การเงิน

รู้จัก ‘เงินบาทดิจิทัล (CBDC)’ คืออะไร? Digital Currency สัญชาติไทย ที่ไม่ควรมองข้าม

สรุป เงินบาทดิจิทัล CBDC คืออะไร ? ทำไมคนไทยต้องรู้ แบบเข้าใจง่าย ๆ หลังแบงก์ชาติ กำลังเตรียมทดลองใช้ ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2565 นี้

จากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาประกาศกาสจะเริ่มใช้ สกุลเงินดิจิทัลสำหรับประชาชนที่ออกโดยแบงก์ชาติ (Central bank digital currency: CBDC) ในช่วงกลางปี 2565 ก็ทำให้หลายคนอดสงสัยไม่ได้ว่า “เงินบาทดิจิทัล”คืออะไร ใช้อย่างไร มีความเหมือนต่างกับ คริปโต หรือไม่ ? เพิ่มทางเลือกในการชำระเงินที่มีอยู่ ได้จริงหรือ วันนี้ The Thaiger มีคำตอบมาให้แล้ว

Advertisements

สรุป เงินบาทดิจิทัล คืออะไร ? ทำไมคนไทยต้องรู้ หลังแบงก์ชาติ เตรียมใช้ในปี 2565

| เงินบาทดิจิทัล คืออะไร ?

เงินบาทดิจิทัล เปรียบได้กับ คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) ที่ออกโดยแบงก์ชาติ ทำหน้าที่เหมือน Stablecoin ที่จะคงตรึงราคาไว้กับค่าเงินของประเทศหรือบาทไทย ซึ่งเงินบาทดิจิทัลจะทำหน้าที่คล้ายเงินสด แต่จะนำมาใช้ได้ในแพลตฟอร์มออนไลน์และออฟไลน์ มีความปลอดภัยสูงและไม่มีค่าธรรมเนียม

| เงินบาทดิจิทัล ต่างจากช่องทางการชำระเงินอื่น ๆ อย่างไร ?

| เงินบาทดิจิทัล ต่างจาก เงินสด อย่างไร ?

ปกติเวลาจะใช้เงินสด หลายคนต้องถอนเงินฝากมานับและใช้จ่ายเงินผ่านมือกัน ซึ่งจะต่างจาก เงินบาทดิจิทัล คือ ไม่มีอะไรให้จับต้องได้ แต่เป็นเงินที่ออกโดยธนาคารกลาง โดยสามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย และมีสินทรัพย์ภาครัฐหนุนหลังเหมือนเงินสด

ก่อนจะใช้งานได้ ประชาชนจะต้องเอาเงินฝาก/เงินสดมาแลกไปเก็บไว้ในกระเป๋าเงินดิจิทัล สำหรับคนทั่วไปที่ไม่มีสมาร์ทโฟน อินเตอร์เน็ต หรือบัญชีเงินฝากกับสถาบันการเงิน ก็จะสามารถเข้าถึงใช้งานได้ด้วย เช่น ผ่านการ์ดที่ใช้แตะเพื่อรับจ่ายเงินได้

| เงินบาทดิจิทัล ต่างจาก คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) อย่างไร ?

Advertisements

เงินบาทดิจิทัล นั้นต่างจากคริปโทเคอเรนซี ที่สร้างขึ้นโดยภาคเอกชน ซึ่งมีมูลค่าผันผวนมากและยังไม่มีกฎหมายเงินตรารองรับ ยกเว้นในบางประเทศที่มรการประกาศยอมรับบิตคอยน์เป็นเงินตราใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย

นอกจากนี้ เงินบาทดิจิทัล ยังแตกต่างจาก คริปโทเคอเรนซี ประเภทมีกลไกตรึงมูลค่า กับสกุลเงินหลักหรือสินทรัพย์อื่นให้ราคาผันผวนน้อยลง หรือ สเตเบิลคอยน์ (stablecoins) ซึ่งผู้ถือก็ไม่สามารถมั่นใจได้ว่า สินทรัพย์ที่ใช้ตรึงมูลค่ามีอยู่จริงและใครจะเป็นผู้รับรองให้

| เงินบาทดิจิทัล ต่างจาก เงินฝากธนาคาร อย่างไร ?

