อาหาร

คนซื้อปลาซาบะต้องเช็ก หลังคลิปซื้อปลาทะเลปรุงสุกในห้างฯ เจอแบบนี้

ไขข้อสงสัย หอมจียวหรืออะไร ? ยั้วเยี้ยอยู่ในเมนูปลาซาบะที่เพิ่งซื้อจากห้างฯ ไวรัลเตือนภัยพยาธิในปลาซาบะ ส่งตรงจากเมนูคนรักปลาดิบ

จากกรณีเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา เฟซบุ๊กแฟนเพจ เอฟเอ็มซีคลินิกเวชกรรม ได้ลงโพสต์ภาพเมนูอาหารที่มองผิวเผิน อาจทำให้หลายคนนึกเข้าใจผิดว่าเป็น ปลาซาบะย่าง โรยด้วยหอมเจียวทอด กรุ่น กลิ่นความอร่อย

แต่ ภาพดังกล่าวต่อมาได้ถูกทำให้ความเข้าใจคาดเคื่ลน กลับมามีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ทางเพจกำลังจะแจ้งเตือนให้ทราบถึงอันตรายจาก “พยาธิในปลาซาบะ” โดยเฉพาะเหล่าคอเมนูปลาดิบเลิฟเวอร์ทั้งหลายต้องระวังให้ดี ! เพราะ เรื่องราวอาจไม่จบสวยเหมือนเหตุการณ์ที่กลำงจะเล่าต่อไปนี้ ก็เป็นได้

โดยเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ทางเฟซบุ๊กเพจดังกล่าวได้ลงภาพ ปลาซาบะ พร้อมกับระบุข้อความบรรยายเนื้อหาในแคปชั่นว่า

“หากท่านซื้อปลาซาบะมาแล้วพบตัวกลมๆยาวๆ 1-3 เซนติเมตรขดอยู่ นั่นคือพยาธิตัวกลมอะนิซากิส พยาธินี้หากกินปลาดิบๆ พยาธิยังไม่ตายจะทำให้ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน หลังกินเข้าไปประมาณ 1-3 วัน แต่ถ้าสุกแล้วแบบนี้ ปลอดภัย”

ก่อนที่ทางเฟซบุ๊กเพจ เจ้าของโพสต์เตือนภัยพยาธิในปลานี้ จะแปะลิงก์คลิปวิดิโอเพิ่มเติมจากในบัญชี TikTok ที่เล่าถึงเคส ๆ หนึ่งซึ่งได้ทำการซื้อปลาซาบะที่คิดว่าปรุงสุกมาจากห้างสรรพสินค้าที่หนึ่ง

แต่ต่อมาคนที่ซื้อปลามานั้น เกิดผิดสังเกตุ สงสัยเจ้าสิ่งแปลกปลอมที่อยู่บนผิวชั้นบนของอาหารจมื้อโปรด เพราะหากมองเผินๆ อาจคิดว่าเป็นหอมเจียวได้ ทว่าจริงๆ แล้ว เจ้าสิ่งแปลกปลอมดังกล่าวนั้น คือ พยาธิตัวกลม ! หรือที่ทางเพจให้ข้อมูลว่ามันคือ พยาธิในปลา อนิสซาคิส ซึ่งหากเผลรับประธานเข้าไปก็จะส่งผลให้เกิดอาการที่มไม่พึงประสงค์อย่างที่ได้เตือนไว้ในตอนแรก

พยาธิอะนิซาคิส ลักษณะทั่วไป อาการ วิธีป้องกันและการรักษา

อ้างอิงข้อมูลจาก มหาวิทยาลัยมหิดล คณะเภสัชศาสตร์ พยาธิอะนิซาคิส (Anisakis simplex) พบในปลาทะเลที่วางขายในประเทศ โดยตรวจพบตัวอ่อนของพยาธิชนิดนี้ในปลาหลาย ชนิด เช่น ปลาดาบเงิน ปลาตาหวาน ปลาสีกุน ปลาทูแขก ปลากุเลากล้วย ปลาลัง เป็นต้น

