 วันนั่นเอง

Advertisements

ประวัติ “เทศกาลดิวาลี”

ตามประวัติและตำนานเก่าแก่เล่าว่า วันดิวาลี คือวันที่พระรามผู้เป้นร่างอวตารของพระนารายณ์ ได้กลับสู่อาณาจักรหลังจากที่พระรามทรงยกทัพไปปราบนนทกหรือทศกัณฑ์ และทรงได้รับชัยชนะกลับมา อีกทั้งยังเชื่อมโยงถึงเทวีพระแม่ลักษมี เทพแห่งโชคลาภ และความร่ำรวย

เชื่อว่าเมื่อเกิดแสงสว่างขึ้น พระแม่ลักษมีจะประทานพรให้กับมนุษย์ เพราะทั้งตำนานของพระรามและพระแม่ลักษมี มีการสื่อความหมายถึงชัยชนะของแสงสว่างเหนือความมืด ความรอบรู้เหนือกว่าขวาเขลาเบาปัญญา และความดีเหนือความชั่วร้าย นอกจากนี้ผู้คนส่วนใหญ่ยังนิยมสักการะบูชาพระพิฆเนศในช่วงเทศกาลดิวาลีเพื่อขอพรให้ประสบความสำเร็จอีกด้วย

ในการทำพิธีเฉลิมฉลองเทศกาลดิวาลีจะมีการจุดพลุดอกไม้ไฟ หรือจุดตะเกียงท่ามกลางความมืด เพราะดิลาวาลีมีอีกชื่อเรียกว่า ดีปาวาลี หมายถึง แถวของตะเกียง สำหรับการจุดตะเกียงในค่ำคืนเดือนมืดสู่คืนข้างขึ้น เปรียบได้กับช่วงเวลาแห่งความมืดมิดที่สู่แสงสว่างนั่นเอง

นอกจากการจุดไฟในค่ำคืนตลอดช่วงเทศกาลดีปาวาลี ผู้คนส่วนใหญ่มักจะออกมาแบ่งปันขนมหวาน และการทำความสะอาดตกแต่งอาคารบ้านเรือนด้วยตะเกียงอย่างสวยงาม และในช่วงสุดท้ายของเทศกาลแห่งแสง ผู้ที่ร่วมพิธีกรรมจะกลับบ้านเพื่อสวดมนต์และฉลองกับครอบครัว

ประวัติเทศกาลวันดิวาลี บูชาพระแม่ลักษมี

Advertisements

วิธีการบูชาพระแม่ลักษมีในวันดิวาลี

เคล็ดลับในการขอพรบูชาพระแม่ลักษมีในวันปาวลีคือให้บูชาทั้งพระแม่ลักษมี พระพิฆเนศ และเทพกูเบรา หรือท้าวเวสสุวรรณ เพื่อขอพรโชคลาภ ความสำเร็จ และความโชคดี เสริมดวงครบเตรียมรับโชคดีแบบจัดเต็มได้เลย แนะนำว่าให้เอ่ยคำบูชาเป็นภาษาฮินดู ซึ่งมีให้เลือกอ่านหลายรูปแบบครับ

เทศกาลดิวาลีในประเทศไทยปีที่ผ่านมา

สำหรับเทศกาลดิวาลีในประเทศไทย ประจำปี 2566 ที่ผ่านมา Diwali Festival Bangkok 2023 จัดขึ้นสามวันระหว่างวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 ถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2566 ที่ที่เอ็มควอเทียร์ และบริเวณย่านลิตเติ้ลอินเดีย ถนนพาหุรัด คลองโอ่งอ่าง สะพานเหล็ก โดยจัดก่อนวันจริงที่เริ่มต้นในวันที่ 17-19 พฤศจิกายน 2566

ภายในงานดิวาลีมีกิจกรรมมากมาย อาทิ การสักการะบูชาพระพิฆเนศ และพระแม่ลักษมี, ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นเมืองของคนอินเดีย, การแสดงแสง สี เสียง ในแบบบอลลีวูด ทานอาหารอินเดียน-ไทย จากร้านชั้นนำ และเลือกซื้อของในมหกรรมสินค้าสะพานเหล็กนานาชนิด

ทั้งนี้เทศกาลดิวาลีในประเทศไทย เกิดจากความร่วมมือระหว่างกรุงเทพมหานคร ร่วมกับสมาคมอินเดียแห่งประเทศไทย (IAT) เครือข่ายพันธมิตรภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคธุรกิจของกลุ่มผู้ประกอบการชาวไทยเชื้อสายอินเดีย กลุ่มชาวอินเดียในประเทศไทย และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว และการศึกษาวัฒนธรรมที่หลากหลาย.

เทศกาลดิวาลี 2565 2022

อ้างอิง : 1 2

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button