เงินบาทดิจิทัล นั้นแตกต่างจากการโอนเงินกันผ่านบัญชีเงินฝากบนอินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้ง ซึ่งคนไทยก็ใช้งานกันได้สะดวกคุ้นเคย ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม สำหรับคนที่ชอบใช้เงินสด เพราะใช้จ่ายกันโดยตรงได้เลย ถือไว้ปลอดภัยไม่เสี่ยง สภาพคล่องสูง การมีเงินบาทดิจิทัลเพิ่มมาจะช่วยลดสัมผัส

ลดต้นทุนเดินทางฝากถอน และเพิ่มประสิทธิภาพให้เงินสดน่าใช้ขึ้นด้วยเทคโนโลยีทางการเงินแบบใหม่ ทำให้ธุรกรรมเงินสดดิจิทัลถึงไว ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมถ้าใช้จ่ายทั่วไปวงเงินไม่ได้สูงมาก เป็นอีกทางเลือกที่ไม่ต้องโอนเงินผ่านสถาบันการเงิน ซึ่งอาจมีข้อจำกัดเยอะกว่า

 

| เงินบาทดิจิทัล ต่างจาก E-money อย่างไร ?

e-money เป็นเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ออกโดยสถาบันการเงินและผู้ประกอบการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (non-bank) ภายใต้กฎหมายระบบการชำระเงิน โดยผู้ให้บริการจะออก e-money ให้แก่ผู้ใช้ที่เติมเงินไว้ล่วงหน้าเพื่อเอาไปจ่ายชำระค่าสินค้าและค่าบริการในวงปิดเฉพาะเครือข่ายที่รับชำระ e-money นั้น ๆ ซึ่งอาจอยู่ในรูปการ์ด เช่น บัตรรถไฟฟ้า บัตรเติมเงิน

ทั้งนี้มูลค่าของ e-money ในกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์จะเท่ากับมูลค่าเงินที่เติมไว้ ซึ่งต่างจาก เงินบาทดิจิทัล ที่ออกใช้โดยแบงก์ชาติ ที่สามารถใช้จ่ายชำระได้ในวงกว้าง ทั่วถึงกว่า

| วิธีใช้ เงินบาทดิจิทัล CBDC

จากกระแสข่าวที่ออกมา พบว่าธนาคารแห่งประเทศไทย เตรียมทดลองให้ประเทศไทยได้ใช่ เงินบาทดิจิทัล (CBDC) ในช่วงกลางปี 2565 นี้สำหรับวิธีการใช้งาน จะมีลักษณะคล้ายกับ Stablecoin คือ มูลค่าจะถูกหนุนหลังด้วยเงินบาทในอัตราส่วน 1:1 หมายความว่าทุกการออกเงิน 100 บาทดิจิทัล ก็จะต้องมี 100 บาทเก็บสำรองเอาไว้ในบัญชีธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่เสมอ

สำหรับใครที่ต้องการใช้ เงินบาทดิจิทัล (CBCD) สามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงแค่นำเงินสด หรือเงินฝาก ไปแลกกับสถาบันการเงิน หรือผู้ให้บริการทางการเงินที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย หลังจากนั้นจะสามารถเลือกเก็บเงินบาทดิจิทัล ผ่าน 2 ช่องทาง ได้แก่

  1. แอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน ที่ทางธนาคารหรือผู้ให้บริการทางการเงินที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยจะเป็นผู้ดูแล คล้ายกับแอปธนาคารทั่วไปที่เราใช้กัน
  2. สมาร์ทการ์ด ทางเลือกสำหรับคนทั่วไปที่ไม่มีสมาร์ตโฟน อินเทอร์เน็ต หรือบัญชีเงินฝากกับสถาบันการเงิน

ขอบคุณข้อมูล 1 2

baesittichot

นักเขียนสายฮาอารมณ์ดี ไลฟ์สไตล์ เรื่องน่ารู้ทั่วไป ตามติดเทรนด์ฮิตที่ห้ามพลาด อัปเดตข่าวเศรษฐกิจ การเงิน ประสบการณ์งานเขียนมากกว่า 1 ปี ชอบเม้าท์มอย ส่งต่อเรื่องราวน่าสนใจผ่านตัวอักษร ผลงานทุกชิ้นจึงเป็นเหมือน 'เพื่อน' ที่อยากเล่าสิ่ง ๆ ต่างให้คุณได้รู้เป็นคนแรกเสมอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button