ส่วนในต่างประเทศจะพบในปลาจำพวก ปลาคอด ปลาแซลมอน ปลาเฮอริ่ง ลักษณะเป็นพยาธิตัวกลม มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ตัวโตเต็มวัยมีความยาวถึงประมาณ 2-5 ซม. พบอยู่ในกระเพาะของปลาโลมา ปลาวาฬ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลชนิดอื่นๆ

“ไข่ของพยาธิ” จะปนออกมากับอุจจาระ เจริญเป็นตัวอ่อนอยู่ในทะเล มีพาหะเป็นพวกกุ้ง ปลาน้ำเค็มตัวเล็กๆ และเมื่อสัตว์เหล่านี้ถูกกินด้วยปลาตัวอื่น พยาธิก็จะฝังตัวอยู่ในกล้ามเนื้อของปลาเหล่านั้น ซึ่งคนที่รับประทานปลาดิบที่มีพยาธินี้อยู่ก็จะติดเชื้อพยาธิได้

จากนั้นพยาธิจะถูกปลดปล่อยออกมาจากเนื้อปลาที่รับประทานเข้าไป โดยน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร หรืออาจจะถูกขับออกมาจากกระเพาะอาหารเสียก่อนโดยการอาเจียน ซึ่งก็จะไม่ทำให้เกิดโรค แต่ในกรณีที่พยาธิไม่ถูกขับออกไป พยาธิอาจจะชอนไชไปตามทางเดินอาหาร แล้วอยู่ในลำไส้ และอยู่นอกลำไส้ภายในช่องท้องก็ได้

อาการของโรค

ภายหลังจากได้รับ พยาธิในปลานี้ 1 ชั่วโมง อาจมีอาการปวดท้อง ปวดกระเพาะอาหาร ลำไส้อุดตัน คลื่นไส้อาเจียน และอาจมีอาการคล้ายๆ ไส้ติ่งอักเสบ อาจจะทำให้วินิจฉัยผิดพลาดเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือไส้ติ่งอักเสบได้

บางรายอาจถ่ายออกมาเป็นมูกเลือด ภายใน 1-5 วัน ผู้ป่วยอาจจะอาเจียนออกมาเป็นตัวพยาธิ หรืออาจจะพบพยาธิเมื่อส่องกล้องเข้าไปในหลอดอาหาร เนื่องจากตัวอ่อนไม่สามารถเจริญและวางไข่ในคนได้ ดังนั้นการ ตรวจอุจจาระเพื่อหาไข่พยาธิชนิดนี้จึงไม่ช่วยในการวินิจฉัย การรักษามีทางเดียวคือการเอาตัวพยาธิออกมาจากผนังกระเพาะหรือบริเวณเนื้อเยื่อที่พยาธิเข้าไปฝังตัวอยู่ โดยการผ่าตัด เพราะยาฆ่าพยาธิใช้ไม่ได้ผล

การป้องกัน พยาธิในปลา (พยาธิอะนิซาคิส)

เมื่อจำเป็นต้องรับประทานเนื้อปลาทะเล ควรทำให้สุกด้วยอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 60 องศาเซลเซียส อย่างน้อย 5 นาที ถ้าเป็นเนื้อปลาสดควรเก็บที่อุณหภูมิ ต่ำกว่า -20 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 7 วัน หรือต่ำกว่า -35 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 15 ชั่วโมง จะทำให้พยาธิ Anisakis simplex ตายได้

ดังนั้นการรับประทานปลาดิบ อาหารอันเลื่องชื่อของแดนอาทิตย์อุทัย เราจึงต้องให้ความระมัดระวัง อย่างน้อยให้สังเกตดูลักษณะของเนื้อปลาก่อนรับประทานว่ามี ตัวอ่อนของพยาธิปะปนอยู่หรือไม่ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยและความอร่อยที่ไร้อันตรายแอบแฝง

พยาธิในปลาซาบะ
ภาพ Facebook เอฟเอ็มซีคลินิกเวชกรรม

https://www.tiktok.com/@fmcclinic/video/7144662142791240986?_r=1&_t=8VmdkaIo43d&is_from_webapp=v1&item_id=7144662142791240986

ขอบคุณคลิป : TikTok @fmcclinic

 

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button