เคลียร์ให้เข้าใจ จะได้ไม่สร้างหนี้เปล่า บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด ต่างกันอย่างไร ตอบทุกข้อสงสัย ข้อดี ข้อเสีย บัตรเครดิตใช้กดเงินสดได้หรือไม่ เลือกปิดใบไหนก่อนดี เผื่อใช้เป็นแนวทางก่อนเริ่มเข้าทีม #คนมีบัตร รู้ไว้ ใช้เป็น รับรองว่าไม่สร้างหนี้ให้ปวดหัวแน่นอน
บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด ต่างกันอย่างไร
บัตรเครดิต คือ บัตรที่เน้นใช้รูดเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการต่าง ๆ มีวงเงินที่จำกัด ผู้ใช้บัตรมักจะได้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามเงื่อนไขของบัตรแต่ละธนาคารเมื่อมีการใช้งาน เช่น ได้รับเครดิตเงินคืน ได้รับส่วนลด แต้มสะสมจากยอดการใช้งาน การผ่อนชำระ ในปัจจุบันสามารถใช้บัตรเครดิตสินค้าและบริการได้หลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นร้านค้า ร้านอาหาร ระบบขนส่งสาธารณะ เป็นต้น
บัตรกดเงินสด คือ บัตรที่เน้นใช้กดและผ่อน เหมือนกับเรานำเงินในอนาคตมาใช้ก่อน เหมาะสำหรับความต้องการใช้เงินในกรณีฉุกเฉิน เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเทอม เป็นต้น
บัตรเครดิต กดเงินสดได้ไหม
บัตรเครดิตสามารถกดเงินสดได้ แต่หากไม่จำเป็น แนะนำว่าไม่ควรใช้บัตรเครดิตกดเงินสดเป็นอันขาด เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่คุณใช้บัตรเครดิตกดเงินสดออกมาใช้ คุณต้องเตรียมใจเสียดอกเบี้ยร้อยละ 3 ของจำนวนเงินที่กดออกมา เหมือนเสียเงินเปล่าไปฟรี ๆ จำนวนหนึ่งเลยล่ะค่ะ
บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด ชำระหนี้ขั้นต่ำต่อเดือนได้เท่าไหร่
สำหรับบัตรเครดิต การชำระหนี้ขั้นต่ำจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 10 ของยอดหนี้ที่ค้างชำระ ส่วนบัตรกดเงินสด การชำระขั้นต่ำจะขึ้นอยู่กับวันที่มีการใช้บัตร อยู่ที่ประมาณร้อยละ 3-5
ข้อดี บัตรกดเงินสด
- สามารถถอนเงินสดได้ทันทีที่ต้องการใช้งาน โดยไม่ต้องมีหลักประกันใด ๆ
- ไม่เสียค่าธรรมเนียมในการกดเงินสด
- พิจารณาวงเงินตามฐานเงินเดือน เครดิตที่ผู้ใช้บัตรมี แต่วงเงินจะสูงกว่าบัตรเครดิต
- เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการใช้เงินสดแบบฉุกเฉิน
- เลือกผ่อนชำระขั้นต่ำตามที่แต่ละธนาคารกำหนดได้
- ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการรักษาบัตร แม้ว่าไม่มีการใช้งานบัตรเลยก็ตาม
ข้อเสีย บัตรกดเงินสด
- ดอกเบี้ยค่อนข้างสูง สูงสุดไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปี
- เหมาะสำหรับผู้ที่มีวินัยในการชำระหนี้
- ไม่สามารถใช้จ่ายผ่านบัตรได้ทันที ต้องไปกดเงินสดออกจากตู้มาก่อน
ข้อดี บัตรเครดิต
- ดอกเบี้ยถูกกว่าบัตรกดเงินสด
- หากชำระเงินในเวลาที่กำหนด จะไม่เสียดอกเบี้ย
- เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการพกเงินสดจำนวนมาก
ข้อเสีย บัตรเครดิต
- วงเงินจำกัด ตามฐานเงินเดือน เครดิตที่ผู้ใช้บัตรมี
- หากชำระหลังเวลาที่กำหนด จะเสียดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 20 ต่อปี
- เสียค่าธรรมเนียมในการกดเงินสด
บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด ปิดหนี้ก้อนไหนก่อนดี
อีกคำถามน่าหนักใจสำหรับคนที่มีบัตรหลายใบในมือ ทั้งบัตรกดเงินสดและบัตรเครดิต บางคนอาจจะเลือกปิดจากใบที่มีดอกเบี้ยสูงที่สุดก่อน แต่ก็มีบางคนที่เลือกปิดจากใบที่มีดอกเบี้ยต่ำ เพื่อให้สามารถเคลียร์หนี้ได้อย่างรวดเร็ว พอปิดได้ใบหนึ่งแล้ว เราอาจจะรู้สึกมีกำลังใจในการปิดใบต่อ ๆ ไปก็ได้นะคะ
อีกข้อแนะนำที่อยากฝากถึงคนที่ต้องการจะมีบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดก็คือ การชำระหนี้บัตรไม่ควรผ่อนชำระขั้นต่ำเป็นอันขาด ทั้งนี้เพื่อเป็นการฝึกวินัยการใช้เงินของเราไม่ให้เกินตัว และป้องกันไม่ให้เกิดหนี้สะสมจนเป็นดินพอกหางหมูอีกด้วยค่ะ
