สอนลูกโตไปไม่โกหก 5 วิธีง่าย ๆ ที่ได้ผลแน่นอน
เผยวิธี สอนลูกโตไปไม่โกหก หากพ่อแม่คนไหนกำลังหนักใจกับเรื่องนี้ก็ขอให้รีบเข้ามาอ่านด่วน เพราะพฤติกรรมการโกหกของลูกนั้นไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นานจนทำให้ลูกน้อยของเรากลายเป็นจอมโกหกไปจนโต
เพราะเพียงแค่จุดเริ่มต้นเล็ก ๆ อย่างการโกหกนั้น สามารถนำทางชีวิตให้ลูกของเราเติบโตไปเป็นคนที่ไม่ซื่อสัตย์ได้ ร้ายที่สุดคือมีนิสัยคดโกง ไม่ซื่อตรง ดังนั้นวันนี้เราจะมาแนะนำ 5 วิธีสอนลูกโตไปไม่โกหก ที่ไม่จำเป็นต้องลงไม้ลงมือกันก็ทำให้ลูกมีนิสัยที่ซื่อสัตย์ได้
5 วิธีสอนลูกโตไปไม่โกหก ทำอย่างไรเมื่อลูกไม่พูดความจริง
- เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกเห็น
การเป็นต้นแบบที่ดี นับว่าเป็นการสอนลูกที่เห็นผลมากที่สุด เพราะผู้ปกครองคือคนที่ใกล้ชิดกับเด็ก ดังนั้นเด็กก็จะทำตามบุคคลที่เขาคลุกคลีด้วย เพราะเขาคิดว่าเป็นเรื่องปกติที่จะทำได้ ดังนั้นถ้าหากผู้ปกครองเป็นต้นแบบแห่งการโกหก ก็คงหนีไม้พ้นที่ลูกหลานจะมีนิสัยโกหกตามมา
- ไม่กดดันและคาดหวังกับลูกมากเกินไป
การไม่กดดันและคาดหวังในตัวลูกอย่างพอดีพอควร จะทำให้เขาไม่กดดันตัวเองจนต้องทำผิดพลาด และเมื่อเขาพลาดเขาก็จะกลัวการถูกลงโทษ นั่นจึงเป็นที่มาของการเริ่มต้นโกหกของลูกเพื่อปกปิดความผิดพลาดของตัวเองไว้
- สอนให้ลูกเห็นใจความรู้สึกผู้อื่น
การโกหกไม่ได้มีผลกระทบแค่ต่อตนเองเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบต่อบุคคลที่ถูกโกหกอีกด้วย ดังนั้นการสอนให้ลูกเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น จะทำให้ลูกมองเห็นว่าเมื่อโกหกแล้วอีกฝ่ายจะรู้สึกไปในทางลบได้อย่างไรบ้าง และหากเกิดกับตัวของเขาเองเขาก็คงจะรู้สึกแย่เช่นเดียวกัน
- ช่วยให้ลูกยอมรับข้อผิดพลาด
บางครั้งลูกน้อยก็ไม่สามารถยอมรับในความผิดพลาดของตัวเองได้ จนต้องโกหกว่าไม่ได้กระทำข้อผิดพลาดเหล่านั้นขึ้นมา ซึ่งหน้าที่ของพ่อแม่คือการสอนให้ลูกยอมรับต่อความผิด หรือความพลาดพลั้งของตัวเองอย่างซื่อสัตย์ โดยทำให้เขารับรู้ว่าคนเรานั้นสามารถทำผิดพลาดได้บ้าง แต่สิ่งที่ไม่ควรทำพลาดคือการปกปิดความจริง
- สืบหาที่มาและสาเหตุของการโกหก
เมื่อลูกไม่พูดความจริง ผู้ปกครองต้องทำหน้าที่ค้นหาถึงต้นตอของการโกหกนั้น ๆ เพื่อที่จะได้ช่วยกันแก้ไขปัญหาอันเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกต้องโกหก แต่ไม่ควรที่จะคาดคั้นลูกด้วยคำพูดรุนแรง แต่ควรเปิดใจพูดกับเขาอย่างใจจริงว่าทำไมเขาถึงต้องโกหก เช่นนั้นแล้วลูกก็จะยอมเปิดใจพูดคุยกับเรา ทำให้ทราบถึงสาเหตุของการโกหกในครั้งนั้น และเมื่อผู้ปกครองทราบถึงที่มาของการโกหกแล้ว ก็จะได้หาวิธีในการช่วยลูกแก้ไขปัญหาของตัวเอง หรือหาทางออกอื่น ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องโใช้วิธีการโกหก
เพียงเท่านี้ก็ช่วยละลายพฤติกรรมการโกหกของลูกน้อยได้แล้ว แต่ถ้าหากทั้ง 5 วิธียังใช้ไม่ได้ผล ลูกของเรายังคงมีพฤติกรรมการโกหกซ้ำไปซ้ำมาอยู่อีก ก็ขอเชิญผู้ปกครองทุกท่านพาลูกรักไปพบจิตแพทย์จะดีกว่า เพื่อพัฒนาการที่ดีของเด็ก จะได้ไม่โกหกจนเป็นนิสัยติดไปจนโต
เรื่อง : โมทนา ม่วงเตี้ย
บรรณาธิการ : ทศพล ถิรเจริญสกุล
- สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ ออมสินใจดี ออกสินเชื่อให้ผู้ประกอบการ
- เปลี่ยนชื่อ กรุงเทพ และอีกหลายเมือง อัปเดต 2565 จากราชบัณฑิตยสภาฯ
- โมริ ฮินามิ เปิดวาร์ปไอดอลสาวดวงใหม่ที่เตรียมปล่อยโฟโต้บุ๊คเล่มแรก
? ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน The Thaiger