กัญชา

ต้องรู้! 6 โรคที่ห้ามใช้กัญชา เสี่ยงต่อสุขภาพผู้ป่วยมากกว่าเดิม

หมอเตือน 6 โรคที่ห้ามใช้กัญชา แม้ว่ากัญชาทางการแพทย์จะมีกฎหมายรองรับ แต่ใช่ว่าผู้ป่วยทุกโรคจะรักษาได้ด้วยกัญชา เบื้องต้นคนไข้ทั้ง 6 กลุ่มโรคยังไม่มีรายงานแน่นอนเกี่ยวกับงานวิจัยว่า “รักษาด้วยกัญชา” ว่าส่งผลดีในทางการแพทย์

ปัจจุบัน กัญชา กัญชง ถูกยอมรับว่าเป็นสมุนไพรที่สามารถใช้รักษาโรคในทางการแพทย์ได้อย่างถูกกฎหมายตามนโยบาย กัญชาเสรี ตั้งแต่วันที่ 9 มิ.ย. 65 แต่ก็ยังมีโรคอีกหลายชนิดที่ไม่สามารถนำสารสกัดจากกัญชามารักษาได้ เนื่องจากไม่มีงานวิจัยรองรับที่แน่นอนจึงอาจส่งผลเสียให้แก่ผู้ป่วยกลุ่มโรคดังกล่าวมากกว่าเดิม หรือสารสกัดจากกัญชาบางชนิดให้ผลที่ด้อยกว่าการรักษาแบบปกติของแพทย์ ซึ่งทีมงานเดอะไทยเกอร์ได้รวบรวมข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับโรคที่ห้ามใช้กัญชาในการรักษา รวมถึงกลุ่มคนที่ไม่สามารถใช้กัญชา กัญชงได้ตามด้านล่างนี้

1. โรคพาร์กินสัน

สำหรับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) จะไม่สามารถรับการรักษาด้วยสารสกัดจากกัญชาได้ในระยะยาว เพราะกัญชาไม่มีผลลัพธ์ที่สามารถรักษาอาการเคลื่อนไหวช้าผิดปกติ ซึ่งเป็นอาการหลักของผู้ป่วยโรคพาร์กินสันได้ ทั้งนี้ทางการแพทย์ได้ระบุว่า กัญชาช่วยบรรเทาอาการปวด หรืออาการผิดปกติที่พบขณะนอนหลับของผู้ป่วยโรคพาร์กินสันได้เท่านั้น

โรคที่ห้ามใช้กัญชา

2. โรคอัลไซเมอร์

ถึงแม้ว่า โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) จะสามารถรับการรักษาด้วยสารสกัดจากกัญชาได้จริง แต่ก็ยังไม่มีรายงานที่แน่นอนว่า ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จำเป็นต้องใช้กัญชาในการรักษาโรค เพราะอาการผิดปกติทางความรู้สึกนึกคิดและอาการทางประสาททางจิตเวชเป็นเงื่อนไขที่ยากสำหรับการรักษาในแต่ละบุคคล ซึ่งมีปัจจัยที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้หากต้องการใช้กัญชาในการรักษาผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จำเป็นต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านประสาทวิทยาเสียก่อน ไม่มีงานวิจัยรองรับว่าใช้กัญาแล้วจะทำให้ความจำของผู้ป่วยอัลไซเมอร์กลับมาดีขึ้น

3. โรคลมชัก

กระทรวงสาธารณสุขได้เปิดเผย โรคลมชัก ชนิดที่สามารถรักษาด้วยกัญชาได้ 2 ชนิด ได้แก่ ดราเว็ต ซินโดรม (Dravet syndrome) และเลนนอกซ์ แกสโตท์ (Lennox-Gastaut syndrome) ซึ่งเป็นโรคลมชักชนิดที่เกิดภายในเด็ก ทั้งนี้โรคลมชักทุกชนิดจะต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์เรื่องการใช้กัญชาในการรักษาเสียก่อน ไม่สามารถนำมารับประทานเองได้ เพราะสารสกัดจากกัญชาบางตัวมีผลทับซ้อนกับยาที่ใช้ประจำบางชนิด จึงอาจส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่าเดิม

