ข่าวข่าวภูมิภาค

‘หมอธีระวัฒน์’ ย้่ำ โควิดยังไม่จบ ติดโควิดซ้ำ หรือ ฉีดวัคซีน ไม่เกิดภูมิหมู่

หมอดื้อ หรือ หมอธีระวัฒน์ ออกมาแสดงความเห็นว่า โควิดยังไม่จบ ชี้ ติดโควิดซ้ำ หรือ ฉีดวัคซีน ไม่เกิดภูมิคุ้มกันหมู่

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความเฟซบุ๊กภายใต้หัวข้อว่า “คิดว่าจบ แต่ก็ไม่จบ คนไทยต้องตาสว่าง ดูรอบด้าน” ชี้การติดโควิดกับฉีดวัคซีนซ้ำซาก ไม่ทำให้เกิดภูมิคุ้นกันหมู่

โดยข้อความระบุว่า “1. ตอนแรกเราก็คิดว่าโอมิครอนมาแล้วจบ แต่กลายเป็นว่า BA1 พอจบ ต่อด้วย BA2 ยังไม่ทันจบ มีตัวแทรกคือ X แบบควบสายขี่ข้ามสาย เดลตากับโอมิครอน หรือแบบควบกันเองในสายย่อยโอมิครอน ขณะที่ omidelta ขี่ควบข้ามสายแม้จะเกิดขึ้น แต่หวังว่าไม่เก่งนัก หวังว่าไม่มี Selective advantage มาก

2. เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า เมื่อใดที่มีการติดเชื้อแพร่กระจายไปเรื่อยๆ ไม่หยุดยั้ง จะส่งเสริมให้ไวรัสมีการปรับตัวไปเรื่อยๆ เกิดสายต่างๆกัน

3. การติดเชื้อไปแล้ว ฉีดวัคซีนซ้ำซากไปแล้ว ไม่สามารถทำให้เกิด “ภูมิคุ้มกันหมู่” และไม่สามารถป้องกันการติดซ้ำใหม่ได้ โดยที่แม้จะมีภูมิในประชากรไปมากกว่า 70% ก็ตาม ไม่สามารถสงบการระบาดของโควิดได้ เหมือนกับโรคอื่นที่เมื่อคนที่มีภูมิก็ไม่ติดเชื้อใหม่ ไม่แพร่ต่อ และโรคก็จะสงบไปเอง (แถลงจาก NIH สหรัฐฯ โดย Dr Fauci 31 มี.ค. 2565)

4. ขณะเดียวกัน ทุกคนหวังว่าการติดเชื้อไปก่อนหน้า และการฉีดวัคซีนซ้ำซากถึงแม้จะป้องกันการติดใหม่ไม่ได้ก็ตาม แต่ลดอาการหนักและตาย แต่ในประเทศเกาหลีใต้ที่มีการฉีดวัคซีนครบ และมีเข็มกระตุ้นมหาศาล อัตราอาการหนักและเสียชีวิตสูงมาก และเช่นเดียวกันจากบทเรียนในปี 2020 ที่พื้นที่ในเขตแอมะซอนที่มีการติดเชื้อตามธรรมชาติที่คิดว่าจะได้ภูมิดีที่สุด เมื่อสายพันธุ์เปลี่ยน ติดเชื้อใหม่ก็มีอาการรุนแรงและตายเหมือนเดิม

ดังนั้น ถ้าจะฉีดวัคซีนต้องพยายามหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงให้มากที่สุด โดยการฉีดเข้าชั้นผิวหนังที่ใช้ปริมาณน้อยกว่า ได้ผลแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เพราะมีกลไกการทำงานต่างกัน

5. การควบคุมขณะนี้ไม่สามารถใช้กลยุทธ์วัคซีนอย่างเดียวได้ ต้องควบคู่กับการรักษาที่เข้าถึงได้ทุกคน ทั่วถึงตั้งแต่นาทีแรกที่รู้ว่ามีติดเชื้อ และต้องตระหนักว่ายาที่ใช้ในปัจจุบันที่มีกลไกออกฤทธิ์เดี่ยว ที่ตำแหน่งเดียวของวงจรไวรัส อาจมีประสิทธิภาพลดลงจากรายงานในประเทศต่างๆ จึงมียาราคาแพงออกมาตลอดเวลา รวมทั้งการใช้โมโนโคลนัลแอนติบอดี ที่ต้องปรับเปลี่ยนไปตามสายพันธุ์

6. ยาบ้านๆ ของไทย และยาถูกพี่หมดสิทธิบัตรแล้วที่ใช้กันในหลายประเทศทั่วโลก และสามารถใช้ในการป้องกันและรักษาทันทีเมื่อติด ต้องนำมาพิจารณาอย่างรีบด่วน การอิงตามคำแนะนำของต่างประเทศที่ผลิตยาแพง และผลิตวัคซีนอย่างเดียว ต้องหันมาพิจารณาหลักฐานและข้อมูลในสถานการณ์จริงด้วย ยาถูกๆ ที่กล่าวว่าใช้ไม่ได้ผล แท้ที่จริงแล้วให้ช้าไป หรือไม่แทนที่จะให้ตั้งแต่ต้น กลับให้เมื่อเกิดอาการไปแล้วภายในเจ็ดวัน และให้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น

Nateetorn S.

ผู้สื่อข่าว ทำงานกับ Thaiger มาตั้งแต่ปี 2020 จบการศึกษาจากคณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสคร์ เคยทำงานกับสถานีโทรทัศน์อันดับ 1 ของประเทศ ทำให้มประสบการณ์ความเชี่ยวชาญ เจาะประเด็นข่าวการเมืองอาชญากรรม ข่าวแปลกๆ เรื่องน่าสนใจจากต่างประเทศ ช่องทางติดต่อ tee@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button