เช็คเลย ประกันสังคม เงินชราภาพ ม.33 เงินบำเหน็จ เงินบำนาญ แบบไหนดี มีคำตอบ
เลือกอย่างไหนดี ประกันสังคม เงินชราภาพ ม.33 เงินบำเหน็จ – เงินบำนาญ เช็ครายละเอียดที่นี่ หลังจาก ครม. ประกาศ อนุมัติ ร่าง พ.ร.บ. ไฟเขียว ประกันสังคม ผู้ประกันตน “ยืม” เงินชราภาพได้แล้ว พร้อมปรับปรุงสิทธิประโยชน์ ให้เลือกเองได้
อัปเดต ข่าว ประกันสังคม ล่าสุด วันนี้ 19 พฤษภาคม 2565 เงินชราภาพ ผู้ประกันตน มาตรา 33 (ม.33) จากกรณีที่ ครม. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม ให้มีการปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติม สิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน เงินชราภาพ 3 ขอ ประกอบด้วย
1. ขอเลือก เงินบำเหน็จ เงินบำนาญ – ซึ่งผู้ประกันตน ม.33 ประกันสัังคม สามารถ “ขอเลือก” ระหว่าง เลือกรับ เงินบำเหน็จ หรือจะเลือกรับ เงินบำนาญ
2. ขอคืน เงินชราภาพ บางส่วน – โดยผู้ประกันตน ม.33 สามารถ “ขอคืน” เงินชราภาพ บางส่วน มาใช้ก่อนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
3. ขอกู้ เงินชราภาพบางส่วน ไปเป็นหลักค้ำประกัน – ผู้ประกันตน มาตรา 33 ประกันสังคม สามารถ “ขอกู้” เงินชราภาพบางส่วนไป เป็นหลักค้ำประกันการกู้เงิน กับธนาคารหรือสถาบันการเงินได้
ดังนั้น ทีมงาน The Thaiger จึงจะมาแนะนำ พร้อมกับตอบข้อสงสัย รายละเอียดของ เงินบำเหน็จชราภาพ และเงินบำนาญชราภาพ ว่าแตกต่างกันอย่างไร เลือกแบบไหนดีกว่ากัน สำหรับผู้ประกันตน ม.33
เงินชราภาพ เงินบำเหน็จ ประกันสังคม ผู้ประกันตน ม.33
สำหรับเงินชราภาพ เงินบำเหน็จ ผู้ประกันตน ม.33 จะได้สิทธิเฉพาะกรณีที่ จะต้องมีอายุครบ 55 ปี บริบูรณ์ ส่งเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน (15 ปี) และเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ
โดยเงินบำเหน็จชราภาพ จะเป็นการจ่ายเงินก้อนเพียงครั้งเดียว และหากจ่ายสมทบน้อยกว่า 12 เดือน (น้อยกว่า 1 ปี) จะได้รับเงินสมทบจำนวนเท่าที่ผู้ประกันตนจ่าย ได้รับเงินออมชราภาพของผู้ประกันตนฝ่ายเดียว
ซึ่งระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบของผู้ประกันตน จะเริ่มตั้งแต่ 12 – 179 เดือน (1 ปี – 14 ปี) จะได้รับเงินออมชราภาพของผู้ประกันตน, เงินสมทบนายจ้าง และเงินผลประโยชน์ตอบแทน
เงินชราภาพ เงินบำนาญ ประกันสังคม ผู้ประกันตน ม.33
รายละเอียดเงื่อนไขของ เงินชราภาพ เงินบำนาญ ผู้ประกันตน ม.33 จะต้องมีมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน ขึ้นไป ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
สำหรับเงินบำนาญชราภาพ จะเป็นรูปแบบการจ่าย รายเดือน ตลอดชีพ การคำนวณสิทธิที่จะได้รับ หากจ่ายเงินสมทบ จ่ายสมทบ 180 เดือน (15 ปี) จะคำนวณจาก 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (5ปี) ก่อนที่จะสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน โดยคำนวณจาก ฐานค่าจ้างสูงสุด เริ่มต้น 1,650 บาท และ ไม่เกิน 15,000 บาท โดยมีสูตรการคำนวณเงินชราภาพ เงินบำนาญ กรณีจ่ายสมทบครบ 180 เดือน ดังนี้
= (20 x อัตราค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย) ÷ 100
เช่น หากนาย ก อายุครบกำหนด 55 ปีบริบูรณ์ (ตามเงื่อนไข) และได้รับเงินเดือนเฉลี่ยช่วง 60 เดือนสุดท้าย (5 ปี) มากกว่า 15,000 บาท จะต้องใช้ฐานเงินเดือน 15,000 บาท สำหรับคำนวณ เงินบำนาญ เงินชราภาพ ตามสูตร = 20 x 15,000) ÷ 100 เท่ากับจะได้รับเงินบำนาญ เงินชราภาพเดือนละ 3,000 บาท
อีกทั้งการจ่ายเงินสมทบ เกิน 180 เดือน (15 ปี) จะบวกเพิ่ม ปีละ 1.5% ต่อปี
แนะนำ วิธีเช็ค ยอดเงินสะสม “ประกันสังคม” เงินชราภาพ
สามารถเข้าไปเช็คยอดเงินสะสม เงินชราภาพ ประกันสังคม ได้ง่าย ๆ ตรวจสอบยอดเงินสะสมพร้อมกับคำนวณเงินชราภาพได้แล้ว ผ่านเว็บไซต์ สำนักงานประกันสังคม >> https://www.sso.go.th/wpr/
อ้างอิง : สำนักงานประกันสังคม