4. โรคปวดศีรษะชนิดปฐมภูมิ

อาการปวดศีรษะชนิดปฐมภูมิ คืออาการปวดศีรษะ หรืออาการปวดหัวที่เกิดขึ้นโดยไม่สามารถระบุสาเหตุของอาการได้ เช่น ไมเกรน (Miraine) ไม่สามารถใช้ยารักษาจากสารสกัดของกัญชา กัญชงได้ เนื่องจากยังไม่มีรายงานระบุว่าผลลัพธ์การรักษาที่ได้จะมีประสิทธิภาพช่วยอาการแก้ปวดหัวได้เท่าการรักษาแบบปกติ

โรคที่ห้ามใช้กัญชา

5. โรคหัวใจและหลอดเลือด / โรคตับ / โรคไต

สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ผู้ป่วยโรคตับ และผู้ป่วยโรคไต ไม่สามารถรับการรักษาด้วยการใช้กัญชาทางการแพทย์ได้ เนื่องจากสารสกัด THC (Tetrahydrocannabino) ในกัญชา กัญชงมีผลต่ออาการของผู้ป่วยในโรคกลุ่มนี้ จะทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ ความดันตก เพราะความเสี่ยงหัวใจขาดเลือดหล่อเลี้ยง

6. โรคสุขภาพทางจิต

ผู้ป่วยที่เป็นโรคสุขภาพทางจิต จิตเวช ได้แก่ โรคจิตเภท กลุ่มโรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว ห้ามใช้กัญชาในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้เด็ดขาด ถึงแม้ว่าสารสกัดจากกัญชา กัญชงจะได้ผลดีในช่วงระยะเริ่มต้น แต่กลับส่งผลเสียเมื่อใช้กัญชาไปในระยะที่นานขึ้น ซึ่งมีรายงานระบุไว้ว่า การใช้กัญชาในโรคซึมเศร้าจะส่งผลเสียให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีอัตราเสี่ยงในการฆ่าตัวตายที่สูงขึ้น จึงห้ามนำกัญชามาใช้รักษาโรคสุขภาพทางจิตโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้อาการทางจิตเวชหนักกว่าเดิม

กลุ่มคนที่ห้ามใช้กัญชา

นอกจากโรคที่ห้ามใช้กัญชาในข้างต้นแล้ว ยังมีกลุ่มบุคคลที่ไม่สามารถใช้กัญชาในการรักษาได้อีก เนื่องจากปัญหาทางสุขภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรง ได้แก่ เด็กหรือเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี หญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตร ผู้แพ้สารสกัดจากกัญชา ผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด และผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการทำร้ายตนเองสูง

ทั้งหมดนี้เป็น 6 โรคที่ห้ามใช้กัญชา ในการรักษา รวมถึงหากจำเป็นต้องใช้กัญชาทางการแพทย์ในการรักษา ควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มโรคชนิดนั้น ๆ ให้เรียบร้อยเสียก่อน ถึงแม้จะไม่ผิดกฎหมายแต่เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยทั้ง 6 กลุ่มโรค.

อ้างอิง : 1 2

โรคที่ห้ามใช้กัญชา

*** หากคุณต้องการติดต่อข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการโปรโมทธุรกิจกัญชาของคุณกับ Thaiger โปรดติดต่อ sales@thethaiger.com

mahatee niramitrsathit

มหาธีร์ นิรมิตสถิต ลูกครึ่งไทย เมียนมาร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกัญชา ทั้งการปลูกและศึกษาวิจัยกัญชาเพื่อการแพทย์ ภูมิปัญญาชาวบ้าน พร้อมให้ความรู้เกี่ยวกับกัญชา กัญชงที่ถูกกฎหมายและปลอดภัย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button