บัตรกดเงินสดแคชจอย อีซี่ (Kashjoy easy card)
หากใครอยากมีบัตรกดเงินสดดอกเบี้ยดี วงเงินสูง ผ่อนได้นาน รวมถึงดอกเบี้ยลดต้นลดดอก ซึ่งแตกต่างจากบัตรกดเงินสดทั่วไป ลองตามไปสมัครสินเชื่อ Kashjoy ผ่านออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ ldp.kbjcapital.co.th
สินเชื่อหมุนเวียนส่วนบุคคล บัตรกดเงินสดแคชจอยและสินเชื่ออเนกประสงค์แคชจอย อีซี่ (Kashjoy easy card) จาก เคบี เจ แคปปิตอล ใช้ได้ทั้งเบิกถอนเงินสด และผ่อนชำระค่าสินค้าหรือค่าบริการ
สิทธิประโยชน์บัตรกดเงินสดแคชจอยอีซี่
- ผ่อนสินค้าด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษที่ร้านเจมาร์ท ทั่วประเทศ
- ฟรีค่าธรรมเนียมแรกเข้า และรายปีตลอดชีพ
- ฟรีค่าธรรมเนียมบริการโทรสั่งเงินโอนเงินเข้าบัญชี
- ผ่อนคืนสบายชำระขั้นต่ำเพียง 2.5% หรือไม่ต่ำกว่า 200 บาท
- ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ หรือ บุคคลค้ำประกัน
- วงเงินอนุมัติสูงสุดไม่เกิน 5 เท่าของรายได้ หรือสูงสุดไม่เกิน 1 ล้านบาท*
- อัตราดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใดๆ สูงสุดไม่เกิน 25% ต่อปี (แบบลดต้นลดดอก)
คุณสมบัติผู้สมัครบัตรกดเงินสด
– สำหรับพนักงานประจำ/รายวัน
- อายุ 20-60 ปี บริบูรณ์ ณ วันที่สมัคร
- รายได้สุทธิ 7,000 บาทขึ้นไป
- มีเบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน ที่สามารถติดต่อได้
- อายุงานตั้งแต่ 4 เดือน ขึ้นไป
- สัญชาติไทย
- รับเงินเดือนโดยโอนผ่านธนาคาร
– สำหรับเจ้าของกิจการ/อาชีพอิสระ
- สัญชาติไทย
- อายุ 20-65 ปีบริบูรณ์ ณ วันที่สมัคร
- รายได้หมุนเวียน ตั้งแต่ 30,000 บาท ขึ้นไป
- ดำเนินกิจการมาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน
เอกสารประกอบการสมัคร
– สำหรับพนักงานประจำ/รายวัน
- บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง (พร้อมสำเนา)
- เอกสารแสดงรายได้
– สำเนาสลิปเงินเดือน หรือสำเนาหนังสือรับรองเงินเดือน (ที่แสดงเงินเดือนล่าสุด หรือออกไม่เกิน 2 เดือน) และสำเนารายการเดินบัญชีธนาคารที่แสดงเงินเดือน ย้อนหลัง 3 เดือนล่าสุดติดต่อกัน
– ในกรณีที่ไม่มีสลิปเงินเดือน ใช้สำเนารายการเดินบัญชีธนาคารที่แสดงเงินเดือน ย้อนหลัง 6 เดือนล่าสุดติดต่อกัน - สำเนาสมุดบัญชีหน้าแรกของธนาคารที่ต้องการให้โอนเงินสินเชื่อ (ยกเว้น ธ.ออมสิน, ธ.ก.ส., ธอส., ทิสโก้, เกียรตินาคินภัทร)
– สำหรับเจ้าของกิจการ/อาชีพอิสระ
- บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง (พร้อมสำเนา)
- เอกสารแสดงรายได้
– สำหรับเจ้าของกิจการ ใช้สำเนาบัญชีธนาคารออมทรัพย์ที่มีเงินหมุนเวียนในบัญชี ย้อนหลัง 6 เดือนล่าสุดติดต่อกัน
– สำหรับอาชีพอิสระ ใช้สำเนาบัญชีธนาคารออมทรัพย์ที่มีเงินหมุนเวียนในบัญชี ย้อนหลัง 12 เดือนล่าสุดติดต่อกัน - หนังสือจดทะเบียนบริษัท หรือทะเบียนพาณิชย์ (ถ้ามี)
- สำเนาสมุดบัญชีหน้าแรกของธนาคารที่ต้องการให้โอนเงินสินเชื่อ (ยกเว้น ธ.ออมสิน, ธ.ก.ส., ธอส., ทิสโก้, เกียรตินาคินภัทร)
เห็นไหมคะว่าความแตกต่างของบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดนั้นเข้าใจได้ไม่ยากเลย ก่อนหน้านี้อาจมีความเข้าใจผิด ๆ ว่าการมีบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดหลายใบในมือเป็นการสร้างหนี้ ทำให้การเงินพัง หมุนเงินไม่ทัน แต่จริง ๆ แล้วมันเป็นเรื่องของวินัยในการใช้เงินมากกว่าค่ะ
เพียงเลือกใช้ให้ถูก ไม่นำบัตรเครดิตไปกดเงินสดโดยไม่จำเป็น ไตร่ตรองก่อนรูดบัตรว่าเราต้องการสิ่งนี้จริงหรือไม่ ถ้ารู้จักใช้ให้พอดีตัว รับรองว่ายังไงก็ไม่มีปัญหาการเงินมาให้ปวดหัวแน่นอน